รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 7 พฤศจิกายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 7, 2011 16:28 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 7 พฤศจิกายน 2554

Summary:

1. กรุงเทพฯ เจอมหาอุทกภัย ท่องเที่ยวไทยสูญ 2.5 หมื่นล้านบาท

2. ไข่ไก่ขายดีสุด ที่ตลาดสด อตก.

3. สื่อดังญี่ปุ่นแนะอุตสาหกรรมของประเทศ รื้อระบบการผลิตที่กระจุกอยู่ในไทย

Highlight:
1. กรุงเทพฯ เจอมหาอุทกภัย ท่องเที่ยวไทยสูญ 2.5 หมื่นล้านบาท
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่าการท่องเที่ยวไทยในปี 54 ที่มีแนวโน้มแจ่มใสด้วยแรงเกื้อหนุนจากปัจจัยสำคัญหลายประการส่งผลให้ตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทยเติบโตมาอย่างรวดเร็วในช่วง 9 เดือนแรกของปี 54 ที่ผ่านมา โดยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามายังประเทศไทยรวมทั้งสิ้นประมาณ 14.39 ล้านคน เพิ่มขึน้ ร้อยละ 27 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยได้แรงหนุนสำคัญจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาดท่องเที่ยวหลัก คือ นักท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ และอินเดีย รวมถึงรัสเซียจากภูมิภาคยุโรป แต่ผลกระทบจากอุทกภัยคาดว่าตลอดปี 54 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามายังประเทศไทยลดลงประมาณ 3.5-6.0 แสนคน ส่งผลให้ประเทศไทยมีแนวโน้มสูญเสียรายได้ด้านการท่องเที่ยวเข้าประเทศคิดเป็นมูลค่าประมาณ 15,000-25,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดิมที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้าเกิดอุทกภัย (เดิมคาดการณ์ว่าปี 54 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามารวมทั้งสิ้นประมาณ 19.29 ล้านคน และสร้างรายได้ท่องเที่ยวเข้าประเทศ 730,000 ล้านบาท)
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดในหลายพื้นที่ทั้งภาคเหนือและภาคกลางของไทยได้สร้างความเสียหายต่อภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว โดยในเบื้องต้น สศค .ได้ประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจจากเหตุการณ์อุทกภัยครั้งนี้ว่าจะมีผลทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวม

ภายในประเทศ (GDP) ลดลง คิดเป็ นประมาณ 190,000 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 1.8 ซึ่งจะมีผลทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 54 จะขยายตัวลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 4.5 (คาดการณ์ ณ เดือนมิ .ย .54) มาอยู่ที่ร้อยละ 2.72 (รวมผลกระทบต่อพื้นที่กทม. ภายใต้สมมติฐานน้ำท่วมร้อยละ 50 ของพืน้ ที่ กทม. ระยะเวลา 15 วัน คาดการณ์ ณ วันที่ 1 พ.ย. 54)

2. ไข่ไก่ขายดีสุด ที่ตลาดสด อตก.
  • ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการซือ้ ขายที่ตลาดสด อตก. ว่า มีประชาชนมาจับจ่ายซือ้ สินค้าอุปโภค-บริโภคจำนวนมากโดยสินค้าที่ขายดีที่สุดคือไข่ไก่ที่จำหน่ายในราคาควบคุม โดยมีการจำกัดจำนวนการซือ้ คนละ 2 ถาด ไข่ไก่เบอร์ 2 ราคาถาดละ 90 บาททางด้าน นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ขณะนีมี้ไข่ไก่หายไปจากระบบประมาณ 3-4 ล้านฟองต่อวัน ซึ่งนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้แก้ไขปัญหาโดยการจัดระบบให้การขนส่งกระจายไปยังผู้ค้าให้มากขึน้ ส่วนปัญหาการนำเข้าไข่ไก่ที่ติดขัดเรื่องการออกใบอนุญาตควบคุมโรคจากรมปศุศัตว์ เนื่องจากเกรงว่า จะเกิดโรคระบาด ขณะนี้ได้เจรจาให้นำเข้าได้แล้ว
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ภาวะอุทกภัยในปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อผู้เลี้ยงไก่ไข่ ทำให้ไข่ไก่สูญหายไปจากตลาด ประกอบกับการกักตุนสินค้าของผู้ประสบภัยน้ำท่วม จึงส่งผลให้ราคาไข่ไก่มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึน้ โดยในเดือน ต.ค. 54 ที่ผ่านมา ราคาสินค้าในหมวดไข่และผลิตภัณฑ์นมขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 7.14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน ในขณะที่ราคาสินค้าประเภทอื่นได้มีปรับตัวสูงขึน้ ในเดือน ต.ค. 54 ที่ผ่านมาเช่นเดียวกัน ได้แก่ ราคาผักสด ราคาเนื้อไก่ และราคาอาหารสำเร็จรูป ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้ อทั่วไปในเดือน ต.ค. 54 เร่งขึ้นจากเดือน ก.ย. 54 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.2 ทั้งนี้ ปัญหาสินค้าราคาแพงในปัจจุบัน โดยเฉพาะ ไข่ไก่ เกิดจากปัญหาด้านการขนส่ง และผลผลิตที่ลดลงเป็นสำคัญ ดังนั้น การจัดการการขนส่งให้มีการกระจายสินค้าอย่างทั่วถึง ประกอบกับการนำเข้าสินค้าที่ขาดแคลน จะสามารถบรรเทาปัญหาสินค้าราคาแพง และลดแรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้ อในช่วงที่เหลือของปี ได้ โดย สศค.คาดการณ์อัตราเงินเฟ้ อทั่วไปในปี 54 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.9 (ประมาณการล่าสุด หลังภาวะอุทกภัย)
3. สื่อดังญี่ปุ่นแนะอุตสาหกรรมของประเทศ รื้อระบบการผลิตที่กระจุกอยู่ในไทย
  • หนังสือพิมพ์ญี่ปุ่นออบทบรรณาธิการเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา พูดถึงแนวทางการปรับตัวของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ซึ่งได้รับความเสียหายมากมายจากภัยน้ำท่วมในประเทศทไทย โดยระบุว่าสิ่งแรกที่ต้องทำเป็นเรื่องของการฟื้นฟูการดำเนินงาน และการสร้างระบบการผลิตขึน้ มาใหม่โดยเร็วที่สุด แต่พร้อมกันนัน้ ก็ต้องทบทวนระบบการผลิตในปัจจุบัน ซึ่งมีการกระจุกโรงงานและห่วงโซ่อุปทานด้านชิน้ ส่วนไว้ในประเทศไทยอย่างมากมาย
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ในบรรดาประเทศในภูมิภาคเอเชียนั้น ไทยเป็นประเทศเป้าหมายในการลงทุนอันดับ 1 ของญีปุ่น โดยจากตัวเลขมูลค่าการลงทุนในต่างประเทศสุทธิของญี่ปุ่นปี 49 — 50 พบว่าญี่ปุ่นมีมูลค่าการลงทุนในไทยสูงถึง 3.0 ล้านล้านเยน จากมูลค่าการลงทุนในเอเชียทั้งหมดที่ 22 ล้านล้านเยน ขณะที่ญีปุ่นเป็ นประเทศที่เข้ามาลงทุนทางตรงในประเทศไทยสูงสุดเช่นกัน โดยในช่วง 7 เดือนแรกปี 54 ญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในไทยสูงถึง 9.7 หมื่นล้านบาท สะท้อนให้เห็นว่าภาคเศรษฐกิจจริง (real sector) ของญีปุ่นและไทยมีความเชื่อมโยงกันเป็ นอย่างมาก ดังนั้น การเกิดภัยภิบัติทางธรรมชาติไม่ว่าจะเป็ นสึนามิในญี่ปุ่นหรืออุทกภัยในไทยย่อมส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าในทั้ง 2 ประเทศให้ชะงักงันลง โดยเฉพาะในการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ผู้ประกอบการญีปุ่นเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเป็ นจำนวนมาก

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ