Macro Morning Focus ประจำวันที่ 18 พฤศจิกายน 2554
1. ยอดขายรถยนต์หดตัวร้อยละ -40.5 ขณะที่ยอดผลิตหดตัวต่ำสุดในรอบ 112 เดือนที่ร้อยละ -67.6
2. ฟิทช์เตือนธนาคารพาณิชย์สหรัฐฯ เผชิญความเสี่ยงสูงจากการถือพันธบัตรยุโรป
3. การส่งออกไม่รวมน้ำมัน (Non-oil domestic export) ของสิงคโปร์เดือน ต.ค.54 หดตัวร้อยละ -16.2
- สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่ายอดขายรถยนต์ภายในประเทศเดือนต.ค.54 มีจานวน 42,873 คัน หรือหดตัวร้อยละ -40.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่การผลิตรถยนต์ทั้งหมดในเดือนต.ค.54 มีทั้งสิ้น 49,439 คัน ต่าสุดในรอบ 112 เดือน โดยลดลงร้อยละ -67.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากอุทกภัยส่งผลให้บริษัทผลิตรถยนต์หลายแห่งไม่สามารถผลิตได้ตามปกติ เพราะขาดแคลนชิ้นส่วนจากโรงงานผลิตเนื่องจากชิ้นส่วนยานยนต์ถูกน้าท่วมเป็นจานวนมาก ทาให้ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ให้ลูกค้าได้ตามกาหนด แม้ว่าความต้องการและยอดจองรถยนต์ยังคงมีอยู่มากก็ตาม ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 134,811 คัน หดตัวร้อยละ -3.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- สศค. วิเคราะห์ว่า ยอดขายรถยนต์ที่หดตัวดังกล่าวมีปัจจัยหลักมาจากภาคการผลิตที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยครั้งรุนแรงของไทย ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นเดือน ต.ค. 54 ส่งผลให้ไม่สามารถผลิตรถยนต์ตามความต้องการซื้อของภาคเอกชนได้ ส่งผลกระทบให้การบริโภคสินค้าคงทนปรับตัวลดลง นอกจากนี้ ภาคการส่งออกสินค้าในหมวดยานยนต์ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยการผลิตเพื่อการส่งออกรถยนต์ในเดือน ต.ค.54 หดตัวลงร้อยละ -71.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ สศค. คาดว่า ความเสียหายจากภาวะน้าท่วมมีมูลค่ากว่า 1.9 แสนล้านบาท ซึ่งส่งผลให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 54 อยู่ที่ร้อยละ 2.6 (คาดการณ์ ณ วันที่ 6 พ.ย.54 โดยรวมผลกระทบของภาวะน้าท่วมใน กทม. ภายใต้สมมติฐานน้าท่วมในกทม.เป็นเวลา 15 วัน) ซึ่งลดลงร้อยละ -1.9 จากคาดการณ์เดิม ณ เดือน มิ.ย.54 ก่อนสถานการณ์น้าท่วม ที่คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.5
- สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือฟิทช์ (Fitch) เผยว่าธนาคารพาณิชย์สหรัฐฯ กาลังเผชิญความเสี่ยงอย่างสูง จากผลกระทบของปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป ถึงแม้ว่าธนาคารพาณิชย์สหรัฐฯ จะผ่านการทดสอบภาวะวิกฤติ (Stress Test) แล้วก็ตาม เนื่องจากธนาคารพาณิชย์สหรัฐฯ ถือครองพันธบัตรรัฐบาลของประเทศในสหภาพยุโรปในสัดส่วนที่สูง จึงมีความเสี่ยง (Exposure) สูง และมีความเป็นไปได้ว่าวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรปอาจทาให้เกิดการส่งผ่านจากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่งได้
- สศค. วิเคราะห์ว่า ความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์สหรัฐฯ ต่อการถือพันธบัตรยุโรปที่ฟิทช์ประเมินนั้น มีทั้งความเสี่ยงทางตรงและทางอ้อม โดยผลทางตรงจะผ่านการถือครองพันธบัตรรัฐบาลของประเทศในกลุ่ม PIIGS (โปรตุเกส ไอร์แลนด์ อิตาลี กรีซ และสเปน) โดยตรง ซึ่งธนาคารพาณิชย์สหรัฐฯ ขนาดใหญ่สุด 6 อันดับแรก อันได้แก่ JP Morgan-Chase, Bank of America, Citigroup, Wells Fargo, Goldman-Sachs และ Morgan-Stanley ถือครองพันธบัตรของประเทศในกลุ่ม PIIGS ด้วยมูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 54) สาหรับความเสี่ยงทางอ้อม จะเกิดขึ้นผ่านการถือครองพันธบัตรของประเทศอื่นๆ ในยุโรปที่เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของประเทศในกลุ่ม PIIGS เช่น ประเทศฝรั่งเศส ที่ถือครองพันธบัตรรัฐบาลของประเทศในกลุ่ม PIIGS สูงถึงกว่า 9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ธนาคารพาณิชย์สหรัฐฯ ถือครองพันธบัตรรัฐบาลและเอกชนของฝรั่งเศสด้วยมูลค่าถึง 1.9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้น หากสถานการณ์หนี้สาธารณะในยุโรปยังไม่คลี่คลายและมีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือเพิ่มเติม ระบบสถาบันการเงินในสหรัฐฯ อาจได้รับผลกระทบ จนอาจนาไปสู่การเพิ่มทุนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วโลก และอาจนาไปสู่วิกฤติการเงินระลอกสองได้
- มูลค่าการส่งออกสินค้าที่ผลิตภายในประเทศไม่รวมน้ามัน (Non-oil domestic export) ของสิงคโปร์ เดือน ต.ค.54 หดตัวมากที่สุดในรอบ 2 ปีที่ร้อยละ -16.2 จากช่วงเดียวกันของปี ซึ่งเป็นการหดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -4.5 โดยมีสาเหตุสาคัญจากการชะลอตัวของอุปสงค์ภายนอกประเทศ โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งหดตัวร้อยละ -31.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
- สศค. วิเคราะห์ว่า การหดตัวของมูลค่าการส่งออกดังกล่าวของสิงคโปร์ เดือน ต.ค.54 มีทิศทางเดียวกับการส่งออกของประเทศในภูมิภาคเอเชีย อาทิเช่น มูลค่าการส่งออกเดือน ต.ค.54 ของจีน และเกาหลีใต้ที่ชะลอลงที่ร้อยละ 15.9 และ 9.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลาดับ และมูลค่าการส่งออกของฟิลิปปินส์ในเดือน ก.ย.54 ซึ่งมีสินค้าส่งออกหลักหมวดอิเล็กทรอนิกส์เช่นเดียวกับสิงคโปร์ที่หดตัวร้อยละ -27.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ การส่งออกที่ชะลอตัวในภูมิภาคเอเชีย ส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่มีแนวโน้มดีขึ้นชัดเจน สะท้อนจากอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ เดือน ต.ค.54 ที่ยังทรงตัวในระดับสูงร้อยละ 9.0 ของกาลังแรงงานรวม สาหรับแนวโน้มการส่งออกในสิงคโปร์พบว่า ดัชนีคาสั่งซื้อสินค้าส่งออกในเดือน ต.ค.54 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ทาให้คาดว่าสิงคโปร์ซึ่งเป็นเศรษฐกิจแบบเปิดพิเศษ (Ultra-open economy) ที่พึ่งพิงภาคการส่งออกในระดับสูง จะมีมูลค่าการส่งออกทรงตัวในระดับต่าต่อเนื่องในระยะต่อไป
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:
Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th