รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 13 ธันวาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 13, 2011 11:12 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 13 ธันวาคม 2554

Summary:

1. ธปท.ชี้แบงก์ไม่ยอมลดดอกกู้ ห่วงสภาพคล่อง

2. สอท.เผยปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจไทยปี 55

3.เครื่องชี้การผลิตภาคอุตสาหกรรมของอินเดีย ต.ค.54 หดตัวรุนแรง

Highlight:
1. ธปท.ชี้แบงก์ไม่ยอมลดดอกกู้ห่วงสภาพคล่อง
  • ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า การที่ธนาคารพาณิชย์ยังไม่ลดดอกเบี้ย หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ลดดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 อาจเป็นเพราะธนาคารแต่ละแห่งต้องการเก็บสภาพคล่องไว้ เพราะคาดการณ์ว่าหลังจากที่เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤตน้ำท่วมหนัก จะทำให้ในตลาดมีความต้องการสินเชื่อจำนวนมาก ทั้งจากภาคประชาชนที่ต้องการสินเชื่อซ่อมแซมบ้าน เอกชนที่ฟื้นฟูธุรกิจ การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะต้องดาเนินการอย่างระมัดระวังและต้องใช้เวลา
  • สศค. วิเคราะห์ว่า กนง.เริ่มดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (Expansion Monetary Policy) โดยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 3.50 ลงเหลือร้อยละ 3.25 อีกครั้งในวันที่ 30 พ.ย.54 เนื่องจากเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัยครั้งร้ายแรงในประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ดีธนาคารพาณิชย์ยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และดอกเบี้ยเงินฝากตาม เนื่องจากต้องการความชัดเจน และความต่อเนื่องของการดำเนินนโยบาย ซึ่งอาจต้องใช้เวลาระยะหนึ่งส่วนประเด็นสภาพคล่องของระบบการเงิน ณ เดือน ก.ย. 54 ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 2.05 ล้านล้านบาท
2. สอท.เผยปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจไทยปี 55
  • รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยจุดเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยปี 55 อยู่ที่ความรวดเร็วในการฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม โดยปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองมีผลต่อเศรษฐกิจไทย หากเกิดความรุนแรงขึ้น ซึ่งนักธุรกิจคาดหวังว่าจะไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้นอีก เพราะถ้าเกิดความรุนแรงก็จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น โดยผลการสารวจของหอการค้าไทยพบว่า นักธุกิรกิจให้คะแนนปัญหาสถานการณ์ทางการเมืองสูงสุดที่ 4.3 คะแนน รองลงมาคือเป็นความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่ 4.21 คะแนน
  • สศค.วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจไทยปี 55 แม้ว่าจะมีปัจจัยเสี่ยงทางสถานการณ์ทางการเมืองที่จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นภาคธุรกิจและเรื่องการฟื้นฟูหลังน้ำท่วม อย่างไรก็ดี เชื่อว่าปัญหาการฟื้นฟูเรื่องน้าท่วมเป็นเพียงปัจจัยเสี่ยงระยะสั้นเท่านั้น สศค.คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2555 จะขยายตัวได้ดีต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.5 — 5.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ขยายตัวได้ดี จากมาตรการเพิ่มรายได้ และลดค่าครองชีพของประชาชน อาทิ โครงการรับจำนาข้าว นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และนโยบายขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ขณะที่ภาคการส่งออกคาดว่าจะเติบโตได้อย่างต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
3.เครื่องชี้การผลิตภาคอุตสาหกรรมของอินเดีย ต.ค.54 หดตัวรุนแรง
  • สำนักงานสถิติกลางของอินเดียเปิดเผยว่า การผลิตอุตสาหกรรมของอินเดีย เดือน ต.ค.54 ลดลงร้อยละ 5.1 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของประเทศกำลงชะลอตัวลงอย่างรุนแรง ขณะเดียวกันการผลิตสินค้าทุน อาทิ สายไฟฟ้าหุ้มฉนวนยาง และ เครื่องมือเอ็กซ์เรย์ ดิ่งลงอย่างหนักถึงร้อยละ 25.5 ซึ่งเป็นสัญญาณว่าการลงทุนกาลังอ่อนแอ โดยสินค้าพื้นฐานและสินค้าขั้นกลางหดตัวร้อยละ 0.1 และร้อยละ 4.7 ตามลำดับ
  • สศค. วิเคราะห์ว่า GDP ของอินเดียไตรมาส 3 ปี 54 ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 2 ปี ที่ร้อยละ 6.9 ต่อปี (ส่งผลให้ GDP 3 ไตรมาสแรกของปี 54 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 7.5 ชะลอลงจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.6) โดยมีปัจจัยสาคัญจากการบริโภคภาคเอกชนและภาคการส่งออกที่ชะลอลง ขณะเดียวกันอินเดียกลับต้องเผชิญปัจจัยเสี่ยงจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงถึงร้อยละ 9.7 ณ ต.ค. 54 ส่งผลให้ภาครัฐชะลอการใช้จ่ายด้านการคลัง พร้อมทั้งดำเนินมาตรการการเงินผ่านการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 8.5 ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ภาคการลงทุนด้านอุตสาหกรรมหดตัวลงดังกล่าว นอกเหนือจากปัจจัยความต้องการสินค้าอินเดียในตลาดโลกปรับตัวลดลงทั้งนี้ อินเดียพยายามปรับตัวโดยลงทุนในกิจการบริการเพิ่มขึ้น และลดสัดส่วนการลงทุนภาคอุตสาหกรรมลง

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ