รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 6 - 9 ธันวาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 13, 2011 11:46 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • อัตราการว่างงานเดือน ก.ย. 54 อยู่ที่ร้อยละ 0.8 ของกำลังแรงงานรวม
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน พ.ย. 54 อยู่ที่ระดับ 61.0
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.ย.54 อยู่ที่ร้อยละ 41.7 ของ GDP
  • GDP สหภาพยุโรป ไตรมาส 3 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหรือร้อยละ 0.2 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq_sa)
  • GDP ออสเตรเลีย ไตรมาส 3 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือเร่งขึ้นร้อยละ 1.0 (qoq_sa)
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของจีน เดือน พ.ย. 54 ขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 14 เดือนที่ร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับ 1.0
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (Non-Mfg PMI) สหรัฐฯ เดือน พ.ย. 54 อยู่ที่ระดับ 52.0
  • ธนาคารกลางเกาหลีใต้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ที่ร้อยละ 3.25
Indicators next week
 Indicators                         Forecast            Previous
Nov : TISI (Index)                    90.0                 89.0
  • โดยมีปัจจัยหลักจากปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ซึ่งแม้ว่าจะมีการลดระดับของน้ำท่วมขังลง แต่ยังคงส่งผลกระทบให้หลายๆ บริษัทในนิคมอุตสาหกรรมยังคงต้องหยุดการผลิต เนื่องจากเครื่องจักรและปัจจัยการผลิตอื่นๆ ได้รับความเสียหาย และต้องอาศัยระยะเวลาในการฟื้นฟู ประกอบกับความกังวลต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคหลัก ได้แก่ ยุโรป และสหรัฐ ที่ยังคงมีปัจจัย นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังคงมีความกังวล ต่อแนวทางการฟื้นฟูภาคอุตสาหกรรมภายหลังอุทกภัยคลี่คลาย
Economic Indicators: This Week
  • การจ้างงานเดือน ก.ย. 54 อยู่ที่ 38.9 ล้านคน ลดลง 2.2 แสนคน คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ 8.1 ล้านคนเพิ่มขึ้น 2.3 แสนคน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนภาคบริการมีการจ้างงานที่ 16.0 ล้านคน เพิ่มขึ้น 1.2 ล้านคน ในขณะที่การจ้างงานภาคเกษตรกรรมอยู่ที่ 14.8 ล้านคน ลดลง 1.6 ล้านคน ซึ่งเป็นผลมาจากการย้ายแรงงานจากภาคเกษตรไปยังภาคบริการ เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูการท่องเที่ยว โดยเฉพาะสาขาที่พักแรมและบริการอาหาร ที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปีและเดือนก่อนหน้า เป็นจำนวน 4.4 แสนคน และ 3.4 แสนคน ตามลำดับ ขณะที่อัตราการว่างงานเดือน ก.ย. 54 อยู่ที่ร้อยละ 0.8 ของกาลังแรงงานรวม โดยมีผู้ว่างงาน 3.0 แสนคน สูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่มีผู้ว่างงาน 2.7 แสนคนโดยแบ่งเป็นการว่างงานในภาคเกษตร อุตสาหกรรม บริการ และผู้ไม่เคยทางานมาก่อน จานวน 3.9 5.8 4.8 และ 15.1 หมื่นคน ตามลาดับ ส่งผลให้ไตรมาสที่ 3 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.6
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน พ.ย. 54 อยู่ที่ระดับ 61.0 จากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 62.8 และถือเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 122 เดือนนับตั้งแต่ ก.ย.44 โดยสาเหตุหลักมาจาก 1) ผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร และนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง ซึ่งสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจและทรัพย์สินของประชาชนและทางราชการ 2) ความกังวลต่อค่าครองชีพหลังจากราคาสินค้ายังทรงตัวในระดับสูง จากเหตุการณ์น้ำท่วม และ 3) แนวโน้มการชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจโลก จากปัญหาหนี้สาธารณะในสหภาพยุโรป
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.ย.54 มีจานวนทั้งสิ้น 4,448.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 176.8 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 41.7 ของ GDP ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะที่สำคัญเกิดจากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เพิ่มขึ้นสุทธิ 167.8 พันล้านบาท โดยเฉพาะหนี้ในประเทศที่รัฐบาลกู้ โดยมีการออกตั๋วเงินคลังจำนวน 125.7 พันล้านบาท เพื่อเป็นการบริหารหนี้ของรัฐบาลในช่วงเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ 54 และชดเชยการขาดดุลงบประมาณ นอกจากนี้ หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นสุทธิ 7.6 พันล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคงมาก สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว (ร้อยละ 96.2 ของยอดหนี้สาธารณะ) และเป็นสกุลเงินบาท (ร้อยละ 92.1 ของยอดหนี้สาธารณะ)
Economic Indicators: Next Week
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน พ.ย.54 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 90.0 ปรับตัวต่ำกว่า 100 อย่างต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 89.0 โดยมีปัจจัยหลักจากปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ซึ่งแม้ว่าจะมีการลดระดับของน้ำท่วมขังลง แต่ยังคงส่งผลกระทบให้หลายๆ บริษัทในนิคมอุตสาหกรรมยังคงต้องหยุดการผลิต เนื่องจากเครื่องจักรและปัจจัยการผลิตอื่นๆ ได้รับความเสียหาย และต้องอาศัยระยะเวลาในการฟื้นฟู ประกอบกับความกังวลต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคหลัก ได้แก่ ยุโรป และสหรัฐ ที่ยังคงมีปัจจัยเสี่ยง นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังคงมีความกังวลต่อแนวทางการฟื้นฟูภาคอุตสาหกรรมภายหลังอุทกภัยคลี่คลาย

Global Economic Indicators: This Week

Eurozone: mixed signal
  • Eurozone GDP ไตรมาส 3 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหรือร้อยละ 0.2 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq_sa) จากการบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกเป็นสำคัญ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ภาคบริการ เดือน พ.ย. 54 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 47.0 แต่ยังคงบ่งชี้การหดตัวของภาคกบริการ ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) จากการเพิ่มขึ้นของยอดขายสินค้าที่ไม่ใช่อาหารเป็นสำคัญ ขณะที่เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหดตัวที่ร้อยละ -0.3 ECB ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับ 1.0 ซึ่งเป็นการปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และประกาศเพิ่มระยะเวลาเงินกู้ให้แก่ธนาคารพาณิชย์จาก 13 เดือนเป็น 36 เดือน โดยจะเริ่มในวันที่ 21 ธ.ค. 54 อิตาลีแถลงแผนปรับลดการขาดดุลการคลังลง 3 หมื่นล้านยูโรภายในระยะเวลา 3 ปี โดยการลดงบประมาณรายจ่าย ขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มและวางแผนจะทำงบประมาณสมดุลในปี 2556
China: mixed signal
  • China อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน พ.ย. 54 ขยายตัวต่าที่สุดในรอบ 14 เดือนที่ร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยดัชนีราคาหมวดอาหารขยายตัวชะลอลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 มาอยุ่ที่ร้อยละ 8.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ธนาคารกลางจีนลดสัดส่วนกันสารองของธนาคารพาณิชย์ลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี มีผลวันที่ 5 ธ.ค. ที่ผ่านมา
USA: mixed signal
  • USA ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (Non-Mfg PMI) เดือน พ.ย. 54 อยู่ในระดับต่าที่สุดในรอบ 22 เดือนที่ระดับ 52.0 แต่ยังคงสะท้อนการขยายตัวในภาคบริการ ซึ่งมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 80 ของ GDP อัตราการว่างงานเดือน พ.ย. 54 อยู่ระดับต่าที่สุดนับจากวิกฤตเศรษฐกิจที่ร้อยละ 8.6 ของกาลังแรงงานรวม บ่งชี้สัญญาณที่ดีขึ้นเล็กน้อยในภาคจ้างงาน
Australia: mixed signal
  • GDP ไตรมาส 3 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือเร่งขึ้นร้อยละ 1.0 (qoq_sa) จากการเร่งขึ้นของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันที่ 6 ธ.ค. 54 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.25 จากความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มขึ้น
Indonesia: mixed signal
  • อัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน ธ.ค. 54 คงตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 6.0 จากสถานการณ์เงินเฟ้อเริ่มผ่อนคลาย และกระตุ้นเศรษฐกิจจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
Malaysia: mixed signal
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากสินค้าที่ผลิตจากโรงงานและสินค้าอิเล็กโทรนิกส์ขยายตัวร้อยละ 6.2 และ 1.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ
Philippines: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน พ.ย. 54 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 11 เดือนมาอยู่ที่ร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวของปีก่อน
Singapore: worsening economic trend
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อเดือน พ.ย. 54 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 มาอยู่ที่ระดับ 48.7 เนื่องจากการส่งออกที่หดตัว สะท้อนจากดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกใหม่ ยังคงหดตัวเป็นเดือนที่ 6 อยู่ที่ระดับ 47.3
South Korea: mixed signal
  • ธนาคารกลางเกาหลีใต้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ที่ร้อยละ 3.25 จากความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก
Hong Kong: worsening economic trend
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 54 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 48.7 สะท้อนการหดตัวของภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 โดนเฉพาะจากคำสั่งซื้อใหม่จากจีน และการจ้างงานที่ปรับตัวลดลง
Taiwan: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออกเดือน พ.ย. 54 ขยายตัวชะลอลงต่าสุดในรอบ 2 ปีที่ร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกไปยังจีน สหรัฐฯ และ สหภาพยุโรปที่หดตัวลง ขณะที่มูลค่าการนาเข้า เดือน พ.ย. 54 หดตัวร้อยละ -10.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากปัจจัยฐานสูง อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 54 ลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามการชะลอลงของเศรษฐกิจโลก ผนวกกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เริ่มปรับตัวอย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า ต่อเนื่องจากการที่นักลงทุนคลายความกังวลเรื่องวิกฤติเศรษฐกิจในยุโรปหลังจาก IMF ให้เงินกู้งวดที่ 6 แก่กรีซวงเงิน 2.2 พันล้านยูโร ประกอบกับเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ออกมาดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะอัตราว่างงานที่ลดลงมากจากเดือนก่อนหน้า ทำให้นักลงทุนต่างชาติมี risk appetite และเริ่มกลับเข้ามาซื้อหลักทรัพย์ในภูมิภาคอีกครั้ง ทำให้ดัชนีฯ ปิดที่ระดับสูงเกิน 1,040 จุด โดยปิดที่ ระดับ 1,043 จุดในวันที่ 8 ธ.ค. 54 ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 6 - 8 ธ.ค. 54 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 6,280 ล้านบาท ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับตัวลดลงเล็กน้อยต่อเนื่อง จากการเข้าซื้อของนักลงทุนโดยเฉพาะในพันธบัตรระยะสั้นอายุ 2-6 เดือน และพันธบัตรระยะยาวอายุ 3-10 ปี ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 6 - 8 ธ.ค. 54 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 3,479 ล้านบาท
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ ก่อนหน้าเล็กน้อย โดยปิดที่ระดับ 30.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 8 ธ.ค. 54 แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ร้อยละ 0.42 จากการคลายความกังวลในสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นยูโรและริงกิตมาเลเซีย ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.42 จากการที่ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินของประเทศคู่ค้าอื่นๆ
  • ราคาทองคำสัปดาห์นี้มีความผันผวนสูง โดยราคาทองคำขึ้นไปแตะระดับ 1,754 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ในวันที่ 8 ธ.ค. 54 ก่อนจะปิดที่ 1,708 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ต่ำจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,721 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ