รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 25 พฤศจิกายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Friday November 25, 2011 11:51 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 25 พฤศจิกายน 2554

Summary:

1. สอท.ประเมินน้า ท่วม 2 เดือนกระทบเศรษฐกิจเสียหายมูลค่าถึง 1 ล้านล้านบาท

2. ธปท. ยกเลิกแผนฉุกเฉินเพ่อื รับมือปัญหาอุทกภัย

3. S&P’s มีแนวโน้มปรับลดความน่าเชื่อถือของญี่ปุ่น

Highlight:
1. สอท.ประเมินน้า ท่วม 2 เดือนกระทบเศรษฐกิจเสียหายมูลค่าถึง 1 ล้านล้านบาท
  • ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวถึงผลกระทบจากอุทกภัยที่นานกว่า 2 เดือนว่า ทาให้โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมทัง้ 7 แห่ง และโรงงานนอกนิคมฯ เช่น ในพืน้ ที่ จ.ลพบุรี มีมูลค่าความเสียหายไม่ต่ากว่า 200,000-300,000 ล้านบาท ส่วนความเสียหายต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่สามารถดาเนินการผลิตได้และขายสินค้าไม่ได้ ตลอดจนด้านการส่งออกและการผลิตอุปกรณ์ชิน้ ส่วนตามห่วงโซ่การผลิตที่หายไป พบว่ามีความเสียหายมากกว่า 100,000 ล้านบาทต่อเดือน ดังนัน้ หากพูดถึงความเสียหายโดยรวมอาจจะมากถึง 1 ล้านล้านบาท
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก โดยสามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภทคือ 1) ความเสียหายแก่เครื่องยนต์เครื่องจักรตลอดจนสิ่งก่อสร้างอื่นๆ (Capital stock) ซึ่งความเสียหายประเภทนี้ จะไม่ปรากฎเป็น ความเสียหายใน GDP โดยตรง เนื่องจากเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ตัวแปรคงเหลือ (Stock) ในขณะที่ GDP เป็ นการวัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างช่วงเวลา หรือเป็นตัวแปรกระแส (Flow) ในทางตรงข้าม ความเสียหายต่อ Capital stock ดังกล่าวจะทาให้จำเป็นต้องมีการสั่งซื้อเครื่องจักรและก่อสร้างซ่อมแซม ซึ่งจะส่งผลบวกต่อ GDP ในระยะต่อไป 2) ความเสียหายต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยตรง เช่น ภาคการคมนาคมขนส่งตลอดจนโลจิสติกส์ที่ต้องหยุดชะงักลง และ 3) ค่าเสียโอกาส โดยความเสียหาย 2 ประเภทหลังนี้เป็นความเสียหายต่อตัวแปรกระแส ซึ่งจะ

ส่งผลต่ออัตราการขยายตัวของ GDP ได้ ทั้งนี้ สศค. ประเมิน ณ วันที่ 15 พ.ย. 54 ว่าปัญหาอุทกภัยตลอดจนการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก จะทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 54 ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.6 อย่างไรก็ตาม ทั้งปัญหาอุทกภัยและภาวะเศรษฐกิจโลกยังคงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจทำให้ สศค. ปรับตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 54 อีกครั้ง ในเดือน ธ.ค. 54 ที่จะถึงนี้

2. ธปท. ยกเลิกแผนฉุกเฉินเพื่อรับมือปัญหาอุทกภัย
  • ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จะยังไม่มีการประชุมแผนฉุกเฉินรับมือน้าท่วมอีกในเร็วๆ นี้ เนื่องจากการประเมินร่วมกันครั้งล่าสุดพบว่าระบบสถาบันการเงินมีความเสี่ยงจากภาวะอุทกภัยลดลง ระบบการเงิน การชาระเงิน สภาพคล่องกลับมาสู่ภาวะปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารไทยพาณิชย์และธนาคารทหารไทยที่สามารถกลับมาเปิดสานักงานใหญ่ได้ตามปกติแล้ว ขณะที่สาขาธนาคารที่ปิดชั่วคราวจากเหตุน้ำท่วมและตู้เอทีเอ็มที่ปิด ก็ได้เริ่มทยอยกลับมาให้บริการตามปกติแล้ว ยกเว้นสาขาของธนาคารในจังหวัดปทุมธานีและนนทบุรีที่กลับมาเปิดให้บริการได้น้อยกว่าที่อื่นๆ
  • สศค.วิเคราะห์ว่า ปัญหาน้ำท่วมที่เริ่มคลี่คลายลงนั้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการภาคต่างๆ รวมทั้งภาคธนาคารเริ่มทยอยกลับมาเปิดทำการอย่างปกติ ทำให้ประชาชนลดความตื่นตระหนก และลดปริมาณการถือครองเงินสดลงจากช่วงเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ จากการสำรวจของ ธปท. พบว่า ยอดสินเชื่อคงค้างในพื้นที่น้ำท่วมกว่า 30 จังหวัด มีวงเงินสินเชื่อที่เกี่ยวข้องกับน้ำท่วมอยู่ที่กว่า 4 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 4 ของยอดคงค้างสินเชื่อทั้งหมด ทั้งนี้ หากสินเชื่อดังกล่าวกลายเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระยะต่อไป สศค. วิเคราะห์ว่าไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพภาคการเงินของประเทศมากนัก เนื่องจากวงเงินสินเชื่อดังกล่าวอยู่ในระดับไม่สูงมากนัก ประกอบกับภาคการเงินของไทยมีความแข็งแกร่ง โดยหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net NPLs) ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ปี 54 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 ของยอดคงค้างสินเชื่อรวม ขณะที่เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงในเดือน ก.ย. 54 อยู่ที่ร้อยละ 15.7 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ ธปท.กาหนดไว้ที่ร้อยละ 8.5
3. S&P's มีแนวโน้มปรับลดความน่าเชื่อถือของญี่ปุ่น
  • S&P's มีแนวโน้มปรับลดความน่าเชื่อถือของญี่ปุ่นจากเดิมอยู่ที่ระดับ AA- โดยมี Outlook ที่ระดับ Negative ณ เดือน ส.ค. 54 เนื่องจากเล็งเห็นว่ามาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาภาระหนี้สาธารณะของรัฐบาลญี่ปุ่นนาโดยนายกรัฐมนตรี Yoshiniko Noda ไม่มีความคืบหน้า ส่วนหนึ่งเพราะรัฐบาลญี่ปุ่นใช้งบประมาณเพื่อฟื้นฟูประเทศจากเหตุการณ์สึนามิที่เกิดขึ้นในเดือน มี.ค. 54 ส่งผลให้ปัจจุบันญี่ปุ่นมีหนี้สาธารณะเป็นจำนวนเงินมากกว่า 13 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 237.58 ของ GDP
  • สศค.วิเคราะห์ว่า บทเรียนจากวิกฤตหนี้สาธารณะในสหภาพยุโรปที่ขณะนี้ยังคงยืดเยื้อและมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกนั้น ทำให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือหวั่นเกรงว่า หากรัฐบาลญี่ปุ่นยังไม่มีแนวทางการแก้ปัญหาหนี้สาธารณะที่เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ อาจทำให้ญี่ปุ่นเผชิญปัญหาเดียวกับประเทศในสหภาพยุโรป อีกทั้ง แนวทางการปรับลดภาระหนี้สาธารณะของรัฐบาลญี่ปุ่นจากเหตุการณ์สึนามิด้วยมาตรการภาษี อาทิ การปรับเพิ่มอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีกร้อยละ 2.1 เป็นต้น อาจยังไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจาก มาตรการดังกล่าวจาต้องใช้เวลาปรับสมดุลทางการคลังทั้งสิ้น 25 ปี ทั้งนี้ หากญี่ปุ่นถูกปรับลดความน่าเชื่อถือ จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคการเงินให้มีความอ่อนไหวมากขึ้นและอาจทาให้รัฐบาลญี่ปุ่นต้องปรับเพิ่มผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศซึ่งจะเป็นการเพิ่มภาระทางการคลังให้กับรัฐบาลมากขึ้นอีก

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ