รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 19 ธันวาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday December 19, 2011 10:41 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 19 ธันวาคม 2554

Summary:

1. ผู้ว่าธปท. เผยปี 55 ทิศทางดอกเบี้ยยังเป็นขาขึ้น, สินเชื่อขยายตัวไม่สูงเท่าปีนี้

2. แท็กซี่ร้องคมนาคมขอขึ้นค่าโดยสารเริ่ม 50 บาท

3. มูดีส์หั่นอันดับเครดิตเบลเยียม 2 ขั้นเหลือ AA3

Highlight:
1. ผู้ว่าธปท. เผยปี 55 ทิศทางดอกเบี้ยยังเป็นขาขึ้น, สินเชื่อขยายตัวไม่สูงเท่าปีนี้
  • ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวในงาน Thailand Smart Money ครั้งที่ 2 ว่าทิศทางดอกเบี้ยในปี 55 จะเป็นดอกเบี้ยขาขึ้น แต่จะเป็นการขึ้นมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและสถานการณ์ของภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งปีหน้าเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจยุโรป ยังสร้างแรงกดดันต่อเศรษฐกิจไทย สาหรับสภาพคล่องในระบบขณะนี้ยังอยู่ในระดับสูง แม้ช่วงที่ผ่านมาจะมีปัญหาวิกฤติน้าท่วม แต่สถาบันการเงินได้มีการเตรียมสภาพคล่องไว้พร้อมเพื่อการเบิกจ่าย โดย ธปท.ยังทาหน้าที่ดูดซับสภาพคล่องออกจากระบบ ซึ่งปัจจุบันมีสภาพคล่องในมือกว่า 4.7 ล้านล้านบาท
  • สศค. วิเคราะห์ว่า แนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 55 ขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งภายในและภายนอก ได้แก่ 1. การฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจไทยภายหลังน้าลดจะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วหรือไม่ 2. แรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะราคาน้ามันเชื้อเพลิงในตลาดโลกที่ยังผันผวน 3. การแก้ปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปและสหรัฐฯ ที่ยังไม่มีความชัดเจน 4. การชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจจีน และ 5. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะสามารถกลับมาขยายตัวได้อีกครั้งในปีหน้าหรือไม่ ทั้งนี้ สศค. คาดว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 2555 จะเคลื่อนไหวในช่วงร้อยละ 2.75-3.75 โดยมีค่าเฉลี่ยที่ร้อยละ 3.25 (คาดการณ์ ณ เดือน พ.ย. 54) อย่างไรก็ตาม สศค. จะปรับประมาณการเศรษฐกิจอีกครั้งในเดือน ธ.ค. 54
2. แท็กซี่ร้องคมนาคมขอขึ้นค่าโดยสารเริ่ม 50 บาท
  • รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงกรณีที่รถแท็กซี่ขอปรับขึ้นค่าโดยสารเริ่มต้นเป็น 50 บาท จาก 35 บาท ว่าให้ยื่นเรื่องเสนอมา หลังจากนั้นก็จะมีการพิจารณาตามเหตุผลว่าจะให้ปรับขึ้นหรือไม่ โดยในเรื่องนี้กรมการขนส่งทางบก จะเป็นผู้รับผิดชอบพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กาหนด ซึ่งหากจำเป็นต้องมีการปรับขึ้นจริง ประชาชนก็มีทางเลือกอื่นในการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะได้ ขณะที่ ที่ปรึกษารมว.คมนาคม กล่าวว่า รถแท็กซี่ที่มีรายได้น้อย ไม่ได้มีปัญหาจากการปรับขึ้นค่าก๊าซเอ็นจีวี และแอลพีจี แต่เกิดจากรถแท็กซี่ให้บริการมีจำนวนมากถึง 70,000 คัน จากที่ควรมีประมาณ 35,000 คัน ทั้งนี้ แนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว จะต้องควบคุมนิติบุคคล สหกรณ์แท็กซี่ ที่ออกรถมาให้บริการเป็นจานวนมากจนเกินไป
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ในวันที่ 16 ม.ค. 55 จะมีการทยอยปรับราคา LPG ภาคขนส่ง และ NGV โดยจะทยอยปรับขึ้นทุกเดือนในอัตรากิโลกรัมละ 75 สตางค์ และ 50 สตางค์ ตามลำดับ ซึ่งการปรับราคาดังกล่าวจะมีผลทาให้ต้นทุนด้านการขนส่งปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลต่อแรงกดดันเงินเฟ้อในปี 55 ผ่านหมวดยานพาหนะและเชื้อเพลิง รวมถึงหมวดค่าโดยสารสาธารณะซึ่งมีสัดส่วนในตะกร้าสินค้าร้อยละ13.6 และ 5.2 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวอาจได้รับการบรรเทาจากนโยบายบัตรเครดิตพลังงานที่จะสามารถลดต้นทุนบางส่วนด้านเชื้อเพลิงในกลุ่มคนขับรถแท็กซี่ รถสามล้อ และรถตู้โดยสาร ได้ในระดับหนึ่ง โดยบัตรเครดิตพลังงานจะให้วงเงินเครดิต 3,000 บาทต่อเดือน สำหรับชาระค่าก๊าซแทนเงินสด และสิทธิส่วนลดจานวน 0.50 ถึง 2 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งวงเงินส่วนลดสามารถลดได้ไม่เกินมูลค่ายอดการซื้อก๊าซ 9,000 บาทต่อเดือน
3. มูดีส์หั่นอันดับเครดิตเบลเยียม 2 ขั้นเหลือ AA3
  • มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศและในประเทศของเบลเยียมลงสองขั้นสู่ระดับ AA3 จากระดับ AA1 แนวโน้มเครดิตเป็นลบ เนื่องจากต้นทุนการกู้ยืมที่ปรับตัวสูงขึ้น เศรษฐกิจขยายตัวช้า และภาระหนี้สินของเบลเยียม สะท้อนถึงผลลบที่อาจเกิดขึ้นกับความพยายามของรัฐบาลเบลเยียมในการปรับภาวะการคลังให้เข้าสู่สมดุล อันเนื่องมาจากภาวะการระดมทุนที่ยังคงย่ำแย่สาหรับประเทศต่างๆในยูโรโซน นอกจากนี้ ในวันเดียวกัน ฟิทช์ เรสติ้งส์ บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถืออีกแห่งหนึ่งของสหรัฐได้ประกาศทบทวนอันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ AA+ ของเบลเยียม ขณะที่ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ได้ปรับลดอันดับเครดิตของเบลเยียมสู่ระดับ AA มาก่อนหน้านี้แล้วเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การที่มูดีส์ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรระยะยาวในประเทศเบลเยี่ยมอาจส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินในยูโรโซนและตลาดการเงินทั่วโลก โดยจะทำให้เงินทุนเคลื่อนย้ายและอัตราแลกเปลี่ยนเกิดความผันผวน โดยเฉพาะค่าเงินดอลลาร์และเงินยูโร นอกจากนี้ เบลเยี่ยมยังเป็นคู่ค้าการส่งออกของประเทศไทย โดยมีสัดส่วนร้อยละ 0.8 ของมูลค่าการส่งออกรวมทั้งหมด สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ ทำให้คาดว่าการปรับลดความน่าเชื่อถือของภาวะเศรษฐกิจเบลเยี่ยมจะส่งผลกระทบไม่มากนักต่อภาคการส่งออกไทย

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ