รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 16 พฤศจิกายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 16, 2011 15:00 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 16 พฤศจิกายน 2554

Summary:

1. ทอท.ระบุพิษน้ำท่วม"เที่ยวบิน-ผู้โดยสาร"สุวรรณภูมิวูบ

2. น้ำท่วมฉุดสินเชื่อแบงค์ Q4

3. ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ย. ของยูโรโซน ลดลงร้อยละ -2.0

Highlight:
1. ทอท.ระบุพิษน้ำท่วม"เที่ยวบิน-ผู้โดยสาร"สุวรรณภูมิวูบ
  • บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ช่วง 3-4 วันที่ผ่านมาพบว่าปริมาณผู้ใช้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิลดลงเหลือเพียงวันละประมาณ 1 แสนคน จากเดิมวันละ 1.3 แสนคน ขณะที่ปริมาณเที่ยวบินที่ทำการบินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ลดลงเหลือวันละประมาณ 800 เที่ยว จากเดิมวันละ 900 เที่ยว สาเหตุสำคัญมาจากนักท่องเที่ยวไม่มั่นใจสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึน้
  • สศค. วิเคราะห์ว่า สัดส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยผ่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ คิดเป็ นประมาณร้อยละ 70 จากด่านทั้งหมด วันที่ 1- 9 พ.ย. 54 มี มีจำนวนทั้งสิ้น 224,084 คน หดตัวร้อยละ -25.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจะลดลง แต่พบว่าในด่านภาคใต้ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ส่วนหนึ่งเนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างชาติมีการเปลียนจุดมุ่งหมายในการเดินทางและโดยส่วนใหญ่ในช่วงไตรมาส 4 จะเป็ นกลุ่มยุโรปซึ่งจะบินตรงมาท่องเที่ยวในภาคใต้โซนอันดามัน ภูเก็ต กระบี่ พังงา ทั้งนี้ สศค. คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 54 จะลดลงประมาณ 200,000- 300,000 คน หรือคิดเป็นการสูญเสียประมาณ 7.8 -11.7 พันล้านบาท
2. น้ำท่วมฉุดสินเชื่อแบงค์ Q4
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยอมรับว่า สถานการณ์น้ำท่วมรุนแรงในปีนี อาจส่งผลกระทบต่อความต้องสินเชื่อ และทำให้การปล่อยสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ในช่วงไตรมาส 4 ไม่เร่งตัวเหมือนในไตรมาส 3 ที่สินเชื่อขยายตัวร้อยละ 17.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนภาพรวมของระบบธนาคารพาณิชย์ของไทยปีนียั้งคงมีเสถียรภาพดี แต่ต้องให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงและคุณภาพสินเชื่อ ที่อาจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจต่างประเทศที่มีความเปราะบาง รวมถึงปัญหาน้ำท่วมครั้งรุนแรงในประเทศ เพราะทัง้ 2 ปัจจัยยังมีความไม่แน่นอนสูง
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ในเดือน ก.ย. 54 สินเชื่อขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องเป็ นเดือนที่ 17 ที่ร้อยละ 17.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน ซึ่งเป็ นการขยายตัวทั้งสินเชื่อภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนโดยขยายตัวที่ร้ อยละ 17.1 และ 16.2 เมื่อเทียบกับช่ วงเดียวกันของปี ก่อน ตามลำดับหากพิจารณาตามประเภทผู้ให้สินเชื่อพบว่า สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเร่ งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่สินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง สะท้อนความต้องการสินเชื่อที่ยังคงมีอยู่สูงตามการขยายตัวของการลงทุน และการบริโภคภาคเอกชนอย่างไรก็ตาม จากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อความต้องการสินเชื่อและทำให้การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์หดตัวลดลงในไตรมาส 4
3. ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ย. ของยูโรโซน ลดลงร้อยละ -2.0
  • สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป รายงานว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.ย.54 ของประเทศในกลุ่มยูโรโซนปรับตัวเพิ่มขึน้ ร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อปรับผลตามฤดูกาลแล้ว ลดลงร้อยละ -2.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ทัง้ นี ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปที่มีการเปิดเผยข้อมูลแล้ว พบว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของ 10 ประเทศ ปรับตัวเพิ่มขึน้ ในขณะที่อีก 11 ประเทศปรับตัวลดลง โดยสโลวาเกียปรับตัวเพิ่มขึน้ มากที่สุดที่ร้อยละ 3.2 ในขณะที่เอสโทเนียปรับตัวลดลงมากที่สุดที่ร้อยละ -10.9
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การหดตัวของผลผลิตอุตสาหกรรมของประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) เป็นการปรับตัวลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.52 และบ่งชี้ถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของ EU สะท้อนจาก (1) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.ย. 54 อยู่ที่ระดับ 48.5 หดตัวเป็ นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ในขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ ยจัดซื้อภาคบริการอยู่ที่ระดับ 48.8 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 49.1 ซึ่งแสดงถึงความอ่อนแอของเศรษฐกิจ EU ในภาคอุตสาหกรรมและบริการ และ (2) ดัชนีความเชื่อมั่นด้านอุตสาหกรรมในเดือน ต.ค.54 อยู่ที่ระดับ -94.8 นอกจากนี้ ในส่วนของการบริโภคภาคเอกชนก็ยังคงมีสัญญาณที่อ่อนแอ สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ต.ค.54 อยู่ที่ระดับ -19.9 และยอดค้าปลีกในเดือน ก.ย.54 หดตัวร้อยละ -1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้ว (qoq SA) หดตัว -0.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ สศค. คาดว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ EU ในปี 54 และ 55 จะสามารถเติบโตได้ร้อยละ 1.7 และ 1.5 ตามลำดับ (คาดการณ์ ณ เดือน ก.ย.54 และจะมีการปรับประมาณการอีกครั้งในเดือน ธ.ค.54)

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ