รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 15 พฤศจิกายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 15, 2011 16:23 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 15 พฤศจิกายน 2554

Summary:

1. บีโอไอเผยน้ำท่วมกระทบยอดขอรับส่งเสริมลงทุนเดือน ต.ค. เหลือ 3.7 หมื่นล้านบาท

2. เตรียมงบ 1.8 หมื่นล้านกู้ "ดอนเมือง-ถนน-สถานศึกษา"

3. ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐสูงสุดในรอบ 5 เดือน

Highlight:
1. บีโอไอเผยน้ำท่วมกระทบยอดขอรับส่งเสริมลงทุนเดือน ต.ค. เหลือ 3.7 หมื่นล้านบาท
  • เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ในเดือน ต.ค. 54 มีผู้ประกอบการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนเข้ามา 115 โรงงาน มูลค่ารวม 37,000 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนที่ยื่นเข้ามา 175 โรงงาน มูลค่าลงทุน 107,000 ล้านบาท เนื่องจากโรงงานที่ถูกน้าท่วมชะลอแผนการลงทุน และต้องฟื้นฟูโรงงานจากน้าท่วม
  • สศค. วิเคราะห์ว่าจากเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ได้ก่อให้เกิดความเสียหายในหลายภาคการผลิต ทั้งภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ ทำให้การผลิตต้องหยุดชะงักลงและส่งผลให้ผู้ประกอบการชะลอแผนการลงทุนทำให้คาขอรับการส่งเสริมการลงทุนลดลงในเดือน ต.ค. 54 อย่างไรก็ตาม คาดว่าเมื่อปัญหาอุทกภัยคลี่คลายลงจะทาให้การลงทุนกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งจากการฟื้นฟูโรงงานหลังน้ำลด ประกอบกับมาตรการเยียวยา และฟื้นฟูสำหรับประชาชน และภาคเอกชนจะมีส่วนช่วยให้การฟื้นฟูบ้านและโรงงานเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำท่วม ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 54 คาขอรับส่งเสริมการลงทุนมี 1,471 โรงงาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.0 จากช่วงเดียวของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการลงทุน 478,700 ล้านบาท ทั้งนี้ สศค. คาดว่าในปี 54 การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริงจะขยายตัวร้อยละ 11.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 10.8-11.8 คาดการณ์ ณ ก.ย. 54)
2. เตรียมงบ 1.8 หมื่นล้าน กู้ "ดอนเมือง-ถนน-สถานศึกษา"
  • คณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย (กฟย.) เห็นชอบแนวทางการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย โดยใช้งบประมาณฟื้นฟูรวม 18,441 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย 3 รายการคือ 1)การฟื้นฟูท่าอากาศยานดอนเมือง ใช้เวลา 60 วันหลังจากน้ำลด 2)การฟื้นฟูบูรณะซ่อมแซมเส้นทางคมนาคมขนส่ง ทั้งเส้นทางสายหลัก และโครงข่ายที่สาคัญที่เชื่อมต่อภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือใช้เวลาฟื้นฟูไม่เกิน 3 เดือน และ 3) การฟื้นฟูสถานศึกษาจานวน 34 จังหวัด โดยจะให้เสร็จทันช่วงก่อนเปิดภาคเรียนใหม่ปลายเดือน พ.ย.
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เหตุการณ์อุทกภัยทำให้เศรษฐกิจไทยในภาคการคมนาคมขนส่งได้รับผลกระทบรุนแรง เนื่องจากเส้นทางถนนสายหลักถูกตัดขาด ยานพาหนะภาคบกไม่สามารถเดินทาง รับส่งสินค้าไปสู่จุดหมายได้ ประกอบกับท่าอากาศยานดอนเมือง ซึ่งเป็นสนามบินสาหรับเส้นทางการบินภายในประเทศได้ถูกน้ำท่วมขังจนไม่สามารถใช้งานได้ ทาให้ภาคการคมนาคมทางอากาศได้รับผลกระทบอีกส่วนหนึ่ง การเร่งทำการฟื้นฟูท่าอากาศยานและเส้นทางถนนอย่างรวดเร็วจะทำให้เศรษฐกิจไทยไม่หยุดชะงักเป็นเวลานาน ทั้งนี้ สศค.คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวในไตรมาสที่ 4/2554 แต่จะขยายตัวเร่งขึ้นได้ในไตรมาสที่ 1/2555 หลังดำเนินมาตรการฟื้นฟูเยียวยา โดยคาดว่าทั้งปี 54 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 2.6 ขณะที่ในปี 55 จะขยายตัวดีขึ้นที่ร้อยละ 5.0
3. ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯสูงสุดในรอบ 5 เดือน
  • รอยเตอร์เปิดเผยตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมของสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 64.2 ในช่วงต้น เดือนพ.ย.54 โดยเพิ่มจากระดับ 60.9 ในเดือนต.ค.54 โดยดัชนีปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ซึ่งถือเป็นสัญญาณบวกต่อเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ดัชนีฯ ยังคงอยู่ในระดับต่าเมื่อเทียบกับค่ามาตรฐานในอดีต โดยดัชนีปรับลดลงมาแล้วกว่า 13 จุด จาก ก.พ.54
  • สศค. วิเคราะห์ว่านับจากต้นปี 54 การขยายตัวของ GDP สหรัฐฯ อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.8 เมี่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (ขณะที่ตลอดปี 53 อยู่ที่ร้อยละ 3.0) ดังนั้น การเพิ่มขึ้นของตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯดังกล่าวในเดือน ต.ค.54 ที่ระดับ 60.9 จากเฉลี่ยนับจากต้นปี 54 ที่อยู่ที่ระดับ 57.7 นับเป็นสัญญาณที่ดีต่อการขยายตัวเศรษฐกิจ (GDP) ของสหรัฐฯเนื่องจากสัดส่วนของการบริโภคมีประมาณร้อยละ 70 ของ GDP สหรัฐฯ และจะเป็นปัจจัยบวกต่อการส่งออกของไทย เนื่องจากสหรัฐเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญลำดับที่ 3 ที่ไทยส่งออกไปกว่าร้อยละ 10.3 ของการส่งออกทั้งหมดของไทย อย่างไรก็ดี นโยบายการขยายเพดานขาดดุลงบประมาณเพื่อชดเชยรายได้จากการลดภาษีเงินได้และการเยียวยาคนตกงานในสหรัฐฯ โดยมีสัดส่วนขาดดุลเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.9 ของ GDP ในปี 53 มาเป็นร้อยละ 9.2 ของ GDP (โดยประมาณ) ในปี 54 อาจเป็นข้อจากัดต่อการดำเนินนโยบายการคลังของสหรัฐฯ ต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในอนาคต

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ