รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 10 พฤศจิกายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 10, 2011 12:41 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 10 พฤศจิกายน 2554

Summary:

1. นายกฯ มั่นใจมาตรการฟื้นฟูหนุน GDP ปี 55 โต 4.5-5.5%

2. ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นดิ่งลง 7 เดือน ติดต่อกัน

3. ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนต.ค.54 ของจีนขยายตัวร้อยละ 5.5

Highlight:
1. นายกฯ มั่นใจมาตรการฟื้นฟูหนุน GDP ปี 55 โต 4.5-5.5%
  • นายกรัฐมนตรี แถลงร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 ต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร และเชื่อว่าจากมาตรการฟื นฟูประเทศภายหลังน้ำท่วมคลี่คลายลง รวมถึงการดำเนินนโยบายรัฐบาลตามที่ได้แถลงต่อรัฐสภา และปัจจัยสนับสนุนต่างๆ เช่น การเคลื่อนย้ายเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาในภูมิภาคเอเชีย ความชัดเจนในการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์หนีในสหภาพยุโรป และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจทัง้ ภายในและภายนอกอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึน้ โดยคาดว่าจะทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 55 สามารถขยายตัวได้ในระดับ 4.5-5.5% ขณะที่อัตราเงินเฟ้ อจะอยู่ในกรอบ 3.0-4.0%
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 55 คาดว่าจะได้รับแรงขับเคลื่อนได้ดีจากทั้งอุปสงค์ภายในประเทศและอุปสงค์จากต่างประเทศ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นฟูเศรษฐกิจของทั้งภาครัฐและเอกชนจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น และการขยายตลาดการส่งออกไปยังตลาดใหญ่เพิ่มขึ้น ขณะที่แรงสนับสนุนจากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มว่าจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นตามลำดับ จากความชัดเจนของการแก้ไขปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะของกลุ่มประเทศยุโรป รวมทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นภายหลังเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิจึงคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 55 จะขยายตัวได้ดีกว่าในช่วงคาดการณ์เดิม (ณ ก.ย. 54) ที่ร้อยละ 4.0 - 5.0 ขณะที่ในด้านเสถียรภาพภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้ อทั่วไปในปี 55 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.8 — 3.8) ตามอุปสงค์น้ำมันในตลาดโลกที่คาดว่าจะชะลอลง ทั้งนั้ สศค.จะมีการประกาศการปรับตัวเลขการคาดการณ์อย่างเป็นทางการอีกครั้งในเดือน ธ.ค. 54
2. ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นดิ่งลง 7 เดือน ติดต่อกัน
  • กระทรวงการคลังของญี่ปุ่น รายงานว่า ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ก.ย.54 ปรับตัวลดลงเป็ นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน มาอยู่ที่ 20,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากการนำเข้าพลังงานที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อชดเชยกับกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้น้อยลง หลังจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หลายแห่งได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนา มิที่ได้พัดถล่มญี่ปุ่นเมื่อเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็ นผลมาจากภาคการส่งออกที่หดตัวลงภายหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่ญี่ปุ่นเป็ นสำคัญ โดยยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ก.ย.54 หดตัวลงร้อยละ -21.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน และเมื่อพิจารณาภาคการส่งออกในเดือน ก.ย.54 พบว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าขยายตัวร้อยละ 12.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 3.95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ในส่วนของภาคการผลิตก็เริ่มกลับมาขยายตัว สะท้อนจากดัชนีคำสั่งซื้อผู้จัดการฝ่ ยผลิต (Mfg PMI) ในเดือน ต.ค.54 อยู่ที่ระดับ 50.6 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ระดับ 49.3 และคำสั่งซื้อเครื่องจักรเพื่อการผลิตในเดือน ส.ค. 54 ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 1 ปี ที่ร้อยละ 11.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยคำสั่งซื้อเครื่องจักรเพื่อผลิตสินค้าอิเล็กทรอกนิกส์ขยายตัวสูงที่ร้อยละ 29.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ปัญหาวิกฤติอุทกภัยในประเทศไทยซึ่งเป็ นฐานการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่สำคัญของญี่ปุ่นจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคการส่งออกและเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ทั้งนี้ สศค. คาดว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในปี 54 จะหดตัวร้อยละ -0.6 ต่อปี (คาดการณ์ ณ เดือน ก.ย. 54 และจะมีการปรับประมาณการอีกครั้งในเดือน ธ.ค. 54)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนต.ค.54 ของจีนขยายตัวร้อยละ 5.5
  • สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนต.ค.ของจีนขยายตัวในอัตราที่ช้าที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค.ปีนี้โดยชะลอตัวลงจากการขยายตัวที่ระดับ 6.1% ในเดือนก.ย., 6.2% ในเดือนส.ค., 6.5% ในเดือนก.ค. และ6.4% ในเดือนมิ.ย. โดยราคาอาหาร ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 1 ใน 3 ของตะกร้าสินค้าที่ใช้คำนวณดัชนี CPI ปรับตัวเพิ่มขึน้ 11.9% ในเดือนต.ค.เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่ลดลง 0.2% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจจีนมีสัญญาณการเติบโตที่ชะลอลง หลังรัฐบาลจีนดำเนินนโยบายการเงินอย่างเข้มงวด เช่น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและเพิ่มสัดส่วนเงินทุนสำรองตามกฎหมาย (Reserve requirement) ซึ่งได้ส่งผลทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับตัวชะลอลงอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนต.ค.อัตราเงินเฟ้ อที่เกิดจากราคาอาหารขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 11.9 ต่อปี่ ชะลอลงจากเดือนก.ย.ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 13.4 ต่อปี อัตราเงินเฟ้ อที่ไม่ได้เกิดจากราคาอาหารปรับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.7 ต่อปี ในเดือนต.ค. จากร้อยละ 2.9 ต่อปี ในเดือนก.ย. โดยราคาเนื้อสุกรที่เป็ นสาเหตุส่วนใหญ่ของเงินเฟ้ อที่เกิดขึ้นในจีนขยายตัวร้อยละ 38.9 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก.ย.ที่ขยายตัวร้อยละ 45.5 ซึ่งเป็ นการปรับลดลงร้อยละ 7 จากระดับสูงสุดในเดือนก.ย. อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจจีนยังคงมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่ง แม้ยังคงมีความเสี่ยงด้านเงินเฟ้ อที่เกิดจากราคาอาหาร และการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก ตลอดจนปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปที่ยังได้รับการแก้ไข ทั้งนี้ สศค.คาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนในปี 54จะขยายตัวร้อยละ 9.2 ต่อปี (คาดการณ์ ณ เดือนก.ย. 54)

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ