ผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนตุลาคม 2554 และรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 7, 2011 08:48 —กระทรวงการคลัง

นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอสรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนตุลาคม 2554 พร้อมทั้งรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2554 ดังนี้

ผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ

1. การกู้เงินภาครัฐ

1.1 ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐบาล

การกู้เงินในประเทศของรัฐบาลในเดือนตุลาคม 2554

ในเดือนตุลาคม 2554 กระทรวงการคลังได้กู้เงินให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยกู้ต่อ จำนวน 533.62 ล้านบาท

1.2 ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจ

การกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจในเดือนตุลาคม 2554 ในเดือนตุลาคม 2554 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ ได้กู้เงินในประเทศเป็นจำนวน 853.66 ล้านบาท

2. การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ

2.1 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาล

การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาลในเดือนตุลาคม 2554

ในเดือนตุลาคม 2554 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ ดังนี้

2.1.1 การแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาลเพื่อรายย่อยพิเศษจำนวน 13.74 ล้านบาท

2.1.2 การกู้เงินล่วงหน้า (Prefunding) เพื่อชำระพันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูระยะที่สอง (FIDF 1) จำนวน 39,000 ล้านบาท ที่จะครบกำหนดในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2554

2.2 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ

การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจในเดือนตุลาคม 2554

ในเดือนตุลาคม 2554 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ ได้ปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศเป็นเงิน 2,430 ล้านบาท

3. การชำระหนี้ของรัฐบาล

ในเดือนตุลาคม 2554 กระทรวงการคลังได้ชำระหนี้เป็นเงิน จำนวน 129,903.48 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น

3.1 การชำระหนี้ของรัฐบาลจากเงินงบประมาณ

ในเดือนตุลาคม 2554 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้โดยใช้เงินงบประมาณ รวม 4,212.48 ล้านบาท ดังนี้

  • ชำระหนี้ในประเทศ 3,591.87 ล้านบาท โดยเป็นการชำระดอกเบี้ย 3,591.87 ล้านบาท
  • ชำระหนี้ต่างประเทศ 620.61 ล้านบาท โดยเป็นการชำระต้นเงิน 424.88 ล้านบาท และดอกเบี้ย 195.73 ล้านบาท

3.2 การชำระหนี้ของรัฐบาลจากเงินนอกงบประมาณ

ในเดือนตุลาคม 2554 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้โดยใช้เงินคงคลัง จำนวน 125,691 ล้านบาท เพื่อไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง

ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 กันยายน 2554 มีจำนวน 4,448,249.87 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 41.66 ของ GDP โดยเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 3,181,158.89 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,079,703.84 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 156,941.96 ล้านบาท และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 30,445.18 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 176,759.02 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เพิ่มขึ้น 167,838.73 ล้านบาท 7,602.77 ล้านบาท และ 1,317.52 ล้านบาท ตามลำดับ ในขณะที่หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนหน่วยงานอื่นของรัฐนั้น ไม่มีหนี้คงค้าง รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 6 โดยรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงของหนี้สาธารณะ มีดังนี้

1. หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง

1.1 หนี้ในประเทศ

หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นสุทธิ 166,173.49 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก

  • การออกตั๋วเงินคลัง 125,691 ล้านบาท
  • การออกพันธบัตรเพื่อการบริหารหนี้ 27,000 ล้านบาท

1.2 หนี้ต่างประเทศ

หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 1,665.24 ล้านบาท แต่หากคิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐจะลดลง 0.90 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก

  • ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นสุทธิ 1,669.21 ล้านบาท แต่หากคิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐจะลดลงสุทธิ 0.76 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • สกุลเงินเหรียญแคนาดาได้มีการชำระคืน 0.42 ล้านเหรียญแคนาดา หรือคิดเป็น เงินบาทเท่ากับ 12.70 ล้านบาท หรือคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐเท่ากับ 0.43 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • สกุลเงินเยนได้มีการชำระคืน 49.82 ล้านเยน หรือคิดเป็นเงินบาทเท่ากับ 20.28 ล้านบาท หรือคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐเท่ากับ 0.64 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • สกุลเงินเหรียญสหรัฐได้มีการเบิกจ่าย 0.93 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินบาทเท่ากับ 29.01 ล้านบาท

2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน

2.1 หนี้ในประเทศ

2.1.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 443.93 ล้านบาท โดยเกิดจาก

  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไถ่ถอนพันธบัตร 1,380 ล้านบาท และการประปาส่วนภูมิภาคออกพันธบัตร 1,000 ล้านบาท ตามลำดับ
  • รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลค้ำประกันมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่า ชำระคืนต้นเงินกู้ 63.93 ล้านบาท

2.1.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 2,847.50 ล้านบาท โดยเกิดจาก

  • การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้มีการออกพันธบัตร 1,600 ล้านบาท และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้มีการออกพันธบัตรและไถ่ถอนพันธบัตร 1,920 ล้านบาท และ 75 ล้านบาท ตามลำดับ
  • รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่า ชำระคืนต้นเงินกู้ 597.50 ล้านบาท

2.2 หนี้ต่างประเทศ

2.2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกันเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 4,104.93 ล้านบาท แต่หาก คิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐจะลดลง 72.21 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก

  • ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นสุทธิ 6,138.65 ล้านบาท แต่หากคิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐจะลดลงสุทธิ 6.95 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • สกุลเงินเยนได้มีการชำระคืน 4,979.40 ล้านเยน หรือคิดเป็นเงินบาทเท่ากับ 2,026.08 ล้านบาท หรือคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐเท่ากับ 65.01 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • สกุลเงินเหรียญสหรัฐได้มีการชำระคืน 0.25 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินบาทเท่ากับ 7.64 ล้านบาท

โดยรายละเอียดหนี้ต่างประเทศรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ในสกุลเงินต่างๆ

2.2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 1,094.27 ล้านบาท แต่หาก คิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐจะลดลง 119.29 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก

  • ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นสุทธิ 1,834.32 ล้านบาท แต่หากคิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐจะลดลงสุทธิ 95.54 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • สกุลเงินยูโรได้มีการชำระคืน 10.65 ล้านยูโร หรือคิดเป็นเงินบาทเท่ากับ 449.96 ล้านบาท หรือคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐเท่ากับ 14.44 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • สกุลเงินเยนได้มีการชำระคืน 712.93 ล้านเยน หรือคิดเป็นเงินบาทเท่ากับ 290.09 ล้านบาท หรือคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐเท่ากับ 9.31 ล้านเหรียญสหรัฐ

โดยรายละเอียดหนี้ต่างประเทศรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาล ไม่ค้ำประกัน) ในสกุลเงินต่างๆ

3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)

3.1 หนี้ในประเทศ

หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 1,410 ล้านบาท โดยเกิดจาก

  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ออกพันธบัตรและไถ่ถอนพันธบัตร 4,000 ล้านบาท และ 2,000 ล้านบาท ตามลำดับ
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้ชำระคืนต้นเงินกู้ 590 ล้านบาท

3.2 หนี้ต่างประเทศ

หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 92.48 ล้านบาท แต่หากคิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐจะลดลง 10.80 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก

  • ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นสุทธิ 156.86 ล้านบาท แต่หากคิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐจะลดลงสุทธิ 2.80 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • สกุลเงินเยนได้มีการชำระคืน 555.98 ล้านเยน หรือคิดเป็นเงินบาทเท่ากับ 226.22 ล้านบาท หรือคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐเท่ากับ 7.26 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • สกุลเงินเหรียญสหรัฐได้มีการชำระคืน 0.74 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินบาทเท่ากับ 23.12 ล้านบาท

โดยรายละเอียดหนี้ต่างประเทศรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ในสกุลเงินต่างๆ

4. หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ

หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง

หนี้สาธารณะ จำนวน 4,448,249.87 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 351,135.20 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.89 และหนี้ในประเทศ 4,097,114.67 ล้านบาท หรือร้อยละ 92.11 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และเป็น หนี้ระยะยาว 4,279,744.18 ล้านบาท หรือร้อยละ 96.21 และหนี้ระยะสั้น 168,505.69 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.79 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง

ส่วนวิจัยนโยบายหนี้สาธารณะ สำนักนโยบายและแผน

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5512

--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 148/2554 6 ธันวาคม 54--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ