รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 23 ธันวาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Friday December 23, 2011 11:09 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 23 ธันวาคม 2554

Summary:

1. ยอดการส่งออกรถยนต์ เดือน พ.ย. 54 หดตัวร้อยละ -92.14 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

2. ธนาคารพาณิชย์ยุโรปแห่ขอกู้จากอีซีบีเพื่อเสริมสภาพคล่อง

3. S&P ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตรรัฐบาลฮังการีลงสู่ระดับขยะ

Highlight:
1. ยอดการส่งออกรถยนต์ เดือน พ.ย. 54 หดตัวร้อยละ -92.14 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
  • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า ยอดการส่งออกรถยนต์ เดือน พ.ย. 54 หดตัวร้อยละ -92.14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือคิดเป็นส่งออก 6,258 คัน ถือเป็นยอดการส่งออกรถยนต์ที่ต่าที่สุดในรอบ 13 ปี เนื่องจากเหตุการณ์อุทกภัยซึ่งสร้างความเสียหายแก่นิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง ทาให้โรงงานไม่สามารถผลิตรถยนต์ได้ รวมถึงขาดแคลนชิ้นส่วนในการประกอบรถยนต์และส่วนประกอบด้วย ทาให้การผลิตและส่งออกรถยนต์มีปริมาณลดลง
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ยอดการส่งออกรถยนต์ เดือน พ.ย. 54 ที่หดตัวจากเหตุการณ์อุทกภัยภายในประเทศนั้นส่งผลกระทบโดยตรงต่อมูลค่าการส่งออกโดยรวม เดือน พ.ย. 54 ให้หดตัวร้อยละ — 12.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ถือเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 25 เดือน เนื่องจากรถยนต์เป็นสินค้าส่งออกสาคัญของไทยมีสัดส่วนร้อยละ 11.6 ของมูลค่าการส่งออกรวม คาดว่าเหตุการณ์อุทกภัยนี้จะยังคงกระทบต่อการส่งออกรถยนต์ไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว โรงงานจาเป็นต้องฟื้นฟูทาให้ในระยะนี้การผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนยังไม่อยู่ในภาวะปกติ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เหตุการณ์อุทกภัยได้คลี่คลายลงแล้ว หลายโรงงานจึงกลับมาเปิดการผลิตได้อีกครั้ง ประกอบกับมาตรการช่วยเหลือผู้ผลิตรถยนต์ด้านการยกเว้นภาษีนาเข้ารถยนต์สาเร็จรูป เครื่องจักร และชิ้นส่วนรถยนต์ของรัฐบาลจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลดีต่อการผลิตและส่งออกรถยนต์ในระยะต่อไป
2. ธนาคารพาณิชย์ยุโรปแห่ขอกู้จากอีซีบีเพื่อเสริมสภาพคล่อง
  • ธนาคารพาณิชย์ทั่วยุโรปแห่เข้าประมูลเงินกู้ก้อนโตจากธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ที่ปล่อยกู้วงเงินสูงถึง 4.89 แสนล้านยูโร (ประมาณ 20 ล้านล้านบาท) โดยมีระยะกู้นาน 1,134 วัน (ประมาณ 3 ปี) จุดกระแสความหวังว่ายุโรปอาจจะสามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากวิกฤติการเงินได้ โดยเงินกู้เหล่านั้นอาจจะถูกนาไปช่วยซื้อพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีและสเปนอีกด้วย
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การปล่อยกู้ดังกล่าวถือเป็นความพยายามครั้งล่าสุดของอีซีบีเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตหนี้ของยูโรโซน และเป็นการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบครั้งใหญ่ที่สุดของอีซีบีด้วย ทั้งนี้ การปล่อยกู้วงเงินสูงที่อัตราดอกเบี้ยต่าของอีซีบีใครั้งนี้ จะช่วยเสริมสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ได้โดยเป็นการลดต้นทุนทางการเงิน เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยกู้ต่อได้ ซึ่งในปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ยุโรปมีต้นทุนทางการเงินที่สูง จากปัญหาหนี้สาธารณะของแต่ละประเทศทาให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งจัดเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยของแต่ละประเทศปรับตัวสูงขึ้นมาก ต้นทุนทางการเงินของสถาบันการเงินยุโรปจึงสูงตาม อย่างไรก็ตาม ทางอีซีบียังคงไม่มีมาตรการเพิ่มทุนของธนาคารพาณิชย์ยุโรปซึ่งต่างก็ถือพันธบัตรรัฐบาลยุโรปในสัดส่วนที่สูงเช่นเดียวกัน อาทิเช่น ณ สิ้นปี 53 ธนาคารพาณิชย์ในเยอรมนี ถือครองพันธบัตรรัฐบาลประเทศกรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส และสเปนรวมมูลค่าถึงกว่า 5.69 แสนล้านยูโร ถึงแม้ว่าอาจมีการตัดมูลค่าพันธบัตรที่ถือ (Haircut) โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลกรีซลงแล้วบางส่วน แต่ระบบธนาคารพาณิชย์ยุโรปก็ยังคงมีความเสี่ยงและอาจต้องเพิ่มทุนในอนาคตอันใกล้ เพื่อป้องกันมิให้เกิดวิกฤติภาคธนาคารต่อไป
3. S&P ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตรรัฐบาลฮังการีลงสู่ระดับขยะ
  • สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ S&P ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลฮังการีลง 1 ระดับ จากเดิมระดับ BBB ลงสู่ระดับ BB+ ซึ่งเป็นระดับที่ไม่น่าลงทุน หรือ "ระดับขยะ" พร้อมทั้งให้แนวโน้มเชิงลบ (Negative outlook) โดยอาจมีความเป็นไปได้สูงที่จะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของฮังการีลงอีก เนื่องจากความ ไม่เชื่อมั่นในนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลฮังการี
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจฮังการียังคงมีความเปราะบางต่อเนื่อง นับตั้งแต่ขอเข้ารับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) สหภาพยุโรป และธนาคารโลก เป็นจานวนเงิน 25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเดือน ต.ค. 51 เพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติการเงินโลก ทั้งนี้ เศรษฐกิจยุโรปที่ยังคงอ่อนแอ ทาให้ต้นทุนในการกู้ยืมของประเทศต่างๆในยุโรป รวมถึงฮังการีสูงขึ้นต่อเนื่อง อีกทั้งเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจอื่นๆของฮังการีเริ่มส่งสัญญาณถึงเสถียรภาพเศรษฐกิจที่อ่อนแอ โดยระดับหนี้ต่างประเทศของฮังการีอยู่ในระดับสูงถึงกว่าร้อยละ 65 ของดุลบัญชีเดินสะพัด อีกทั้งหนี้สาธารณะอยู่ในระดับสูงถึง 80.2 ของ GDP (ณ สิ้นปี 53) โดยกว่าครึ่งหนึ่งของหนี้สาธารณะเป็นหนี้ต่างประเทศ ซึ่งทาให้รัฐบาลฮังการีต้องเผชิญความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนในการชาระหนี้ โดยที่ผ่านมา ค่าเงินฟอรินต์ฮังการีมีความผันผวนสูง และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงต้นปี 54 แล้ว เงินฟอรินต์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐถึงร้อยละ 12.9 นอกจากนี้ หลายฝ่ายยังคงมีความกังวลต่อปัญหาการเมืองภายในของฮังการี เนื่องจากรัฐบาลฮังการีที่มีเสียงข้างมากถึง 2 ใน 3 ของสภา เตรียมออกกฎหมายลดอานาจและความอิสระในการดาเนินนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางฮังการี

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ