Executive Summary
Indicators this week
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ต.ค. 54 อยู่ที่ร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน ก.ย. 54 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจานวน 193.4 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ก.ย. 54 หดตัวร้อยละ -0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- การส่งออกสินค้าในเดือน ก.ย.54 ขยายตัวร้อยละ 19.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่การนาเข้าสินค้ารวมขยายตัวร้อยละ 41.9
- ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ก.ย. 54 เกินดุลเล็กน้อยที่ 404 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- GDP สหรัฐฯไตรมาสที่ 3 ปี 54 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหรือขยายตัวร้อยละ 0.6 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq_sa)
- GDP เกาหลีใต้ ไตรมาสที่ 3 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.7 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq_sa)
- GDP ไต้หวันไตรมาส 3 ปี 54 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
Indicators next week
Indicators Forecast Previous Oct: CCI (Index) 69.0 72.2
- โดยสาเหตุหลักมาจาก 1) ผลกระทบจากเหตุการณ์น้าท่วมในหลายพื้นที่เศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้ลดลง 2) ความกังวลต่อค่าครองชีพหลังจากราคาสินค้ายังทรงตัวในระดับสูงจากเหตุการณ์น้าท่วม และ 3) แนวโน้มการชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจโลกจากปัญหาหนี้สาธารณะในสหภาพยุโรป
Economic Indicators: This Week
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ต.ค.54 อยู่ที่ร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย.54 ทั้งนี้เมื่อเทียบ
เดือนก่อนหน้าเร่งตัวร้อยละ 0.19 โดยมีปัจจัยหลักมาจากปัญหาอุทกภัยซึ่งส่งผลให้แหล่งผลิตเสียหาย ทำให้ราคาสินค้าบางประเภทปรับตัวสูงขึ้น เช่น ข้าว ผักสด ไข่ เนื้อไก่ เป็นต้น ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 2.9 เท่ากับเดือนก่อนหน้า
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ต.ค. 54 ขยายต้วร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.8 เนื่องจากเหตุอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทำให้แหล่งผลิตส่วนใหญ่ผลิตได้ในปริมาณลดลง ประกอบกับการขนส่งสินค้าไม่สามารถขนส่งได้ตามปกติ ส่งผลให้ปริมาณวัสดุก่อสร้างที่จำเป็นเพื่อป้องกันน้ำท่วมมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทั้งนี้ ดัชนีหมวดสินค้าที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ ดัชนีในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ขยายตัวร้อยละ 13.9 มาจากเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต เหล็กแผ่นเรียบดา เหล็กรูปพรรณ ดัชนีในหมวดคอนกรีตขยายตัวรอ้ ยละ 7.5 จากคอนกรีตบล็อกคอนกรีตอัดแรง และดัชนีในหมวดซีเมนต์ขยายตัวรอ้ ยละ 7.1 จากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม เป็นต้น
- ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน ก.ย. 54 สามารถเบกิ จ่ายได้ทงั้ สิ้นจานวน 193.4 พนั ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.4 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือน ก.ย. 54 มีการเบิกจ่ายงบประมาณประจาปีงบประมาณจานวน 184.6 พันล้านบาท ขยายตัวรัอยละ 1.2 แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจาจำนวน 152.1 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -5.6 (2) รายจ่ายลงทุนจำนวน 32.6 พันล้านบาท ขยายตัวรอ้ ยละ 52.9 ทั้งนี้ การเบิกจ่ายที่สำคัญ ได้แก่ งบชาระหนี้ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะจำนวน 25.9 พันล้านบาทรายจ่ายของกระทรวงกลาโหมจำนวน 7.8 พันล้านบาท และเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการจำนวน 4.4 พันล้านบาท ทั้งนี้ การเบิกจ่ายทั้งปีงบประมาณ 54 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจำนวน 2,177.9 พันล้านบาทขยายตัวร้อยละ 22.1 ประกอบด้วยการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีจำนวน 2,050.5 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 26.0 หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 94.5 ของกรอบวงเงิน 2.17 ล้านล้านบาท โดยรายจ่ายประจำเบิกจ่ายได้จำนวน 1,787.0 พันล้านบาท และรายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายได้จำนวน 263.6 พันล้านบาท นอกจากนี้ ผลการเบิกจ่ายแผนปฏิบัตกิจการไทยเข้มแข็ง 2555 ในปีงบประมาณ 54 มีจำนวน 61.4 พันล้านบาท มีการเบิกจ่ายสะสมตั้งแต่เดือนก.ย. 52 — ก.ย. 54 จำนวน 295.8 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายสะสมร้อยละ 84.5 ของกรอบวงเงินที่ได้ดรั้บอนุมัติจำนวน 350.0 พันล้านบาท
- จากการวิเคราะห์ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ก.ย.54 พบว่า ดุลงบประมาณเกินดุลจานวน 82.2
พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจำนวน 115.9 พันล้านบาท ส่งผลใหดุ้ลเงินสด (ก่อนกู้) เกินดุลจานวน 198.1 พันล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลไดมี้การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจำนวน 53.2 พันล้านนบาท ส่งผลใหดุ้ลเงินสดหลังการกู้เงินเกินดุลจานวน 251.2 พันล้านบาท สำหรับฐานะการคลังในปีงบประมาณ 54 ดุลงบประมาณขาดดุลจำนวน -285.8 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจำนวน 177.2พันล้านบาท ทาใหรั้ฐบาลเกินดุลเงินสด (หลังกู) จานวน 92.0 พันล้านบาท ส่งผลให้ปริมาณเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ก.ย. 54 มีจำนวน 521.3 พันล้านบาท
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ก.ย. 54 หดตวั ร้อยละ -0.5 เมื่อเทียบกบั ช่วงเดยี วกนั ของปีก่อน จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 6.8 ส่งผลให้ไตรมาส 3 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปัจจัยหลักที่ทำให้ดัชนี กลับมาหดตัวอีกครั้งมาจากการชะลอตัวของการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะ Hard disk drive หลอดอิเล็กทรอนิกส์ และผ้าผืนที่ปรับลดการผลิตลง และผลจากต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนค่าขนส่ง (logistic cost) ที่เพิ่มขึ้นจากปัญหาอุทกภัยทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในช่วง 9 เดือนแรกปี 54 พบว่าดัชนี MPI หดตัวที่ร้อยละ -1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- การส่งออกสินค้าในเดือน ก.ย. 54 อยู่ที่ 21,511 ล้านดอลลาร์สหรฐัหรือขยายตัวร้อยละ 19.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อนหน้าชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 31.1 เป็นผลจากการชะลอลงในทุกหมวดสินค้าหลัก โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมที่ขยายตัวรอ้ ยละ 10.4 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 21.3 เนื่องจากการชะลอลงในหมวดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสำคัญสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร สินค้าเกษตรและ สินค้าแร่และเชื้อเพลิงก็ขยายตัวชะลอลงเช่นเดียวกันที่รัอยละ 45.5 53.6 46.4 ตามลำดับ ทั้งนี้ ราคาสินค้าส่งออกขยายตัวรัอยละ 5.3 และปริมาณขยายตัวร้อยละ 13.1 ส่งผลให้การส่งออกไตรมาสที่ 3 ของปี 54 ขยายตัวร้อยละ 29.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
- การนำเข้าสินค้ารวมในเดือน ก.ย.54 อยู่ที่ 21,272 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือขยายตัวร้อยละ 41.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 44.0 แต่ยังคงขยายตัวในระดับสูง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวเร่งขึ้นของสินค้าวัตถุดิบที่ร้อยละ69.2 จากการนำเข้าทองคำสูงเพื่อการเก็งกำไร ในขณะที่สินค้าทุนและสินค้าเชื้อเพลิงขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 8.4 และ 53.1 ตามลำดับ โดยราคานำเข้าสินค้าขยายตัวร้อยละ 11.1 และปริมาณขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 27.7 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 3 ของปี 54 การนำเข้าสินค้า ขยายตัวร้อยละ 32.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ จากการที่มูลค่าการส่งออกสินค้าสูงกว่ามูลค่าการนำเข้า สินค้าทำให้ดุลการค้าเดือน ก.ย. 54 เกินดุล 0.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- สินเชื่อเดือนก.ย. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 17 ที่ร้อยละ 17.3 เมื่อเทียบกบั ช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยเป็ นการขยายตัวของทั้งสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อภาคครัวเรือน ซึ่งหากพิจารณาตามผู้ให้สิ้นเชื่อพบว่า สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าขณะที่สินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวไดดี้ต่อเนื่อง สะท้อนความต้องการสินเชื่อที่ยังคงมีอยู่สูงตามการขยายตัวของการลงทุน และการบริโภคภาคเอกชน
- เงินฝากสถาบันการเงินเดือน ก.ย.54 ขยายตัวร้อยละ 9.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.1 หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้วโดยหากพิจารณาตามผู้ใหญ่เงินฝากพบว่าเงินฝากของธนาคารพาณิชย์หดตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -0.6(หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาล) จากการลดลงของเงินฝากของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ ขณะที่เงินฝากสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 2.0 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาล) สะท้อนการระดมเงินฝากอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับโครงการของภาครัฐในระยะต่อไป
- ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ก.ย. 54 เกินดุลเล็กน้อยที่ 404 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ขาดุล -697 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยดุลการค้าเกินดุลสูงถึง 2,419 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามการส่งออกที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ในขณะที่ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนขาดดุลถึง-2,015 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามค่าบริการจ่าย โดยเฉพาะค่าระวางสินค้า และค่าโดยสารเดินทางที่เพิ่มสูงขึ้นตามการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้ในไตรมาส 3 ปี 54 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 3,146 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
Economic Indicators: Next Week
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนต.ค. 54 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 69.0 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ72.2 ซึ่งเป็นการปรับลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 โดยสาเหตุหลักมาจาก 1) ผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่เศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้ลดลง 2) ความกังวลต่อค่าครองชีพหลังจากราคาสินค้า ยังทรงตัวในระดับสูง จากเหตุการณ์น้ำท่วมและ 3) แนวโน้มการชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจโลกจากปัญหาหนี้สาธารณะในสหภาพยุโรป
Global Economic Indicators: This Week
Eurozone: worsening economic trend
- อัตราว่างงาน เดือน ก.ย. 54 อยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 15 เดือนที่ร้อยละ 10.2 ของกำลังแรงงานรวม แสดงให้เห็นถึงภาคการจ้างงานที่ยังคงซบเซาอัตราเงินเฟ้อทั่วไป(เบื้องต้น) เดือน ต.ค.54 อยู่ที่ระดับเดียวกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อนธนาคารกลางยุโรปปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 มาเป็นร้อยละ 1.25 จากความกังวลในสภาพเศรษฐกิจที่อาจถดถอย ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อลดลง
USA: Improving economic trend
- GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 54 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหรือเมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้วขยายตัวร้อยละ 0.6 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq_sa) ผลจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนยอดขายบ้านใหม่ เดือนก.ย.54 อยู่ที่ 313,000 หลังขยายตัวร้อยละ 5.7 จากเดือนก่อนหน้า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนต.ค.54 อยู่ที่ระดับ 39.8 ลดลงมากจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 46.4 ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (ISM Mfg PMI) เดือน ต.ค.54 อยู่ที่ระดับ 50.8 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 51.6 บ่งชี้ถึงการขยายตัวอย่างชะลอลงของภาคการผลิตสหรัฐในขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการเดือนต.ค.54 อยู่ที่ระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าที่ 52.9 บ่งชี้ถึงภาคบริการสหรัฐ ที่ยังคงขยายตัวไดดี้
China: worsening economic trend
- ดัชนีผู้จ้ดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมจนี (NBS PMI) เดือน ต.ค.54 อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี ที่ 50.4 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 51.2
Japan: Mixed signal
- ยอดค้าปลีกเดือน ก.ย.54 หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อนดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค.54 อยู่ที่ระดบั 50.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 49.3 บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของภาคการผลิต ธนาคารกลางญี่ปุ่นเข้าแทรกแทรงค่าเงินเยนเป็ นครั้งแรกในรอบ 2 เดอื น เพอื่ มิใหค้ เงินเยนแข็งค่ามากเกินไป
South Korea: Mixed signal
- GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 54 ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหรือขยายตัวร้อยละ 0.7 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ส่วนหนึ่งจากภาคการส่งออกที่ขยายตัวได้ต่อเนื่องแม่ในอัตราที่ชะลอลง ผนวกกับการบริโภคภาคเอกชนที่ยังคงขยายตัวได้ดี ขณะที่การลงทุนหดตัวลง ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้ในไตรมาส 4 ปี 54 จะชะลอลง ส่วนหนึ่งจากความเปราะบางของคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะสหภาพยุโรปและสหรัฐ มูลค่าการส่งออก เดือน ต.ค.54 ขยายตัว ชะลอลงต่ำสุดในรอบ 2 ปี ที่ร้อยละ 9.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนสอดคล้องกับการชะลอลงของเศรษฐกิจโลก ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 16.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน นอกจากนี้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 10 เดือนมาอยู่ที่ร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน จากราคาอาหารที่ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าลดแรงกดดันต่อธนาคารกลางในการดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัวในอนาคต
Taiwan: Mixed signal
- GDP (เบื้องต้น) ไตรมาส 3 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.0 ส่วนหนึ่งจากการส่งออกที่ขยายตัวชะลอลง สอดคล้องกับการชะลอลงของเศรษฐกิจโลก
Singapore: worsening economic trend
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เดือน ต.ค.54 อยู่ที่ระดับต่ำกว่าระดับ 50.0 ต่อเนื่อนเป็นเดือนที่ 3 ที่ระดบั 49.5 สอดคล้องกับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.ย. 54 ที่หดตัวร้อยละ -0.7 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ส่วนหนึ่งจากดัชนีคาสั่งซื้อสินค้าส่งออกที่ยังคงบ่งชี้การหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 สะท้อนภาคการผลิตเพื่อการส่งออกที่ชะลอลงชัดเจน ตามความเปราะบางของเศรษฐกิจโลก
Hong Kong: Mixed signal
- ยอดค้าปลีกเดือนก.ย.54 ขยายตัวชะลอลงจากเดืนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 24.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า จากยอดค้าสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ขยายตัวชะลอลง
Weekly Financial Indicators
- ดัชนี SET ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ก่อนหน้าด้วยมูลค่าซื้อขายเบาบางหลังจากที่ดัชนีปรับตัวลงมากในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนหน้าจากความกังวลเรื่องการเพิ่มวงเงินช่วยเหลือวิกฤตหนี้สาธารณะยุโรป โดยดัชนี ปรับตัวสูงขึ้นมากในช่วงต้น สัปดาห์ก่อนจะปรับลดลงในช่วงกลางสัปดาห์จากการเทขายเพื่อทำกำไร อย่างไรก็ตาม ปัญหาอุทกภัยภายในประเทศทำให้มูลค่าการซื้อขายในสัปดาห์นี้ค่อนข้างเบาบาง โดยเฉพาะจากนักลงทุนสถาบันภายในประเทศ ทั้งนี้ ระหว่าง 31 ต.ค. — 4พ.ย. 54 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -206 ล้านบาทในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับตัวลดลงเล็กน้อยในพันธบัตรระยะสั้น โดยมีมูลค่าการซื้อขายเบาบาง จากที่นักลงทุนรอประกาศตัวเลขเงินเฟ้อโดยเงินเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ต.ค. 54 อยู่ที่ร้อยละ 4.2 และ 2.9 ตามลาดับ ประกอบกับเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นที่ส่งผลกระทบต่อ GDP ของประเทศ ทั้งนี้ระหว่าง 31 ต.ค. — 4 พ.ย. 54 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ
2,393 ล้านบาท
- ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อนหน้า โดยปิดที่ระดับ 30.78 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 3 พ.ย. 54 อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กนอ้ ยเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ร้อยละ -0.49 ซึ่งเป็นการอ่อนค่าที่น้อยกว่าค่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ โดยเฉพาะค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลงถึงร้อยละ -2.75 จากการประกาศเข้าแทรกแซงค่าเงินเยนของธนาคารกลางญี่ปุ่น ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.37 สะท้อนว่าค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงในอัตราที่น้อยกว่าค่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค
- ราคาทองคาปรับสูงขึ้นต่อเนื่องทั้งสัปดาห์โดยราคาทองคา ณ วันที่ 3 พ.ย.54 ปิดที่ 1,763 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ สูงขึ้นจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,713 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th