รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 7 - 11 พฤศจิกายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 17, 2011 15:46 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ต.ค.54 อยู่ที่ระดับ 62.8
  • สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ก.ย.54 อยู่ที่ระดับ 2.05 ล้านล้านบาท
  • การส่งออกของจีน ในเดือน ต.ค. 54 ขยายตัวชะลอลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 มาอยู่ที่ร้อยละ 15.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การนาเข้าขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 28.7
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของจีน ในเดือน ต.ค.54 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนทื่ 3 มาอยู่ที่ร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • จำนวนผู้ว่างงานสหรัฐฯ อยู่ที่ 13.9 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 9.0 ของกาลังแรงงานรวม
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคญี่ปุ่น ในเดือน ต.ค.54 ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 มาอยู่ที่ระดับ 38.6
  • วันที่ 11 พ.ย. ธนาคารกลางเกาหลีใต้ ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.25
  • วันที่ 10 พ.ย. ธนาคารกลางอินโดนีเซีย ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 50 Bps มาอยู่ที่ร้อยละ 6.0
Indicators next week
 Indicators                          Forecast           Previous
Oct: TISI (Index)                      90.0               90.7
  • โดยมีสาเหตุหลักมาจากปัญหาน้าท่วมในหลายพื้นที่ที่ได้สร้างความเสียหายต่อภาคการเกษตร อุตสาหกรรมและบริการ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ที่ภาคการผลิตต้องหยุดชะงัก และเป็นอุปสรรคต่อระบบคมนาคมการขนส่งสินค้าประกอบกับความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น จากราคาวัตถุดิบที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามปริมาณการผลิต (Supply) ที่ลดลง และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีความเปราะบาง
Oct: Tourist Arrival (% YoY)            8.0               22.7
  • สาเหตุหลักมาจากปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ส่งผลต่อจิตวิทยาของนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศ ประกอบกับรัฐบาลหลายประเทศ เช่น จีน และไต้หวัน ประกาศเตือนให้งดเดินทางเข้ามาประเทศไทย อย่างไรก็ตาม จากการที่ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของทุกปี เป็นช่วงฤดูกาลการท่องเที่ยว (High Season) ของนักท่องเที่ยวแถบสแกนดิเนเวียร์ที่มาท่องเที่ยวทางภาคใต้ของประเทศ ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย ดังนั้นจึงคาดว่าจานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศจะไม่ลดลงมากนัก
Economic Indicators: This Week
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ต.ค. 54 อยู่ที่ระดับ 62.8 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 72.2 ซึ่งเป็นการปรับลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และเป็นการปรับตัวลดลงต่าสุด ในรอบ 120 เดือน นับตั้งแต่เดือนพ.ย. 44 เป็นต้นมา โดยสาเหตุหลักมาจาก 1 ผลกระทบจากเหตุการณ์น้าท่วมในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร และนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง ซึ่งสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจและทรัพย์สินของประชาชนและทางราชการ 2 ความกังวลต่อค่าครองชีพหลังจากราคาสินค้ายังทรงตัวในระดับสูง จากเหตุการณ์น้าท่วม และ 3 แนวโน้มการชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจโลก จากปัญหาหนี้สาธารณะในสหภาพยุโรป
  • สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ก.ย. 54 อยู่ที่ระดับ 2.05 ล้านล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 2.18 ล้านล้านบาท จากเงินฝากและเงินกู้ยืมที่ปรับลดลง ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อปรับเพิ่มขึ้นใน โดยยอดคงค้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ก.ย. 54 หดตัวร้อยละ -1.6 จากเดือนก่อนหน้า ประกอบกับเงินกู้ยืมปรับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยที่ 2.4 หมื่นล้านบาทจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 1.5 จากเดือนก่อนหน้า สะท้อนการปรับท่าทีของธนาคารพาณิชย์ในการระดมเงินฝาก จากการปรับลดวงเงินคุ้มครองเงินฝาก และการเฝ้าระวังสถานการณ์สินเชื่อในระยะต่อไป
Economic Indicators: Next Week
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ต.ค. 54 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 90.0 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 90.7 โดยมีสาเหตุหลักมาจากปัญหาน้าท่วมในหลายพื้นที่ที่ได้สร้างความเสียหายต่อภาคการเกษตร อุตสาหกรรมและบริการ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ที่ภาคการผลิตต้องหยุดชะงัก และเป็นอุปสรรคต่อระบบคมนาคมการขนส่งสินค้าประกอบกับความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นจากราคาวัตถุดิบที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามปริมาณการผลิต (Supply) ที่ลดลง และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีความเปราะบาง นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังมีความกังวล ต่อแนวทางการฟื้นฟูอุตสาหกรรมที่ได้รับความเสียภายหลังอุทกภัยคลีคลาย
  • นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ต.ค. 54 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงมากจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 22.7 สาเหตุหลักมาจากปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ส่งผลต่อจิตวิทยาของนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศ ประกอบกับรัฐบาลหลายประเทศ เช่น จีน และไต้หวัน ประกาศเตือนให้งดเดินทางเข้ามาประเทศไทย อย่างไรก็ตาม จากการที่ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของทุกปีเป็นช่วงฤดูกาลการท่องเที่ยว (High Season) ของนักท่องเที่ยวแถบสแกนดิเนเวียร์ที่มาท่องเที่ยวทางภาคใต้ของประเทศ ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย ดังนั้นจึงคาดว่าจานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศจะไม่ลดลงมากนัก

Global Economic Indicators: This Week

Eurozone: worsening economic trend
  • ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 54 หดตัวจากเดือนก่อนหน้าถึงร้อยละ -1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็น -0.7 จากเดือนก่อนหน้า (%mom SA) สะท้อนถึงการบริโภคภาคเอกชนของยูโรโซนที่ยังคงอ่อนแอ นายกรัฐมนตรีของกรีซ นายจอร์จ ปาปันเดรอู ประกาศลงจากตาแหน่งขณะที่รัฐบาลยังไม่มีข้อยุติด้านผู้นาของรัฐบาลเฉพาะกาล ในขณะที่อิตาลีอาจจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล ภายหลังนายกรัฐมนตรีซิลวิโอ เบร์ลุสโคนี ประกาศยอมลงจากตาแหน่งหลังไม่ได้รับเสียงสนับสนุนข้างมากในสภา
China: Mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน ต.ค. 54 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนทื่ 3 มาอยู่ที่ร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 6.1 ผลจากมาตรการควบคุมราคาเชื้อเพลิงและการให้เงินสนับสนุนเกษตรกรเพื่อควบคุมราคาอาหาร โดยราคาอาหารสดขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 11.9 การลงทุนในเขตเมืองในช่วง 10 เดือนแรกของปี 54 ขยายตัวร้อยละ 24.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า ยอดค้าปลีกเดือน ต.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 17.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า มูลค่าส่งออกเดือน ต.ค.54 ขยายตัวชะลอลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 มาอยู่ที่ร้อยละ 15.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 8.0 ในขณะที่มูลค่าการนาเข้า เดือน ต.ค. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 28.7 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 17.03 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
USA: Mixed signal
  • US ตำแหน่งงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ เดือนต.ค.54 เพิ่มขึ้นถึง 80,000 ตาแหน่งจากเดือนก่อนหน้า แต่จานวนผู้ว่างงานยังคงอยู่ที่ระดับสูงที่ 13.9 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 9.0 ของกาลังแรงงานรวม
Japan: Mixed signal
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ต.ค.54 ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 มาอยู่ที่ระดับ 38.6 ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า
South Korea: Mixed signal
  • วันที่ 11 พ.ย. ธนาคารกลางเกาหลีใต้ ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.25 จากแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่เริ่มลดลงชัดเจน ผนวกกับความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มขึ้น
Taiwan: Mixed signal
  • มูลค่าการส่งออกเดือน ต.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 11.7 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อนเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 9.9 จากการขยายตัวเร่งขึ้นของการส่งออกไปยังสหรัฐฯ โดยหากวิเคราะห์ลงไปในรายละเอียดสินค้าพบว่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนอุปสงค์จากนอกประเทศที่ยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่องขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ต.ค. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 11.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน อย่างไรก็ตามคาดว่าในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 54 การส่งออกจะชะลอลง ตามความเปราะบางของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ด้านเสถียรภาพในประเทศอัตราเงินเฟ้อเดือน ต.ค.54 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ตามราคาน้ำมันและราคาอาหารที่เริ่มปรับตัวลดลงสะท้อนแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เริ่มชะลอลง
Indonesia: worsening economic trend
  • อัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน พ.ย. 54 ปรับตัวลดลง 50 Bps มาอยู่ที่ร้อยละ 6.0 จากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ผ่อนคลายลงและรัฐบาลต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนและสหภาพยุโรปซึ่งเป็นคู่ค้ารายสาคัญของอินโดนีเซีย
Philippines: worsening economic trend
  • มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 54 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 อยู่ที่ร้อยละ -27.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า หรือหดตัวร้อยละ -6.0 จากเดือนก่อน จากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.65 ของยอดการส่งออกรวมที่หดตัวเร่งขึ้นอยู่ที่ร้อยละ -47.9
Australia: Mixed signal
  • มูลค่าการส่งออกเดือน ต.ค. 54 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 12.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการชะลอลงของการส่งออกไปจีน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 10.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET เคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ด้วยมูลค่าซื้อขายที่ยังคงเบาบาง โดยดัชนีฯ ปรับตัวสูงขึ้นมากในวันที่ 8 พ.ย.54 โดยปิดที่ระดับ 983.44 จุด ก่อนจะกลับมาเคลื่อนไหวในช่วง 960-970 จุดในช่วงปลายสัปดาห์ จากความกังวลเรื่องวิกฤตการเมืองยุโรปที่เป็นผลจากวิกฤตหนี้สาธารณะ หลังจากการประกาศลาออกของนายกรัฐมนตรีกรีซและอิตาลี ที่ทาให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีอายุ 10 ปี ปรับตัวสูงสุดนับตั้งแต่เข้าร่วมยูโรโซน อย่างไรก็ตาม ปัญหาอุทกภัยภายในประเทศทาให้มูลค่าการซื้อขายในสัปดาห์นี้ค่อนข้างเบาบาง โดยเฉพาะจากนักลงทุนสถาบันภายในประเทศ ทั้งนี้ ระหว่าง 7 - 10 พ.ย.54 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -3,705 ล้านบาท ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับตัวในช่วงแคบๆ โดยมีมูลค่าการซื้อขายเบาบาง โดยอัตราผลตอบแทนปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ก่อนจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ นักลงทุนต่างชาติเน้นการขายพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 2 ปีเพื่อทำกำไร ทั้งนี้ระหว่าง 7 - 10 พ.ย.54 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 3,096 ล้านบาท
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อนหน้า โดยปิดที่ระดับ 30.78 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 10 พ.ย.54 เท่ากับสัปดาห์ก่อนหน้า ในขณะที่ค่าเงินในภูมิภาคส่วนใหญ่มีแนวโน้มอ่อนค่าลง โดยเฉพาะดอลลาร์สิงคโปร์ที่อ่อนค่าลงถึงร้อยละ -2.14 จากสัปดาห์ก่อนหน้า ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.35 สะท้อนว่าค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินของคู่ค้าอื่นๆ
  • ราคาทองคำปรับลดลงต่อเนื่องทั้งสัปดาห์ โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 10 พ.ย. 54 ปิดที่ 1,759 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ลดลงจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,795 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ