รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 4 พฤศจิกายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Friday November 4, 2011 17:19 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 4 พฤศจิกายน 2554

Summary:

1. ธปท. เผยแบงก์ปิดชั่วคราว 482 สาขา เอทีเอ็ม 4,506 เครื่องจากเหตุอุทกภัย

2. บีโอไอเร่งเสนอมาตรการช่วยผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย

3. เอชเอสบีซีปรับลดคาดการณ์จีดีพีฮ่องกงปี นี้และปี หน้า

Highlight:
1. ธปท. เผยแบงก์ปิดชั่วคราว 482 สาขา เอทีเอ็ม 4,506 เครื่อง จากเหตุอุทกภัย
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ธนาคารพาณิชย์ 13 แห่ง ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย 2 แห่ง และบริษัทเงินทุน 1 แห่ง แจ้งปิดสาขาบริเวณน้าท่วมขัง รวม 482 สาขา เพิ่มขึ้นอีก 46 สาขา ส่วนใหญ่เป็นการปิดเพิ่มใน กทม. โดยเฉพาะแถบรามอินทรา และบางแค ส่วนการปิดเครื่อง ATM นั้น ธนาคารพาณิชย์ปิดให้บริการเครื่อง ATM รวม 4,506 เครื่อง เพิ่มขึ้น 118 เครื่อง โดยส่วนใหญ่เป็นการปิดเครื่อง ATM ในเขตกรุงเทพฯ
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ปัญหาอุทกภัยในครั้งนี้ ส่งผลให้ประชาชนจานวนมากเร่งเบิกถอนเงินสดเพื่อใช้จับจ่ายในกรณีที่เครื่องเบิกถอนเงินสดหรือธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถทาการได้ โดยการถอนเงินเป็นจานวนมากนี้ อาจกระทบต่อยอดเงินฝากในช่วงเดือนต.ค.-พ.ย. 54 นี้ได้ อย่างไรก็ตาม จานวนเงินฝากที่ถูกถอนเป็นจานวนมากในระยะนี้ ยังไม่น่ากระทบถึงเงินฝากของสถาบันการเงินรวมนัก อีกทั้งสาขาของธนาคารที่ปิดจานวน 482 สาขา ยังเป็นสัดส่วนไม่มากนักเมื่อเทียบกับจานวนสาขาธนาคารพาณิชย์ทั้งสิ้น 5,823 สาขา โดยคิดเป็นเพียงร้อยละ 8.3 ของจานวนสาขาธนาคารพาณิชย์รวมเท่านั้น
2. บีโอไอเร่งเสนอมาตรการช่วยผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย
  • นางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย บีโอไอได้ออกมาตรการฉุกเฉินเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่มีเครื่องจักรวัตถุดิบที่ได้รับความเสียหาย ได้แก่ การยกเว้นอากรขาเข้าเพื่อใช้ผลิตสินค้าส่งออก หากวัตถุดิบเสียหายบีโอไอจะช่วยตัดบัญชีวัตถุดิบเป็นส่วนสูญเสียเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการไม่มีภาระภาษี ส่วนวัตถุดิบที่ยังใช้งานได้บีโอไออนุญาตให้นาไปใช้ในโครงการอื่นที่ยังสามารถดาเนินการผลิตได้ โดยที่ยังมีสิทธิและประโยชน์ยกเว้นอากรน้าเข้าเหมือนเดิม
  • สศค. วิเคราะห์ว่า สถานการณ์น้าท่วมรุนแรงที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค. 54 ที่ผ่านมาได้สร้างความเสียหายอย่างมหาศาล ซึ่งทุกภาคส่วนจึงมีความจาเป็นต้องเร่งดาเนินมาตรการเพื่อบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยจากการประเมินพบว่าอุทกภัยครั้งนี้ได้สร้างความเสียหายแก่ราษฎรกว่า 700,000 ครัวเรือน ขณะที่พื้นที่เกษตรเสียหาย 11 ล้านไร่ และภาคการผลิต ในส่วนของนิคมอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบ 7 แห่ง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะส่งให้ 1) ภาคการบริโภคลดลงจากรายได้เกษตรกรที่ลดลงและจากการขาดรายได้ของแรงงานในภาคอุตสาหกรรม 2) การชะลอลงของการลงทุนจากผลกระทบน้าท่วม 3) การส่งออกลดลงจากการชะงักตัวของการผลิตผลิตสินค้า ส่งผลให้ สศค. ประเมินว่าปัญหาอุทกภัยดังกล่าวจะสร้างความเสียหายกว่า 190,000 ล้านบาท และเศรษฐกิจในปี 54 จะขยายตัวลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 4.5 (คาดการณ์ ณ เดือน มิ.ย. 54 ) มาอยู่ที่ร้อยละ 2.7 (รวมผลกระทบต่อพื้นที่ กทม. ภายใต้สมมุติฐานน้าท่วมร้อยละ 50 ของพื้นที่ กทม. ระยะเวลา 15 วัน คาดการณ์ ณ วันที่ 1 พ.ย. 54)
3. เอชเอสบีซีปรับลดคาดการณ์จีดีพีฮ่องกงปีนี้และปีหน้า
  • หัวหน้าร่วมฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจเอเชียของธนาคารเอชเอสบีซีเผยว่า เอชเอสบีซีทบทวนอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพี ของเขตปกครองพิเศษฮ่องกงสาหรับปี 54 นี้ โดยปรับลดจากการคาดการณ์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 6.5 มาอยู่ที่ร้อยละ 5.4 และสาหรับปี 55 จากร้อยละ 5.4 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.5 เนื่องจากการส่งออกของฮ่องกงชะลอตัวอย่างมาก และจะฉุดรั้งภาคโลจิสติกส์ ซึ่งมีความสาคัญต่อเศรษฐกิจฮ่องกง ขณะที่ตลาดการเงินจะยังคงผันผวนต่อไป ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจฮ่องกงในระดับหนึ่ง
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การปรับลดประมาณการเศรษฐกิจฮ่องกง เป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก เนื่องจากฮ่องกงเป้นเศรษฐกิจแบบเปิดพิเศษ (Ultra-open economy) โดยมีสัดส่วนการค้าระหว่างประเทศรวมต่อจีดีพีสูงกว่าร้อยละ 400 จึงทาให้เศรษฐกิจฮ่องกงอ่อนไหวต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลก โดยประเทศคู้ค้าหลักของฮ่องกง ได้แก่ จีน (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 52.7 ของมูลค่าส่งออกรวมในปี 53) สหภาพยุโรป (ร้อยละ 11.2) และสหรัฐฯ (ร้อยละ 11.0) ดังนั้น แนวโน้มเศรษฐกิจจีนที่ชะลอลง ปัญหาหนี้สาธารณในยุโรปที่อาจส่งผลให้ยุโรปเกิดวิกฤติเศรษฐกิจระลอกสอง ประกอบกับการฟื้นตัวที่เปราะบางของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ย่อมส่งผลกระทบต่อภาคการค้าและเศรษฐกิจโดยรวมของฮ่องกงเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ สศค. คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจฮ่องกงในปี 54 และ 55 จะขยายตัวที่ร้อยละ 5.5 และ 4.7 ตามลาดับ (ประมาณการ ณ ก.ย. 54) สศค. วิเคราะห์ว่า

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ