รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 14 - 18 พฤศจิกายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 21, 2011 14:58 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้อปท.) ในเดือน ต.ค.54 มีจำนวนทังสิน 128.31 พันล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.7
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน ต.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 11.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์หดตัวร้อยละ -17.0
  • ดัชนีความเชื่อมันภาคอุตสาหกรรมในเดือน ต.ค.54 อยู่ที่ระดับ 89.0
  • นักท่องเทียวจากต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ต.ค.54 มีจำนวน 1.41 ล้านคน ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.0
  • GDP ไตรมาส 3 ปี 54 ของยุโรป (เบื้องต้น) ขยายตัวที่ร้อยละ 1.4 เมือเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า
  • GDP ไตรมาส 3 ปี 54 ของสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.5 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq_sa)
  • ยอดค้าปลีกญี่ปุ่น เดือน ต.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 7.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • อัตราเงินเฟ้อทัวไปของอินเดียเดือน ต.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 9.7 เมือเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
Indicators next week
 Indicators                          Forecast           Previous
Oct: Passenger car sale (%YoY)        -10.0                29.6
  • เนื่องจากในเดือนต.ค. 54 เกิดปัญหาน้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่โดยเฉพาะจังหวัดพระนครศรีอยุธยาทีมีอุตสาหกรรมหลัก คือยานยนต์ และชิ้นส่วนประกอบยานยนต์ ทำให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไม่สามารถผลิตรถยนต์ได้ตามปกติ และไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ให้ลูกค้าได้ตามกำหนดระยะเวลา ทังนี คาดว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อยอดขายรถยนต์นังในช่วงต้นไตรมาสที 4 ปี 54 ทีคาดว่าจะหดตัวลง
Economic Indicators: This Week
  • รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้อปท.) ในเดือน ต.ค. 2554 มีจำนวนทั้งสิ้น 128.31 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 2.7 เมือเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าพบว่าชะลอลง โดยรายได้ที่จัดเก็บได้สูงมาจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิตที่สูงกว่าประมาณการ สำหรับภาษีฐานบริโภคขยายตัวร้อยละ 14.4 และภาษีฐานรายได้ซึงรวมภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขยายตัวร้อยละ 10.8 สะท้อนถึงรายได้ประชาชนที่ยังอยู่ในระดับสูงตามภาวะเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวได้ในเกณฑ์ดี
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน ต.ค.54 มีมูลค่า 44.8 พันล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 11.3 เมือเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ทีร้อยละ 13.3 แต่เมือเทียบกับเดือน ก.ย. 54 และขจัดผลทางฤดูกาลออกแล้วพบว่าหดตัวลงร้อยละ -1.9 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากผลกระทบจากน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ ส่งผลให้การบริโภคโดยรวมชะลอลง ทั้งนี้ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 54 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 13.3 บ่งชีถึงการบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวได้ในเกณฑ์ดี แม้มีความเสี่ยงจากปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ก็ตาม
  • ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน ต.ค. 54 หดตัว ร้อยละ -17.0 เมือเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 16.5 และเมื่อขจัดผลทางฤดูการออกหดตัวร้อยละ -33.8 โดยการหดตัวดังกล่าวเป็นผลมาจากปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายพืนที โดยเฉพาะพื้นที่ต่างจังหวัด และในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทำให้บรรยากาศการลงทุนในตลาดอสังหาริมทรัพย์ เกิดภาวะชะลอลงแทบทุกทำเล และภาวะน้ำท่วมหลายพื้นที่ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ในส่วนของยอดขายที่ชะลอลง ทั้งนี้ ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 54 ขยายตัวร้อยละ 15.9
  • นักท่องเทียวจากต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ต.ค. 54 มีจำนวน 1.41 ล้านคน ขยายตัวเมือเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.0 แต่หดตัวลงจากเดือนก่อนหลังหักผลทางฤดูกาล (m-om A) ร้อยละ -13.8 ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ซึ่งส่งผลต่อนักท่องเที่ยวชะลอการเข้ามาท่องเทียว อย่างไรก็ตาม ประเทศที่ยังคงขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ จีน รัสเซีย ออสเตรเลียและฮ่องกง ร้อยละ 50.4 17.5 16.0 และ 31.0 ตามลำดับ ส่งผลให้ 10 เดือนแรกปี 54 มีจำนวนนักท่องเทียวทั้งสิ้น 15.8 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 25.01
  • ดัชนีความเชื่อมันภาคอุตสาหกรรมเดือน ต.ค. 54 อยู่ที่ระดับ 89.0 ปรับลดลงเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 90.7 และเป็นการปรับลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 26 เดือน ทั้งนี้ ดัชนีที่ปรับลดลงเกิดจากองค์ประกอบด้านยอดคำสั่งโดยรวม ยอดขายโดยรวม ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการจากวิกฤตน้ำท่วม ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคการผลิตที่เสียหายรุนแรง ทั้งในส่วนของนิคมอุตสาหกรรมที่จังหวัดอยุธยา ปทุมธานี และในส่วนของอุตสาหกรรมต่อเนื่องในพื้นที่อื่นๆ ที่ต้องหยุดการผลิตเนื่องจากขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิต ซึ่งดัชนีฯ ดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 ติดต่อกันเป็นเดือนที่สอง สะท้อนความเชื่อมันต่อการประกอบการยังอยู่ในระดับต่ำ
Economic Indicators: Next Week
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ต.ค.54 คาดว่าจะหดตัวที่ร้อยละ -10.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 29.6 เนื่องจากในเดือนต.ค.54 เกิดปัญหาน้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่มีอุตสาหกรรมหลัก คือยานยนต์ และชิ้นส่วนประกอบยานยนต์นั้นทำให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไม่สามารถผลิตรถยนต์ได้ตามปกติ และไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ให้ลูกค้าได้ตามกำหนดระยะเวลาทั้งนี้คาดว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อยอดขายรถยนต์นั่งในช่วงต้นไตรมาสที 4 ปี 54 ที่คาดว่าจะหดตัวลง

Global Economic Indicators: This Week

Eurozone: mixed signal
  • GDP ไตรมาส 3 ปี 54 (เบื้องต้น) ขยายตัวที่ร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันปีก่อนหน้า หรือขยายตัวร้อยละ 0.2 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq_sa) โดย GDP ของเยอรมนีและฝรั่งเศส ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจเกือบครึ่งหนึ่งของยูโรโซนขยายตัวที่ร้อยละ 2.6 และร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าตามลำดับ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 54 หดตัวต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 2552 ที่ร้อยละ -2.0 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) หรือขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 2 ปีทีร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ต.ค. 54 คงที่เป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า นายมาริโอ มอนติ ได้รับการแต่งตังเป็นนายกรัฐมนตรีอิตาลี
USA: Improving economic trend
  • ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 7.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) โดยยอดขายไม่รวมรถยนต์ขยายตัวร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อนหน้า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ต.ค. 54 ปรับตัวลดลงมาอยุ่ทีร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหรือลดลงร้อยละ -0.1 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) จากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนหน้า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ต.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนหน้า จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตยานยนต์ที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากเดือนก่อนหน้า
Japan: Mixed signal
  • GDP ไตรมาส 3 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 1.5 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq_sa) หรือไม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า จากการลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนที่กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 0.7 และร้อยละ 0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ตามลำดับ ประกอบกับการส่งออกที่กลับมาขยายตัวเช่นกันที่ร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หลังจากทีภาคการผลิตได้ฟื้นตัวจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 54 หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนที่ร้อยละ -3.2 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa)
India: Mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อทัวไปเดือน ต.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 9.7 เมือเทียบกับ ช่วงเดียวกันปีก่อน โดยขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 9.0 ต่อเนื่องเป็นเดือนที 11 จากราคาอาหารและน้ำมันที่ขยายตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้คาดว่าธนาคารกลางอินเดียอาจต้องใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวในระยะต่อไป เพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง
Singapore: worsening economic trend
  • มูลค่าการส่งออกสินค้าที่ผลิตภายในประเทศไม่รวมน้ำมัน (Non- oil domestic export) เดือน ต.ค. 54 หดตัวมากที่สุดในรอบ 2 ปีมาอยู่ที่ร้อยละ -16.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -4.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยการส่งออกสินค้าในหมวดอิเล็กทรอนิกส์หดตัวร้อยละ -31.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกโดยการส่งออกที่ผลิตภายในประเทศสู่สหรัฐฯ ที่มีสัดส่วนกว่าร้อยละ 7.92 ของการส่งออกที่ผลิตภายในประเทศทั้งหมดหดตัวร้อยละ 50.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าด้านยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 54 หดตัวที่ร้อยละ -0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากยอดขายรถยนต์ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25 ของยอดค้าปลีกทั้งหมดหดตัวที่ร้อยละ -9.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากราคารถยนต์ที่เพิ่มขึ้นอันเป็นผลมาจากอุปสงค์ต่อรถยนต์เพิ่มขึ้น ประกอบกับใบรับรองสิทธิที่มีปริมาณจำกัด อย่างไรก็ตาม ยอดค้าปลีกหลังหักรถยนต์ เดือน ก.ย. 54 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 3.1 เมือเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
Hong Kong: Mixed signal
  • อัตราการว่างงานเดือน ต.ค. 54 ปรับตัวเพิ่มเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน มาอยู่ที่ร้อยละ 3.3 ของกำลังแรงงานรวม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) อย่างไรก็ตาม อัตราว่างงานดังกล่าว ถือว่าอยู่ในระดับต่ำบ่งชี้ภาคการจ้างงานที่ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งนี้คาดว่าปัจจัยเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก อาจส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานในระยะต่อไปได้
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนหน้า ด้วยมูลค่าซื้อขายที่ใกล้เคียงระดับปกติ โดยดัชนีฯ ปรับตัวขึ้นมากในช่วงต้นสัปดาห์ใกล้ระดับ 1,000 จุดในวันที่ 16 พ.ย.54 จากการคลายความกังวลเรื่องวิกฤติการเมืองในยุโรปหลังการประกาศจัดตั้งรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอิตาลีคนใหม่ นายมาริโอ มอนติ ประกอบกับสถานการณ์อุทกภัยในประเทศเริมคลี่คลาย นักลงทุนรายย่อยในประเทศกลับเข้าซื้อ-ขายในตลาดได้เป็นปกติ ก่อนดัชนีฯ จะปรับลดลงในช่วงปลายสัปดาห์จากการเทขายเพื่อทำกำไรของนักลงทุนต่างชาติ ทั้งนี้ ระหว่าง 14 17 พ.ย.54 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -84 ล้านบาท ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับตัวลดลงเล็กน้อยในพันธบัตรระยะสั้น ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่ยังคงเบาบาง โดยผลตอบแทนพันธบัตรอายุไม่เกิน 2 ปีปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากแรงซื้อ-ขายในตลาด ประกอบกับนักลงทุนคาดการณ์ว่า กนง.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งสุดท้ายของปี 54 ในวันที่ 30 พ.ย. นี้ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 14 - 17 พ.ย.54 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 6,794 ล้านบาท
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นีอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยปิดทีระดับ 30.85 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที 17 พ.ย. 54 อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยเมือเทียบกับดอลลาร์สหรัฐทีร้อยละ -0.29 ใกล้เคียงกับค่าเงินในภูมิภาค ทังนี ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นีอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยทีร้อยละ -0.12 สะท้อนว่าค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงในอัตราทีน้อยกว่าค่าเงินสกุลอืนๆ ในภูมิภาค
  • ราคาทองคำปรับลดลงต่อเนื่องทังสัปดาห์ โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 17 พ.ย.54 ปิดที่ 1,721 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ลดลงจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,781 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ จากการคลายความกังวลในสถานการณ์ในยุโรป

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ