รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 15 ธันวาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday December 15, 2011 11:31 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 15 ธันวาคม 2554

Summary:

1. เอกชนจี้รัฐบาล เร่งฟื้นความเชื่อมั่นขีดเส้น 2 เดือน คลอดแผนป้องน้ำท่วม

2. ชี้แนวโน้มหุ้นไทยเนื้อหอมอานิสงส์ยูโรซบ ดึงเงินทุนไหลเข้า

3. นักเศรษฐศาสตร์กังวลปัญหาหนี้ยุโรปจะลุกลามถึงธนาคารสหรัฐ

Highlight:
1. เอกชนจีรั้ฐบาลเร่งฟื้นความเชื่อมั่นขีดเส้น 2 เดือน คลอดแผนป้องน้ำท่วม
  • เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์ เผยผลสารวจผลกระทบน้ำท่วม จากบริษัทจดจะเบียน (บ.จ.) 198 แห่งพบว่า บจ.ร้อยละ 85 ต้องการให้รัฐผลักดันโครงการป้องกันปัญหาน้ำท่วมรุนแรงในอนาคตและลดภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกำหนด คือปี 2556 เหลือ ร้อยละ 20 และต้องผลักดันให้มีการรับประกันภัยที่ครอบคลุมน้ำท่วมต่อไป โดยที่เบี้ยประกันไม่เพิ่มขึ้นมากและให้เงินค่าสินไหมทดแทนไม่ต้องจ่ายภาษีนอกจากนี้ยังเสนอให้เลื่อนการขึ้นค่าแรง 300 บาท และเลื่อนการขึ้นเงินเดือนปริญญาตรี 1.5 หมื่นบาท
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลได้เน้นการแก้ไขปัญหาและป้องกันอุทกภัยได้มีการแต่งตั้ง 1) คณะกรรมการยุทธศาสตร์ เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ: กยอ. (Strategic Committee for Reconstruction and Future Development: SCRF) ทั้งนี้ ภาระกิจสาคัญแรกคือการสร้างความเชื่อมั่นกับกับบริษัทประกันภัยญี่ปุ่น โดยผลการประชุมพบว่า ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทประกันภัยญี่ปุ่นมองว่าวิกฤติที่เกิดขึ้นจากอุทกภัยในครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีของธุรกิจประกันภัยในการขยายตัว เพราะผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์จะมีความตระหนักถึงภัยที่เกิดจากน้ำท่วมมากขึ้น และ 2) คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีนโยบายปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลงเหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และเหลือร้อยละ 20 ในปี 2556 จากเดิมร้อยละ 30 ตามคณะรัฐมนตรมีมติเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 54
2. ชี้แนวโน้มหุ้นไทยเนื้อหอม อานิสงส์ยูโรซบ ดึงเงินทุนไหลเข้า
  • สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่าแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในปี 2555 จะยังได้รับความสนใจจากนักลงทุน เนื่องจากคาดการณ์ราคาปิดต่อกำไรต่อหุ้นยังต่ำเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นต่างประเทศ และมีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูง ประกอบกับตลาดหุ้นยุโรปยังไม่ฟื้นจึงคาดว่ากระแสเงินทุนจากต่างประเทศจะกลับเข้าไทย
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การฟื้นตัวที่เปราะบางของเศรษฐกิจโลกและปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศยุโรปได้สร้างความกังวลต่อความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนในตลาดทุนเป็นอย่างสูงทำให้บรรดานักลงทุนในตลาดทุนส่วนใหญ่หันมาหาแหล่งตลาดทุนในภูมิภาคเอเชียมากขึ้นซึ่งประเทศไทยมีนักลงทุนต่างชาติที่มีสัดส่วนการลงทุนถึงร้อยละ 25.0 ของมูลค่าการซื้อ-ขายรวมในตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมด ทั้งนี้ จากข้อมูลการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติในช่วงต้นเดือนธ.ค. 54 มีการซื้อสุทธิแล้วกว่า 9.3 พันล้านบาท จากในช่วง 11 เดือนของปี 54 ที่ขายสุทธิ 1.7หมื่นล้านบาท และในส่วนของอัตราผลตอบแทนของตลาดทุนไทยอยู่ที่ร้อยละ 3.68 สูงกว่าตลาดหุ้นเกาหลีและจีนที่อยู่ในอัตราร้อยละ 1.55 และ 2.10 ตามลำดับ และค่า P/E ratio ของไทยที่ระดับ 11.73 เท่า สะท้อนตลาดทุนไทยยังเป็นที่น่าลงทุนในมุมมองของนักลงทุนต่างชาติ
3. นักเศรษฐศาสตร์กังวลปัญหาหนี้ยุโรปจะลุกลามถึงธนาคารสหรัฐ
  • หนังสือพิมพ์ออนไลน์ฮัฟฟิงตันโพสต์รายงานว่า ความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกรุนแรงมากขึ้นจากการที่ตลาดแสดงออกถึงการลงมติไม่ไว้วางใจบรรดาผู้นำยุโรป ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์หลายรายแสดงความกังวลว่าปัญหาของยุโรปจะลุกลามมาถึงธนาคารของสหรัฐฯ โดยระบุว่าภาวะชะงักชันใดๆ ต่อระบบที่ตามมาอาจก่อให้เกิดวิกฤตสินเชื่อขึ้นแม้ธนาคารของสหรัฐส่วนใหญ่ระบุว่าได้จากัดการเผชิญความเสี่ยงจากปัญหาของยุโรปไว้แล้วก็ตาม
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจยูโรโซนไตรมาสที่ 3/54 ยังคงขยายตัวที่ร้อยละ 0.2 (q/q) แต่เมื่อพิจารณารายประเทศพบว่าเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆในเขตยูโรโซนที่นอกเหนือจากเยอรมนีและฝรั่งเศส กลับหดตัวลงหรือไม่มีการขยายตัว เช่นเดียวกันกับเศรษฐกิจของประเทศที่อยู่ขอบยูโรโซนที่กาลังประสบปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะ ซึ่งสะท้อนถึงการลุกลามของวิกฤติหนี้สาธารณะจากประเทศรอยขอบที่สิ่งผลกระทบทางลบต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆในเขตยูโรโซน แม้ที่ผ่านมาที่ประชุมผู้นายูโรได้สรุปมาตรการแก้ไข 3 ด้าน ได้แก่ (1) การเพิ่มวงเงินตัดหนี้สูญของกรีซเป็นร้อยละ 50 (2) ให้ธนาคารเพิ่มทุนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 9 ของ Tier1 Capittal (3) เพิ่มขนาดกลองทุน EFSF แต่มาตรการดังกล่าวยังขาดความชัดเจนในหลายประเด็น แม้จะช่วยรองรับปัญหาการขาดสภาพคล่อง แต่ปัญหาพื้นฐานสำคัญยังไม่ได้รับการแก้ไข ขณะที่ผู้กาหนดนโยบายในยุโรปยังคงมีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับการจัดการปัญหาต่างๆ ซึ่งสถานการณ์ในยุโรปยังคงมีแนวโน้มที่เสื่อมถอยลง โดยเมื่อเร็วๆนี้ S&P ได้ปรับลดมุมมองต่ออันดับความเน่าเชื่อถือของ 15 ประเทศในกลุ่มยูโรโซนเป็ นเชิงลบ ทั้งนี้ หากสถานการณ์ดังกล่าวยังคงยืดเยื้อจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศหลักในยูโรโซนเป็นวงกว้างซึ่งอาจส่งผลเชิงลบต่อไทยผ่านช่องทางการค้ากับยุโรป และความผันผวนทางการเงินโลกที่จะรุนแรงขึ้นในอนาคต

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ