รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 9 พฤศจิกายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 9, 2011 14:04 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 9 พฤศจิกายน 2554

Summary:

1. น้ำท่วม ทำรายได้ท่องเที่ยววูบ

2. ทิสโก้ชี้น้ำท่วมทำเศรษฐกิจเสียหาย 1.0 แสนล้าน

3. ส.ค. 54 อัตราว่างงานของอินโดนีเซียลดลงสู่ระดับ 6.56%

Highlight:
1. น้ำท่วมทำรายได้ท่องเที่ยววูบ
  • รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำท่วมได้ขยายวงกว้างกินพื้นที่กรุงเทพฯ ส่งผลให้ความเสียหายต่อเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นนอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตทั้งในพื้นที่น้ำท่วม รวมถึงธุรกิจต่อเนื่อง โดยเฉพาะการท่องเที่ยวและบริการที่ต้องหยุดชะงักในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวเดือนพ.ย.-ธ.ค. โดยเบื้องต้นประเมินว่ารายได้จากการท่องเที่ยวและบริการจะหายไปประมาณ 20,000 ล้านบาท คิดเป็นจำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะหายไปประมาณ 700,000 - 800,000 คนส่งผลให้ GDP ไตรมาส 4 ปี 54 น่าจะติดลบเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าซึ่งคาดการณ์เดิมที่ -1.9%
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ได้ส่งผลกระทบต่อเส้นทางการคมนาคมที่ถูกตัดขาดทำให้การท่องเที่ยวในจังหวัดที่ประสบอุทกภัยและจังหวัดรอบด้านได้รับผลกระทบ ซึ่งภาคการท่องเที่ยวมีความเชื่อมโยงต่อเศรษฐกิจไทยผ่านหลายช่องทาง โดยกระทบต่อภาคการผลิตทางด้านบริการโรงแรมและภัตตาคาร การบริการคมนาคมขนส่ง และการบริการค้าส่งค้าปลีก มีสัดส่วนร้อยละ 3.8 9.4 และ 13.3 ของ GDP ในปี 53 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปัจจุบัน พบว่าไม่ได้รับผลกระทบมากนักเนื่องจากในช่วงไตรมาส 4 ของปี 54

นักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนใหญ่จะเดินทางมาท่องเที่ยวในภาคใต้ บริเวณริมชายฝั่งประกอบกับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวในภาคกลางซึ่งเกิดปัญหาอุทกภัยได้มีการเปลี่ยนจุดหมายปลายทางเพื่อหลีกเลี่ยงไปท่องเที่ยวในภาคอื่นๆ แทน ทั้งนี้ สศค. คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 54 จะลดลง 100,000 คน (คาดการณ์ ณ ต้นเดือน ต.ค. โดยจะมีการประเมินสถานการณ์ใหม่อีกครั้งเนื่องจากภาวะน้ำท่วมรุนแรงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม)

2. ทิสโก้ชี้น้ำท่วมทำเศรษฐกิจเสียหาย 1.0 แสนล้าน
  • ธนาคารทิสโก้ เปิดเผยว่า TISCO WEALTH ได้ปรับเป้าอัตราการขยายตัวผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP) ปี 54 ลงเหลือขยายตัว 2.9% แต่กรณีเลวร้าย GDP อาจจะขยายตัวเพียง 2.0% ทั้งนี้จากการประเมินตัวเลขเบือ้ งต้นคาดว่าความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมน่าจะอยู่ที่ระดับ 70,000 — 100,000 ล้านบาท โดยเป็นภาคเกษตรและอุตสาหกรรมที่ได้รับผลเสียหายหนัก ในส่วนของภาคบริการได้รับผลกระทบแต่ไม่มากเท่า สำหรับการบริโภคในประเทศมีแนวโน้มหดตัว แต่จากการที่ประชาชนเร่งซือ้ สินค้าเพื่อตุนไว้ใช้อุปโภคบริโภคในอนาคตรวมถึงรัฐบาลมีการกระตุ้นการใช้จ่ายน่าจะทำให้การบริโภคไม่หดตัวรุนแรงมาก
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดในหลายพื้นที่ของไทยได้สร้ งความเสียหายต่อภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และภาคบริการการท่องเที่ยว โดยเฉพาะภาคการผลิตอุตสาหกรรมเนื่องจากน้ำได้เข้าท่วมนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งทำให้การผลิตต้องหยุดการผลิตลง ส่งผลกระทบต่อการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก รวมถึงการจ้างงาน ทั้งนี้ ในเบื้องต้น สศค. ได้ประเมินความเสียหายจากปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ จะอยู่ที่ 190,743 ล้านบาท ช่วงคาดการณ์ 127,162 - 254,324 ล้านบาท โดยจะทำให้เศรษฐกิจไทยหดตัวลงร้อยละ -1.81 ต่อปี ช่วงคาดการณ์ -1.21 ถึง -2.42 ต่อปี หรือจะทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 54 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.71 และในปี 55 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5 จากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐเพื่อชดเชยผู้ประสบภัยน้ำท่วม
3. ส.ค. 54 อัตราว่างงานของอินโดนีเซียลดลงสู่ระดับ 6.56%
  • ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยสถิติของอินโดนีเซีย รายงานว่า อัตราว่างงานในเดือน ส.ค.54 ของอินโดนีเซียอยู่ที่ร้อยละ 6.6 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 6.8 ขณะที่จำนวนผู้มีงานทำในช่วงระหว่างเดือน ก.พ. — ส.ค.54 มีอยู่ทัง้ สิน้ 420,000 ราย โดยผู้ว่างงานที่ได้งานทำใหม่ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตและก่อสร้างทัง้ นี รัฐบาลของอินโดนีเซียได้กำหนดเป้ หมายอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไว้ที่เฉลี่ยร้อยละ6.6 ภายในปี 57
  • สศค. วิเคราะห์ว่า อัตราการว่างงานที่ปรับตัวลดลงสอดคล้องกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของอินโดนีเซียที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด GDP ของอินโดนีเซียในไตรมาสที่ 3 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี ก่อน คงที่จากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 6.5 ซึ่งถือเป็ นการขยายตัวในระดับที่สูงกว่าร้อยละ 6.0 เป็ นไตรมาสที่ 4 ติดต่อกันและเป็นผลมาจากการบริโภคภาคเอกชน (Contribution to GDP Growth) ซึ่งคิดเป็ นสัดส่วนร้อยละ 57 ของ GDP เป็ นสำคัญ โดยการบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสที่ 3 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี ก่อน เร่งขึน้ จากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.6 นอกจากนี้ การส่งออกและนำเข้าในไตรมาสที่ 3 ปี 54 พบว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 18.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี ก่อน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 17.5 ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าขยายตัวร้อยละ 14.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี ก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 15.3 ทั้งนี้ สศค. คาดว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซียในปี 54 และ 55 จะสามารถเติบโตได้ดีที่ร้อยละ 6 3 และ 6 4 ตามลำดับ (คาดการณ์ ณ เดือน ก ย 54)

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ