รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 8 ธันวาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday December 8, 2011 11:46 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 8 ธันวาคม 2554

Summary:

1. ก.พาณิชย์มั่นใจเศรษฐกิจปีหน้าขยายตัวได้ 7% โดยมีปัจจัยหนุน

2. ท่องเที่ยวปีหน้า โต 4-6%

3. รัฐสภากรีซอนุมัติมาตรการรัดเข็มขัดปีงบประมาณ 2555

Highlight:
1. ก.พาณิชย์มั่นใจเศรษฐกิจปีหน้าขยายตัวได้ 7 % โดยมีปัจจัยหนุน
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจปี 2555 จะขยายตัวในระดับร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายของรัฐบาลที่เน้นใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ การกระจายรายได้ การเพิ่มราคาสินค้าเกษตร และนโยบายการเพิ่มค่าแรง ขณะที่ภาคส่งออก คาดว่าการส่งออกจะกลับมาฟื้นตัวได้ในไตรมาสแรกของปีหน้า นอกจากนี้ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในประเทศจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มกาลังซื้อภายในประเทศให้กลับมา ขณะเดียวกันคาดว่าอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัว และการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้ผันผวนจะเป็นแรงหนุนเพิ่มเติม
  • สศค.วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2555 สามารถขยายตัวได้เนื่องจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ โดยเฉพาะจากผลของนโยบายของรัฐบาลได้แก่ มาตรการรับจานาข้าวเปลือก และนโยบายค่าแรงขั้นต่า 300 บาท ซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรและแรงงานที่มีรายได้ต่า ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ ประกอบกับการลงทุนภายในประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนของภาครัฐ ในปีงบประมาณ 2555 วงเงิน 423,387 ล้านบาทเพื่อการลงทุน สาหรับภาคการส่งออกในปีหน้า จะได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่น แต่ยังได้รับความเสี่ยงจากปัญหาวิกฤตหนี้ยุโรปที่ยังไม่คลี่คลาย ทั้งนี้ สศค.คาดว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2555 จะขยายตัวอยู่ที่ ร้อยละ 5.0 (คาดการณ์ ณ ธ.ค. 54)
2. ท่องเที่ยวปีหน้า โต 4-6%
  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ บอกถึงการท่องเที่ยวของไทยในปี 55 น่าจะขยายตัวได้ประมาณ 4-5% เนื่องจากสถานการณ์วิกฤตหนี้ในยุโรป และสหรัฐอเมริกา เพราะปัจจุบันนักท่องเที่ยวของทั้ง 2 ทวีป มีสัดส่วนถึง 30-40% ของจานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาไทย ดังนั้นหากรายได้ของนักท่องเที่ยวทั้ง 2 ทวีปลดลง ก็จะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของไทย แต่นักท่องเที่ยวของไทยก็จะรับการชดเชยจาก จำนวนนักท่องเที่ยวที่เป็นชาวจีน รัสเซีย และอาเซียน ที่เริ่มมีสัดส่วนมากขึ้น
  • สศค. วิเคราะห์ว่า จากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวเป็นอย่างสูง เนื่องจากนักท่องเที่ยวไม่มั่นใจในสถานการณ์ดังกล่าว โดยในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเดินทางเพื่อมาท่องเที่ยวในไทย โดยเฉพาะภาคใต้บริเวณชายฝั่งทะเล ทั้งนี้ จากข้อมูลจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติล่าสุดที่เดินทางเข้าไทยในเดือน ต.ค. 54 มีจานวน 1.41 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 7.0 และเมื่อปรับผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) พบว่าหดตัวร้อยละ -13.8 ปัจจัยหลักมาจากปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ซึ่งส่งผลต่อจิตวิทยาของนักท่องเที่ยว อย่างไรก็ดีในช่วง 10 เดือนแรกปี 54 มีจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศทั้งสิ้นจานวน 15.80 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 25.0 โดยการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวในช่วง 10 เดือนแรกปี 54 มาจากจานวนนักท่องเที่ยวจากจีนมีสัดส่วนร้อยละ 7.0เป็นหลัก ขยายตัวสูงสุดร้อยละ 84.8 ในขณะที่ญีปุ่นมีสัดส่วนร้อยละ 6.2 ขยายตัวร้อยละ 36.0 ตามลำดับ ทั้งนี้ สศค. คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 54 จะลดลงประมาณ 2-3 แสนคน หรือประมาณ 1.93 ล้านคน หรือขยายตัวร้อยละ 21.2
3. รัฐสภากรีซอนุมัติมาตรการรัดเข็มขัดปีงบประมาณ 2555
  • รัฐสภากรีซมีมติ 258 ต่อ 1 เสียงผ่านร่างงบประมาณปี 2555 ที่มีการตั้งเป้าลดตัวเลขหนี้สาธารณะ ผ่านการขึ้นภาษี และลดค่าใช้จ่ายต่างๆตามข้อเรียกร้องขอสหภาพยุโรป เพื่อแลกกับเงินอัดฉีดช่วยเหลือเศรษฐกิจรอบใหม่ โดยก่อนหน้านี้ นายลูคัส ปาปาเดมอส อธิบายถึงร่างงบประมาณดังกล่าวว่า เป็นก้าวแรกในการแก้ไขความเสียหายในนโยบายงบประมาณ ที่สร้างหนี้สาธารณะให้แก่ชาวกรีซด้วยจานวนหนี้มากว่า 3 หมื่นยูโรต่อหัวประชากร
  • สศค.วิเคราะห์ว่า การลงมติอนุมัติมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจและการคลังที่มีเป้าหมายเพื่อลดยอดการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลกรีซ เป็นไปตามข้อตกลงที่กรีซทาร่วมกับ IMF และ EU เพื่อแลกกับความช่วยเหลือด้านเงินกู้ ซึ่งล่าสุด IMF ได้อนุมัติเงินกู้งวดที่ 6 มูลค่า 2.2 พันล้านยูโรให้แก่กรีซเมื่อวันที่ 6 ธ.ค.ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ในการบังคับใช้มาตรการรัดเข็มขัดดังกล่าว รัฐบาลกรีซอาจพบกับความยากลาบาก เนื่องจากบรรยากาศทางการเมืองที่ไม่เอื้ออานวย การปฏิรูปโครงสร้างที่ดำเนินไปอย่างล่าช้า ตลอดจนภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอ โดยอัตราการว่างงานปัจจุบันอยู่ในระดับที่สูงมากถึงร้อยละ 17.6 ซึ่งการให้เงินช่วยเหลือรอบใหม่ของ IMF เป็นพียงการบรรเทาปัญหาด้านสภาพคล่องเท่านั้นขณะที่ปัญหาพื้นฐานสำคัญยังไม่ได้รับการแก้ไขแม้รายงานด้านงบประมาณของกรีซจะระบุว่าเศรษฐกิจกรีซปี 54 มีแนวโน้มหดตัวลงร้อยละ 5.5 และในปี 55 หดตัวลงอีกร้อยละ 2.8 ยอดขาดดุลงบประมาณจะลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 5.4 จากเดิมกำหนดไว้ที่ร้อยละ 8.5 หากกรีซดาเนินตามข้อตกลงดังกล่าวก็ตาม

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ