รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 14 พฤศจิกายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 14, 2011 14:42 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 14 พฤศจิกายน 2554

Summary:

1. พณ. เล็งนำเข้าสินค้าเพิ่ม ถ้าปัญหาขาดแคลนยังไม่จบ

2. โรงงานในนิคมฯลาดกระบังนับร้อยปิดหนีน้ำท่วม

3. นักเศรษฐศาสตร์ชี้เศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

Highlight:
1. พณ. เล็งนำเข้าสินค้าเพิ่ม ถ้าปัญหาขาดแคลนยังไม่จบ
  • ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์กำลังเร่งเชื่อมโยงสินค้าจากผู้ประกอบการไปยังผู้บริโภคเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ โดยการนำเข้าสินค้าปัจจุบันมีการนำเข้าไข่ไก่แล้ว 650,000 ฟอง น้ำดื่ม 650,000 ขวด ปลากระป๋อง 500,000 กระป๋อง และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอีก 740,000 ซอง โดยกระจายขายผ่านห้างค้าปลีก และห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ทั่วกรุงเทพฯ และขณะนีก้ ลังทยอยนำเข้าน้ำดื่ม ไข่ไก่ ปลากระป๋ องเพิ่มขึน้ เพราะยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ อีกทัง้ ได้สั่งให้กรมการค้าภายในติดตามสถานการณ์ของนมข้นหวานกระป๋องที่ได้รับร้องเรียนว่ากำลังจะขาดตลาด และราคาแพง ซึ่งหากสถานการณ์เลวร้ายก็พร้อมนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
  • สศค. วิเคราะห์ว่าจากเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ของประเทศไทยในครั้งนี้ ได้ก่อให้เกิดความเสียหายในหลายภาคการผลิต ทั้งภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ ซึ่งต่างได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นดังกล่าว ทำให้การผลิตต้องหยุดชะงักลง และส่งผลให้

ประเทศไทยต้องนำเข้าสินค้าเพื่อบรรเทาความเดือนร้อนจากการขาดแคลนสินค้าดังกล่าว ทั้งนี้มูลค่าการนำเข้าสินค้าในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ 174.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี ก่อน โดยสินค้านำเข้าหลักที่สำคัญ คือ สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สินค้าเชื้อเพลิง และสินค้าทุน ทั้งนี้ สศค. คาดว่าในปี 54 มูลค่าการนำเข้าสินค้าจะอยู่ที่ 227.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 26.6 โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 26.1-27.1 และในปี 55 จะอยู่ที่ 263.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 15.8 โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 14.8-

16.8 (คาดการณ์ ณ ก.ย. 54)

2. โรงงานในนิคมฯลาดกระบังนับร้อยปิ ดหนีน้ำท่วม
  • ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะทำงานป้องกันนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังจากปัญหาน้ำท่วมเปิดเผยว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการในนิคมฯลาดกระบังที่มีทั้งหมด 231 แห่ง ได้หยุดประกอบกิจการชั่วคราวแล้วประมาณ 100 แห่ง เนื่องจากกังวลต่อปัญหาภาวะน้ำที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องล่าสุดวันที่ 11 พ.ย. 54 น้ำข้างนอกนิคมฯยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกวันเฉลี่ย 3-5 เซนติเมตร แม้จะไม่มากแต่ก็ทำให้น้ำซึมผ่านช่องระหว่างคันดินเก่าและใหม่ที่ทำให้ต้องอุดตลอด 24 ชั่วโมง
  • สศค. วิเคราะห์ว่า จากภาวะอุทกภัยในปัจจุบัน ส่งผลให้โรงงานและนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งต้องหยุดการผลิต ทำให้เกิดผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมในประเทศอย่างมาก โดยจากการประมาณการสถานการณ์น้ำท่วมล่าสุด เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 54 ความเสียหายในภาคอุตสาหกรรมเสียหายคิดเป็นมูลค่าประมาณ 108,512 ล้านบาท นอกจากนี้ การหยุดการผลิตของโรงงานหลายแห่งได้ส่งผลกระทบต่อภาวะการจ้างงานของประเทศ โดยคาดว่าจะมีลูกจ้างเดือดร้อน 446,777 คน และจะมีผู้ที่เสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้างจำนวน 1 แสนคนซึ่งจะทำให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.7 เป็นร้อยละ 0.9 ทั้งนี้ เมื่อคิดผลกระทบโดยรวมจากภาวะอุทกภัย พบว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะหดตัวลดลงร้อยละ -1.8 ส่งผลให้ เศรษฐกิจไทยในปี 54 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.71 จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 4.53
3. นักเศรษฐศาสตร์ชี้ศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลงในอีกไม่กี่ปี ข้างหน้า
  • มูลค่าการแม้ว่าจีนมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจีนจะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอลงอีกไม่กี่ปีข้างหน้าตามภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศและภาวะเศรษฐกิจโลก โดยนายหลี่ หยาง รองประธานสถาบันสังคมศาสตร์ของจีนกล่าวว่า ขณะนี จีนมีแนวทางปรับรูปแบบการพัฒนาและการเติบโตของเศรษฐกิจผ่าน 3 ช่องทางได้แก่ 1) ลดการพึ่งพาการส่งออก 2)สนับสนุนการลงทุน และ 3) ผลักดันการบริโภคเป็นสำคัญ นอกจากนี นายหลี่ หยางยังคาดการณ์แนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในอีก 10 ปีข้างหน้าว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 8.0-8.5 ต่อปี
  • สศค. วิเคราะห์ว่า จีนมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง (soft landing) ในอีกไม่กี่ปี ข้างหน้าอย่างเด่นชัดตามตัวเลขทางเศรษฐกิจสำคัญล่าสุดในเดือนกันยายน 54 ที่ส่งสัญญาณออกมาอาทิ ระดับอัตราเงินเฟ้อที่เริ่มลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.1 การลดลงของยอดขายบ้านในจีน และผลผลิตทางอุตสาหกรรมที่ขยายตัวในระดับต่ำ นอกจากนี้ เศรษฐกิจจีนยังได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกกล่าวคือ ภาวะอ่อนแอของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหภาพยุโรปที่อาจเข้าสู่สถานการณ์เศรษฐกิจถดถอย และสหรัฐอเมริกาซึ่งต่างเป็ นคู่ค้าสำคัญของการส่งออกของจีน อันจะทำให้แหล่งขยายตัวสำคัญของเศรษฐกิจจีนหรือการส่งออกมีแนวโน้มลดลงตามไปด้วย อย่างไรก็ดี จีนได้มีแนวทางปรับตัวโดยเน้นการนำเข้าเพื่อมาบริโภคภายในประเทศให้มากขึ้น และควบคุมปริมาณการส่งออกให้อยู่ในระดับปกติ ซึ่งจะทำให้จีนสามารถรักษาเสถียรภาพและการเติบโตของเศรษฐกิจจีนและเศรษฐกิจโลกได้

อย่างยั่งยืน

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ