รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 23 พฤศจิกายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 23, 2011 10:42 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 23 พฤศจิกายน 2554

Summary:

1. ธนาคารโลกหั่น GDP ไทยเหลือ 2.4% ปี 54

2. ส่งออกต.ค. 54 โต 0.3% ต่ำสุดรอบ 2 ปี

3. ยอดส่งออกเดือน ต.ค.54 ของญี่ปุ่นหดตัวลงครั้งแรกในรอบ 3 เดือนที่ร้อยละ 3.78

Highlight:
1. ธนาคารโลกปรับลด GDP ไทย ปี 54 เหลือร้อยละ 2.4
  • ธนาคารโลกได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของไทยลงประมาณ ร้อยละ 1 เหลือร้อยละ 2.4 ในปี 54 เพราะความเสียหายที่เกิดกับภาคอุตสาหกรรมรถยนต์และโรงงานผลิตชิน้ ส่วนอิเล็กทรอนิกส์ รวมทัง้ ความเสียหายที่เกิดกับบรรดาซัพพลายเออร์จากเหตุน้ำท่วมใหญ่ที่ยืดเยือ้ หลายเดือน และคาดการณ์ว่า GDP ไทยในปีหน้าจะขยายตัวร้อยละ 4
  • สศค. วิเคราะห์ว่า นับจากต้นปี 54 ธนาคารโลกปรับประมาณการ GDP ไทยแล้ว 3 ครั้ง โดยครั้งแรกคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.2 และต่อมาในเดือนเม.ย.ปรับเพิ่มขึ้นเป็ นร้อยละ 3.7 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยใยช่วงต้นปี ได้รับแรงส่งจากการส่งออกและผลจากรายได้สินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงจากราคาที่แพงขึ้น ซึ่งจะเป็ นตัวผลักดันการขยายตัวอุปโภคบริโภคในประเทศ และล่าสุดปรับลดลงเนื่องจากภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นสศค. ได้ประเมินความเสียหายจากปัญหาอุทกภัยในพืน้ ที่ต่างๆ ประมาณ 1.9 แสนล้านบาท ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยในปี 54 ลดลงร้อยละ 1.8 และคาดว่า ปี 54 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 2.6 สำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 55 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี
2. ส่งออกต.ค.54 โต 0.3% ต่ำสุดรอบ 2 ปี
  • กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผย ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนต.ค. 54 ว่าการส่งออกมีมูลค่าทั้งสิ้น 17,192 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึน้ 0.3% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำสุดในรอบ 2 ปี ตัง้ แต่เดือนต.ค.ปี 52 ขณะที่การส่งออกช่วง 10 เดือน (ม.ค.54-ต.ค.54) มีมูลค่า 196,769 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึน้ 22.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • สศค. วิเคราะห์ว่า จากเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทำให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะการส่งออกสินค้า เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม รวมถึงระบบโลจิสติกส์ที่ประสบปัญหาไม่สามารถขนส่งสินค้าและวัตถุดิบได้ ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออกได้รับผลกระทบอย่างมากทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยผลกระทบทางตรงเกิดจากการขาดแคลนวัตถุดิบและโรงงานได้รับความเสียหายส่วนโรงงานขนาดเล็กจะได้รับผลกระทบทางอ้อมจากยอดสั่งซื้อสินค้าที่ลดลง ทั้งนี้ สินค้าส่งออกที่ลดลงจากภาวะน้ำท่วม พบว่าเป็นสินค้าในกลุ่มยานยนต์และชิน้ ส่วนลดลงร้อยละ -15.3 อิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ -22 เป็ นต้น นอกจากนี้การส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญ พบว่า การส่งออกไปตลาดยุโรปลดลงร้อยละ -11.1 ตลาดสหรัฐลดลงร้อยละ -5.5 ทั้งนี้ สศค.คาดว่ามูลค่าการส่งออกในปี 54 จะขยายตัวที่ร้อยละ 21.0
3. ยอดส่งออกเดือน ต.ค.54 ของญี่ปุ่นหดตัวลงครั้งแรกในรอบ 3 เดือนที่ร้อยละ 3.7
  • กระทรวงการคลังญี่ปุ่น รายงานว่า ยอดส่งออกเดือน ต.ค.54 หดตัวลงร้อยละ -3.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอยู่ที่ระดับ 5.51 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นการหดตัวลงครั้งแรกในรอบ 3 เดือนขณะที่ยอดนำเข้าขยายตัวร้อยละ 17.9 มาอยู่ที่ระดับ 5.79 ล้านล้านเยน ซึ่งส่งผลให้ญี่ปุ่นมียอดขาดดุลการค้าในเดือน ต.ค.สูงถึง 2.74 แสนล้านเยน
  • สศค.วิเคราะห์ว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังคงมีสัญญาณการฟื้นตัวที่เปราะบางโดยข้อมูลล่าสุด GDP ของญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 3 ปี 54 เมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้ว (qoq SA) ขยายตัวร้อยละ 1.5 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้ ที่หดตัวอยู่ที่ร้ อยละ -0.3 โดยปัจจัยหลักที่ช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจญี่ปุ่น (Contribution to GDP Growth) เติบโตคือ ภาคการบริโภคภาคเอกชนที่สามารถขยายตัวร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี ก่อน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.2 และภาคการส่งออกที่ขยายตัวร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี ก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ -5.0 โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการผลิตที่เริ่มฟื้นตัวภายหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิ สะท้อนจากดัชนีคำสั่งซื้อผู้จัดการฝ่ายผลิต (Mfg PMI) ในเดือนต.ค.54 อยู่ที่ระดับ 50.6 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ระดับ 49.3 อย่างไรก็ตามปัญหาอุทกภัยในประเทศไทยซึ่งเป็ นฐานการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญของญี่ปุ่นจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคการส่งออกและเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ทั้งนี้ สศค. คาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในปี 54 จะหดตัวร้อยละ -0.6 (คาดการณ์ ณ เดือน ก.ย. 54)

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ