รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 13 - 16 ธันวาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday December 19, 2011 09:33 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนพ.ย. 54 หดตัวร้อยละ -17.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน พ.ย. 54 หดตัวที่ร้อยละ -11.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ย. 54 อยู่ที่ระดับ 87.5 ปรับลดลงเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน
  • สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ต.ค. 54 อยู่ที่ระดับ 2.04 ล้านล้านบาท
  • Moody's ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารพาณิชย์ฝรั่งเศส 3 แห่งลงแห่งละ 1 ระดับโดย BNP Paribas และ Credit Agicole ถูกปรับลดมาอยู่ที่ Aa3 และ Societe General ถูกปรับลดมาอยู่ที่ A1
  • ธนาคารกลางสหรัฐฯ เปิดเผยบันทึกการประชุม ณ เดือนพ.ย. 54 ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงสามารถขยายตัวได้ในระดับปานกลาง ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัว
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของญี่ปุ่น ในเดือน พ.ย. 54 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน มาอยู่ที่ระดับ 38.1
  • ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ ในเดือนพ.ย. 54 ขยายตัวชะลอลงเป็นเดือนที่ 3 ร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อน (MoM_SA)
Indicators next week
 Indicators                         Forecast            Previous
Nov : Passenger car sale (% YoY)      -45.0               -38.8
  • เนื่องจากยังได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะจังหวัดอยุธยาที่มีอุตสาหกรรมหลัก คือยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ ทาให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไม่สามารถผลิตได้ตามปกติ และไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ได้ตามกาหนด ทั้งนี้ คาดว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อยอดขายรถยนต์นั่งในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 54 จะหดตัวลงเป็นประวัติการณ์ เมื่อเทียบกับช่วงต้นปีที่ขยายตัวในอัตราเร่งอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ช่วง 10 เดือนแรกปี 54 ยอดขายรถยนต์นั่งขยายตัวที่ร้อยละ 18.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
Economic Indicators: This Week
  • นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าไทยในเดือน พ.ย. 54 มีจานวน 1.21 ล้านคน หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -17.9 เป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 18 เดือน หลังจากเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในเดือนพ.ค. 53 ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ทำให้ประเทศจำนวน 42 ประเทศ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 60 ของทั้งหมด ประกาศเตือนนักท่องเที่ยวในการเดินทางเข้าไทย และส่งผลต่อจิตวิทยาของการเดินทางของนักท่องเที่ยวลดลง ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนแรกปี 54 มีจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศทั้งสิ้น 17.1 ล้านคน หรือขยายตัวร้อยละ 21.2 และคาดว่าทั้งปี 54 จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 19.1 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 20.1 สะท้อนภาคการท่องเที่ยวต่างประเทศมีบทบาทสำคัญในการช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย
  • ปริมาณการจาหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน พ.ย. 54 หดตัวที่ร้อยละ -11.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -4.3 โดยเป็นการหดตัวมากขึ้นของยอดขายรถจักรยานยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร และในส่วนของภูมิภาค ที่หดตัวร้อยละ -40.8 และ -3.6 จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -23.7 และขยายตัว 0.4 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นมาจากปัญหาน้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาคกลางและเขตกรุงเทพมหานคร ส่งผลให้ยอดขายรถจักรยานยนต์ปรับตัวลดลง ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนแรกปี 54 ยอดขายรถจักรยานยนต์ขยายตัวร้อยละ 10.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ย. 54 อยู่ที่ระดับ 87.5 ปรับลดลงเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน จากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 89.0 ซึ่งเป็นการปรับลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 29 เดือน ทั้งนี้ ดัชนีที่ปรับลดลงเกิดจากยอดคำสั่งโดยรวม ยอดขายโดยรวม และต้นทุนประกอบการ เนื่องจากวิกฤตอุทกภัยที่ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญๆ ได้แก่ ยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ที่การผลิตต้องหยุดชะงักลง ประกอบกับเส้นทางคมนาคมที่ถูกน้ำท่วมเป็นอุปสรรคต่อการขนส่งสินค้าซึ่งดัชนีฯ ดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 ติดต่อกันเป็นเดือนที่สาม สะท้อนความเชื่อมั่นต่อการประกอบการยังอยู่ในระดับต่ำ
  • สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ต.ค. 54 อยู่ที่ ระดับ 2.04 ล้านล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ระดับ 2.05 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่า ทั้งสินเชื่อ เงินฝากและตั๋วแลกเงินปรับตัวดีขึ้น โดยยอดคงค้างเงินฝากขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 3.0 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ประกอบกับเงินกู้ยืมปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 2.4 หมื่นล้านบาทจากเดือนก่อน ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อปรับเพิ่มขึ้นสูงกว่าคาดการณ์ในช่วงน้ำท่วมที่ร้อยละ 1.6 จากเดือนก่อน สะท้อนความต้องการสินเชื่อที่ยังคงมีอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ คาดว่าในช่วงที่เหลือของปี 54 หลังจากสถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลายลง ความต้องการสินเชื่อน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ในส่วนของเงินฝาก ธนาคารพาณิชย์น่าจะแข่งขันระดมเงินฝากเพื่อรองรับความต้องการสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว
Economic Indicators: Next Week
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน พ.ย.54 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ -45.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -38.8 เนื่องจากยังได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะจังหวัดอยุธยาที่มีอุตสาหกรรมหลัก คือยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ ทำให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไม่สามารถผลิตได้ตามปกติ และไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ได้ตามกำหนด ทั้งนี้ คาดว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อยอดขายรถยนต์นั่งในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 54 จะหดตัวลงเป็นประวัติการณ์ เมื่อเทียบกับช่วงต้นปีที่ขยายตัวในอัตราเร่งอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ช่วง 10 เดือนแรกปี 54 ยอดขายรถยนต์นั่งขยายตัวที่ร้อยละ 18.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

Global Economic Indicators: This Week

Eurozone: mixed signal
  • ที่ประชุมผู้นำชาติยุโรป (EU Summit) ไม่ได้ข้อตกลงการปรับปรุงสนธิสัญญาก่อตั้งยุโรป (EU Treaty) เพื่อให้มีเงื่อนไขด้านการคลังที่เข้มงวดขึ้น เนื่องจากการออกเสียงไม่เห็นด้วยของสหราชอาณาจักร Moody's ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารพาณิชย์ฝรั่งเศส 3 แห่งลงแห่งละ 1 ระดับโดย BNP Paribas และ Credit Agicole ถูกปรับลดมาอยู่ที่ Aa3 และ Societe General ถูกปรับลดมาอยู่ที่ A1 ผลผลิคภาคอุตสาหกรรมเดือน ต.ค.54 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ -0.1 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) หรือขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากผลผลิตสินค้าขั้นกลางและเชื้อเพลิงที่หดตัวร้อยละ -0.8 และร้อยละ -0.9 จากเดือนก่อนหน้า ตามลำดับ
USA: mixed signal
  • มูลค่าส่งออกเดือน ต.ค. 54 หดตัวร้อยละ -0.8 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) จากการหดตัวของมูลค่าส่งออกทองคำไปยังฮ่องกงที่หดตัว แต่ยังคงขยายตัวร้อยละ 12.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้าขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 12.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากมูลค่านำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลงทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลต่าที่สุดในรอบ 10 เดือนที่ 43.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ยอดค้าปลีกเดือน พ.ย. 54 ขยายตัวชะลอลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้าหรือร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยยอดขายเครื่องใช้ไฟฟ้าและเสื้อผ้าขยายตัวร้อยละ 2.1 และร้อยละ 1.5 ขณะที่ยอดอาหารและร้านอาหาร (1 ใน 4 ของยอดขายทั้งหมด) หดตัวร้อยละ -0.2 และร้อยละ -0.3 จากเดือนก่อนหน้า ตามลำดับ ธนาคารกลางสหรัฐฯ เปิดเผยบันทึกการประชุม ณ เดือนพ.ย. 54 ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงสามารถขยายตัวได้ในระดับปานกลาง ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัว และเลื่อนการตัดสินใจนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (QE3) ไปจนถึงการประชุมในปี 55
Japan: worsening economic trend
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน พ.ย. 54 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน มาอยู่ที่ระดับ 38.1 สะท้อนมุมมองที่แย่ลงของผู้บริโภคต่อสภาพความเป็นอยู่ รายได้ และการจ้างงาน สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้ผลิตรายใหญ่ภาคอุตสาหกรรม (Tankan Large Manufacturer Index) ประจำไตรมาสที่ 4 ปี 54 ที่ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ -4
Malaysia: mixed signal
  • Malaysia มูลค่าการส่งออกและนำเข้า เดือน ต.ค. 54 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ 15.8 และ 4.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ตามลำดับ เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกทำให้ส่งออกชะลอลงในทุกหมวดสินค้าและทุกตลาดการส่งออก
Philippines
  • มูลค่าการส่งออก เดือน ต.ค. 54 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 อยู่ที่ร้อยละ -14.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการหดตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.5 ของมูลค่าการส่งออกรวม ที่ร้อยละ 36.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
Singapore: mixed signal
  • ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อนหน้า เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.2 จากยอดขายรถยนต์ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 25 ของยอดค้าปลีกทึ้งหมดขยายตัวร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ขณะที่อัตราการว่างงาน ไตรมาส 3 ปี 54 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 ของกาลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.1 จากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในระดับที่ต่ำกว่าเดือนก่อนหน้าที่ 31,900 คน
India: worsening economic trend
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 54 หดตัวร้อยละ -5.1 จากช่วง เดียวกันปีก่อน จากการหดตัวของการผลิตสินค้าแทบทุกหมวด โดยเฉพาะในหมวดสินค้าทุน ซึ่งหดตัวมากขึ้นถึงร้อยละ -21.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า สะท้อนภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลงชัดเจน โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการการที่ธนาคารกลางของอินเดียใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวต่อเนื่อง ขณะที่ธนาคารกลางอื่นๆในภูมิภาคทยอยปรับนโยบายการเงินให้มีความผ่อนคลายมากขึ้น ตามความเสี่ยงจากการชะลอลงของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ เนื่องจากแรงกดดันจากเงินเฟ้อในอินเดียยังอยู่ในระดับสูง โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือน พ.ย. 54 ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 9.1 จากกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคาอาหารที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
South Korea: mixed signal
  • อัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. 54 ทรงตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.1 ของกาลังแรงงานรวม โดยในช่วงดังกล่าวมีการจ้างงานสูงขึ้น 479,000 คน สะท้อนอุปสงค์ในประเทศที่ยังปรับตัวดีขึ้น ท่ามกลางการชะลอลงของเศรษฐกิจโลก
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าจากความกังวลเรื่องวิกฤติเศรษฐกิจในยุโรป จากการที่การประชุมผู้นำชาติยุโรป (EU Summit) เมื่อปลายอาทิตย์ก่อนหน้ามิได้มีข้อสรุปที่ชัดเจนในการแก้ไขปรับปรุงสนธิสัญญายุโรปเพื่อให้มีเงื่อนไขด้านการคลังที่เข้มงวดยิ่งขึ้น ทำให้นักลงทุนกังวลว่าเศรษฐกิจยุโรปอาจเกิดวิกฤติหนี้สาธารณะได้อีกในอนาคต ส่งผลให้นักลงทุนเทขายหลักทรัพย์แล้วเข้าซื้อสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยแทน ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 13 - 15 ธ.ค. 54 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -4,354 ล้านบาท ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยมีปริมาณซื้อขายจากนักลงทุนต่างชาติค่อนข้างเบาบางจากความกังวลเรื่องปัญหาเศรษฐกิจในยุโรป ทั้งนี้ 13 - 15 ธ.ค. 54 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -254 ล้านบาท
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยปิดที่ระดับ 31.42 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 15 ธ.ค. 54 อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ร้อยละ -1.63 จากความกังวลในสถานการณ์เศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะเศรษฐกิจยุโรป ส่งผลให้ค่าเงินยูโรเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงมาก ซึ่งการอ่อนค่าของเงินบาทนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลหลักในภูมิภาค โดยเฉพาะค่าเงินริงกิตมาเลเซีย เงินวอนเกาหลีใต้ และค่าเงินสิงคโปร์ดอลลาร์ ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ -1.25 จากการที่ค่าเงินคู่ค้าต่อดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงในอัตราที่ช้ากว่าค่าเงินบาทไทย
  • ราคาทองคำปรับตัวลดลงมากต่อเนื่องตลอดสัปดาห์ โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 15 ธ.ค. 54 ปิดที่ 1,570 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ลดลงมากจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,665 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ