สถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 21, 2011 09:51 —กระทรวงการคลัง

นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอแถลงสถานะ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2554 ดังนี้

ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2554 มีจำนวน 4,336,707.76 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 41.03 ของ GDP โดยเป็นหนี้ของรัฐบาล 3,092,940.64 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,058,860.91 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 154,461.03 ล้านบาท และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 30,445.18 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะลดลงสุทธิ 111,586.84 ล้านบาท โดยหนี้ของรัฐบาล หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ลดลง 88,218.25 ล้านบาท 20,887.66 ล้านบาท และ 2,480.93 ล้านบาท ตามลำดับ ในขณะที่หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนหน่วยงานอื่นของรัฐนั้น ไม่มีหนี้คงค้าง ทั้งนี้ รายละเอียดและสัดส่วนของหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2554

1.1 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลงสุทธิ 127,218.25 ล้านบาท เนื่องจาก

1.1.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 2,074.60 ล้านบาท โดยผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาท ลดลงสุทธิ 1,582.75 ล้านบาท และการชำระคืนหนี้สกุลเงินเยนและเหรียญสหรัฐทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดงลง 491.85 ล้านบาท

1.1.2 หนี้ในประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 125,143.65 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง 125,691 ล้านบาท อายุ 3 วัน ที่ออกเพื่อรักษากรอบวงเงินของตั๋วเงินคลังและใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2555

1.2 หนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นสุทธิ 39,000 ล้านบาท เนื่องจากการกู้เงินล่วงหน้า (Pre-funding) เพื่อชำระพันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูระยะที่สอง (FIDF 1) จำนวน 89,099.20 ล้านบาท ที่จะครบกำหนดในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 โดยเงินที่ได้จะนำไปให้กองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาด ตราสารหนี้ในประเทศบริหารลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ให้เกิดผลตอบแทนและลดต้นทุนในการทำ Pre-funding

2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน

2.1 หนี้ในประเทศ

2.1.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 3,598.27 ล้านบาท โดยเกิดจาก

  • การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยไถ่ถอนพันธบัตร 1,000 ล้านบาท
  • รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลค้ำประกันมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ 2,598.27 ล้านบาท

2.1.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 9,408.86 ล้านบาท โดยเกิดจาก

  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไถ่ถอนพันธบัตร 93 ล้านบาท
  • บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ไถ่ถอนหุ้นกู้ 4,000 ล้านบาท และ 5,487.92 ล้านบาท ตามลำดับ
  • รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ มากกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ 172.06 ล้านบาท

2.2 หนี้ต่างประเทศ

2.2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 5,993.04 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลงสุทธิ 6,272.97 ล้านบาท และ การเบิกจ่ายมากกว่าชำระคืนหนี้สกุลเงินเยนและการชำระคืนหนี้สกุลเงินเหรียญสหรัฐทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้น 279.93 ล้านบาท

2.2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 1,887.49 ล้านบาท โดยผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตรแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลงสุทธิ 786.58 ล้านบาท และการชำระคืนหนี้สกุลเงินยูโร เยน และเหรียญสหรัฐทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 1,100.91 ล้านบาท

3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)

3.1 หนี้ในประเทศ

หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 2,350 ล้านบาท โดยเกิดจาก

  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์ไถ่ถอนพันธบัตร 2,000 ล้านบาท
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรชำระคืนต้นเงินกู้ 350 ล้านบาท

3.2 หนี้ต่างประเทศ

หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 130.93 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ หนี้ในรูปสกุลเงินต่างประเทศไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า

4. หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ

หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงหนี้สาธารณะ จำนวน 4,336,707.76 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 341,049.14 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.86 และหนี้ในประเทศ 3,995,658.62 ล้านบาท หรือร้อยละ 92.14 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และเป็นหนี้ระยะยาว 4,297,729.78 ล้านบาท หรือร้อยละ 99.10 และหนี้ระยะสั้น 38,977.98 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.90 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง

ส่วนวิจัยนโยบายหนี้สาธารณะ สำนักนโยบายและแผน

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5512

--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 154/2554 20 ธันวาคม 54--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ