รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 21 ธันวาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 21, 2011 10:46 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 21 ธันวาคม 2554

Summary:

1. ฟิทช์ให้แนวโน้มแบงก์ขนาดใหญ่ของไทยมีเสถียรภาพแม้กระทบจากน้ำท่วมใหญ่

2. โตโยต้าเผยตลาดรถยนต์ในประเทศ พ.ย.54 ลดลง 67.5%

3. คาด Q4 ปี 54 GDP ของจีนอาจชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 8.6%

Highlight:
1. ฟิ ทช์ให้แนวโน้มแบงก์ขนาดใหญ่ของไทยมีเสถียรภาพแม้กระทบจากน้ำท่วมใหญ่
  • ฟิทช์ เรทติ้งส์ รายงานว่า ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ของไทยมีแนวโน้มที่มีเสถียรภาพ แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่และความเสี่ยงจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก เนื่องจากสถานะทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ไทยยังคงอยู่ในระดับแข็งแกร่งจากการมีระดับเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง อัตราส่วนสำรองหนี้สูญต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (reserve coverage) และความสามารถในการทำกำไรที่ปรับตัวดีขึ้นนอกจากนี้ ฟิทช์ เรทติ้งส์ ยังมองว่าความไม่สมดุลของการการเติบโตด้านสินเชื่อและเงินฝากจะเพิ่มความเสี่ยงด้านการระดมทุนและสภาพคล่องให้ปรับตัวเพิ่มขึ้นรวมทั้งความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในตลาดการเงินโลก
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ธนาคารพาณิชย์ของไทยในปัจจุบันถือว่ามีความมั่นคงและฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง สะท้อนจากสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net NPLs) ในเดือน ก.ย.54 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 ของยอดคงค้างสินเชื่อรวม และการดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (Capital Adequacy Ratio : CAR) ในเดือน ต.ค.54 อยู่ที่ร้อยละ 15.3 ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ร้อยละ 8.5 แต่ภายหลังจากเหตุการณ์วิกฤติอุทกภัยในไทย ความต้องการด้านเงินทุนเพื่อฟื้นฟูกิจการที่เสียหายของภาคอุตสาหกรรมและเพื่อซ่อมแซมบ้านของภาคครัวเรือนจะปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งธนาคารพาณิชย์ของไทยสามารถรองรับความต้องการด้านเงินทุนที่เพิ่มขึ้นได้เป็นอย่างดี สะท้อนจากอัตราการขยายตัวของเงินฝากในช่วง 9 เดือนแรกของปี 54 ขยายตัวร้อยละ 9.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และสภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือน ต.ค.54 อยู่ที่ 2.04 ล้านล้านบาท อย่างไรก็ตาม ในอนาคตสถาบันการเงินจะต้องเผชิญการแข่งขันด้านระดมเงินฝากที่รุนแรงขึ้นเพื่อรองรับความต้องการสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการติดตามอย่างใกล้ชิดถึงปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรปที่ส่งผลให้ตลาดการเงินโลกผันผวน และอาจส่งผลกระทบทางอ้อมต่อสถาบันการเงินของไทยที่มีสัดส่วนการถือครองพันธบัตรของสถาบันการเงินในต่างประเทศแม้ว่าจะมีสัดส่วนการถือครองเพียงเล็กน้อยก็ตาม
2. โตโยต้าเผยตลาดรถยนต์ในประเทศ พ.ย.54 ลดลง 67.5% อยู่ที่ 25,664 คัน
  • บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยถึงสถิติการขายรถยนต์เดือนพ.ย. 54 ว่ามีปริมาณการขายทั้งสิ้น 25,664 คัน ลดลง 67.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขาย 12,746 คัน ลดลง 62.1% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขาย 12,918 คัน ลดลง 71.5% แม้ว่าโรงงานผลิตรถยนต์หลายแห่งจะสามารถกลับมาผลิตได้อีกครั้งแต่ยังไม่กลับสู่ระดับการผลิตปกติ ซึ่งเป็นผลจากการขาดแคลนชิน้ ส่วน
  • สศค. วิเคราะห์ว่า วิกฤตอุทกภัยที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ได้สร้างความเสียหายต่อภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะในนิคมอุตสาหกรรมที่มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม โดยเฉพาะในเขตพื้นที่จังหวัดอยุธยา ซึ่งเป็นฐานการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ทำให้โรงงานผลิตรถยนต์หลายแห่งได้รับความเสียหายอย่างมากและไม่สามารถผลิตรถยนต์ตามความต้องการของผู้บริโภคได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อยอดขายรถยนต์หดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -40.5 อย่างไรก็ดี อัตราการขยายตัวในช่วง 11 เดือนของปี 54 ยังคงขยายตัวร้อยละ 4.6 ซึ่งเป็นผลจากในช่วง 9 เดือนแรกของปีที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อ ประกอบกับการขยายตัวทั้งภาคการบริโภคและการลงทุนและการเปิ ดตัวของรถยนต์รุ่นใหม่ นอกจากนี้ ในเดือนธ.ค. 54 โรงงานผลิตรถยนต์หลายแห่งสามารถกลับมาผลิตได้อีกครั้ง ซึ่งนับเป็ นการส่งสัญญาณที่ดีต่ออุตสาหกรรมยานยนต์
3. คาด Q4 ปี 54 GDP ของจีนอาจชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 8.6%
  • นักเศรษฐศาสตร์ของยูบีเอส ซิเคียวริตีส์ คาดการณ์ว่า การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP) ของจีนอาจชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 8.6% ในไตรมาส 4 ปีนี้และคาดว่าชะลอตัวลงอีกจนถึง 7.7% ในไตรมาสแรกของปี 55 ซึ่งเป็นผลมาจากการหดตัวลงของยอดส่งออก, การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร และภาคการผลิต
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจจีนมีสัญญาณการขยายตัวชะลอลง โดยล่าสุดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนในไตรมาส 3 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี ก่อนขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 9.5 ทำให้ในช่วง 3 ไตรมาสแรกปี 54 ขยายตัวร้อยละ 9.4 โดยเป็นผลมาจากภาคการส่งออกเป็ นสำคัญที่มีแนวโน้มชะลอลงจากปัจจัยฐานสูงในปี ก่อนและสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มชัดเจนมากยิ่งขึ้น สะท้อนจากการส่งออกในเดือนต.ค.54 ที่ขยายตัวร้อยละ 15.9 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 17.1 ทำให้ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 54 ที่ขยายตัวได้ร้อยละ 22.0 ขณะที่อัตราเงินเฟ้ อทั่วไปในเดือน พ.ย. 54 ขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 14 เดือนที่ร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันปี ก่อน โดยดัชนีราคาหมวดอาหารขยายตัวชะลอลงต่อเนื่องเป็ นเดือนที่ 4 มาอยุ่ที่ร้อยละ 8.8 และดัชนีผู้จัดการฝ่ ยจัดซื้อเบื้องต้น (flash PMI) ภาคการผลิตของจีนอยู่ที่ระดับ 49 จุด ซึ่งดัชนีเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 50 จุด บ่งชี้ภาคการผลิตของจีนยังคง

หดตัวลง ทั้งนี้ สศค. คาดว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนในปี 54 จะขยายตัวร้อยละ 9.2 ต่อปี และปี 55 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.8 ต่อปี (คาดการณ์ ณ เดือน ก.ย. 54) และจะมีการปรับประมาณการอีกครั้งในเดือน ธ.ค. 54

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ