รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 19 - 23 ธันวาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday December 26, 2011 09:16 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้อปท.) ในเดือน พ.ย.54 มีจานวนทั้งสิ้น 137.8 พันล้านบาท
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน พ.ย. 54 มีมูลค่า 42.9 พันล้านบาท หรือหดตัวร้อยละ -1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และภาษีจากการทาธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน พ.ย. 54 หดตัวร้อยละ -18.6
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ต.ค.54 มีจานวนทั้งสิ้น 4,336.7 พันล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 111.6 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 41.0 ของ GDP
  • การส่งออกสินค้าในเดือน พ.ย. 54 อยู่ที่ 15,498 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวที่ร้อยละ -12.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ในขณะที่ การนาเข้าสินค้ารวมในเดือน พ.ย. 54 อยู่ที่ 16,872 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวที่ร้อยละ -2.4
  • ปริมาณการจาหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน พ.ย. 54 มีจานวน 1.27 หมื่นคัน หรือหดตัวร้อยละ -62.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน พ.ย. 54 มีจานวน 1.29 หมื่นคัน หรือหดตัวที่ร้อยละ -71.5
  • ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน พ.ย. 54 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจานวน 150.2 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -32.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน พ.ย. 54 พบว่า ดุลงบประมาณขาดดุลจานวน -25.8 พันล้านบาท
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อเบื้องต้นของยุโรป (Flash Composite PMI) ในเดือน ธ.ค. 54 ดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 มาอยู่ที่ระดับ 47.9
  • ผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ (Manufacturing Output) เดือน พ.ย. 54 หดตัวร้อยละ -0.4 จากเดือนก่อนหน้า
Indicators next week
 Indicators                         Forecast            Previous
Nov: MPI (% YoY)                     -30.0                -35.8
  • เนื่องจากบริษัทนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งในจังหวัดอยุธยาและปทุมธานี ยังคงไม่สามารถกลับมาผลิตได้หลังประสบปัญหาอุทกภัย โดยจาเป็นต้องอาศัยระยะเวลาในการฟื้นฟู ซ่อมแซม และจัดหาเครื่องจักรเพื่อการผลิตใหม่เพื่อทดแทนส่วนที่เสียหายไป ตลอดจนการชะลอการผลิตลงจากการขาดความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้ประกอบการต่างชาติ ประกอบกับปัจจัยภายนอกประเทศโดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจที่ยังคงมีต่อเนื่องในยุโรปที่เป็นกลุ่มประเทศคู่ค้าสาคัญลาดับที่ 4 ของไทย
Economic Indicators: This Week
  • รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้อปท.) ในเดือน พ.ย.54 มีจำนวนทั้งสิ้น 137.8 พันล้านบาท หดตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -5.7 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าพบว่าหดตัวลงร้อยละ -4.4 (ขจัดการผลทางฤดูกาลแล้ว) จากผลกระทบของวิกฤติอุทกภัยในหลายพื้นที่ ทำให้การจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิตรถยนต์ สำหรับภาษีฐานบริโภคขยายตัวร้อยละ 1.6 และภาษีฐานรายได้ซึ่งรวมภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหดตัวร้อยละ -6.3 โดยมีสาเหตุจากรายได้ของภาคครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน พ.ย. 54 มีมูลค่า 42.9 พันล้านบาท หรือหดตัวร้อยละ -1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 11.3 ซึ่งเป็นการหดตัวครั้งแรก ในรอบ 24 เดือน นับตั้งแต่ ต.ค. 52 (ซึ่งเป็นช่วงที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลก) โดยสาเหตุหลักมาจากผลกระทบจากอุทกภัยในหลายพื้นที่ในช่วงเดือน ต.ค. - พ.ย. 54 โดยเฉพาะพื้นที่ภาคกลาง กรุงเทพฯ และปริมณฑล ส่งผลให้การบริโภคโดยรวมชะลอลง ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 54 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 11.9 บ่งชี้ถึงการบริโภคภาคเอกชนที่ยังคงขยายตัวได้ในเกณฑ์ดี แม้มีความเสี่ยงจากปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่ก็ตาม

ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน พ.ย. 54 หดตัวร้อยละ -18.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -17.0 (แต่เมื่อขจัดผลทางฤดูการแล้ว จะขยายตัวจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 17.7) โดยการหดตัวดังกล่าวเป็นผลมาจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ประกอบกับผู้บริโภคที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยใช้เวลาในการพิจารณาตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยนานขึ้น ในขณะที่ผู้ประกอบการชะลอการก่อสร้างออกไป จากปัญหาการขาดแคลนแรงงานและขาดแคลนวัสดุก่อสร้าง อีกทั้งวัสดุก่อสร้างมีต้นทุนที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 54 ขยายตัวร้อยละ 12.4 บ่งชี้ถึงการลงทุนภาคเอกชนในหมวดก่อสร้างที่ยังคงขยายตัวได้ดี

ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน พ.ย. 54 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจำนวน 150.2 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -32.7 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน โดยในเดือน พ.ย. 54 มีการเบิกจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันจำนวน 131.9 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -36.4 โดยแบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำจำนวน 127.2 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -35.2 (2) รายจ่ายลงทุนจำนวน 4.7 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -56.7 ทั้งนี้ การเบิกจ่ายที่สำคัญ ได้แก่ รายจ่ายเงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจำนวน 13.5 พันล้านบาท รายจ่ายเงินอุดหนุนของสำนักงานประกันสังคมจำนวน 7.7 พันล้านบาท งบชำระหนี้ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะจำนวน 7.5 พันล้านบาท และรายจ่ายกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาจำนวน 4.5 พันล้านบาท ส่วนการเบิกจ่ายงบประมาณปีก่อนเบิกจ่ายได้จำนวน 18.4 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 15.2 นอกจากนี้ ผลการเบิกจ่ายแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ในเดือนพ.ย. 54 มีจำนวน 1.9 พันล้านบาท และมีการเบิกจ่ายสะสมตั้งแต่เดือนก.ย. 52 - พ.ย. 54 จำนวน 299.2 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายสะสมร้อยละ 85.5 ของกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจำนวน 350 พันล้านบาท

ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน พ.ย. 54 พบว่า ดุลงบประมาณขาดดุลจำนวน -25.8 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -2.8 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (ก่อนกู้) ขาดดุลจำนวน -28.6 พันล้านบาท โดยในเดือนนี้ยังคงไม่มีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ เนื่องจากยังไม่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 ทั้งนี้ ปริมาณเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน พ.ย. 54 อยู่ที่ 301.7 พันล้านบาท

การส่งออกสินค้าในเดือน พ.ย. 54 มีมูลค่า 15,498 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -12.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า หดตัวลงมากจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 0.3 จากผลกระทบของปัญหาอุทกภัยในประเทศ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ -19.5 เนื่องจากสินค้าหมวดหลักหดตัวอย่างรุนแรง อาทิ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ ที่หดตัวร้อยละ -47.4 -21.9 และ -54.7 ตามลำดับ นอกจากนี้ สินค้าเกษตรกรรมและสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 6.5 และ19.7 ตามลำดับ ทั้งนี้ ราคาสินค้าส่งออกขยายตัวรัอยละ 2.5 และปริมาณหดตัวร้อยละ -14.6 ส่งผลให้การส่งออก 11 เดือนของปี 54 ขยายตัวร้อยละ 19.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

การนำเข้าสินค้ารวมในเดือน พ.ย. 54 มีมูลค่า 16,872 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หดตัวลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 21.5 ผลจากการหดตัวเกือบทุกหมวดสินค้าหลัก เนื่องจากผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยในประเทศที่กระทบต่อห่วงโซ่การผลิต โดยเฉพาะสินค้ายานยนต์ที่หดตัวร้อยละ -3.4 หดตัวลงมากจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 18.1 ในขณะที่สินค้าเชื้อเพลิง สินค้าทุน และสินค้าวัตถุดิบหดตัวร้อยละ -6.1 -2.8 และ -2.7 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามสินค้าอุปโภคบริโภคยังคงขยายตัวแต่ชะลอลงที่ร้อยละ 8.6 ทั้งนี้ ราคานำเข้าสินค้าขยายตัวร้อยละ 8.5 และปริมาณหดตัวร้อยละ -10.1 ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้าที่ต่ำกว่ามูลค่าการนำเข้าสินค้า ทำให้ดุลการค้าเดือน ต.ค. 54 ขาดดุล -1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน พ.ย. 54 มีจำนวน 1.27 หมื่นคัน หรือหดตัวร้อยละ -62.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -38.8 และถือเป็นการหดตัวลงมากเป็นประวัติการณ์ในรอบ 48 เดือน นับจากเดือนธ.ค. 50 เนื่องจากการผลิตรถยนต์ยังได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะจังหวัดอยุธยาที่มีอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมหลัก ทำให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไม่สามารถผลิตได้ตามปกติ และไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ได้ตามกำหนด ทั้งนี้ คาดว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อยอดขายรถยนต์นั่งในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 54 ที่อาจหดตัวลงเป็นประวัติการณ์ เมื่อเทียบกับช่วงต้นปีที่ขยายตัวในอัตราเร่งต่อเนื่อง ทั้งนี้ ช่วง 11 เดือนแรกปี 54 ยอดขายรถยนต์นั่งขยายตัวร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน พ.ย. 54 มีจำนวน 1.29 หมื่นคัน หรือหดตัวที่ร้อยละ -71.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -41.8 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกจะหดตัวร้อยละ -45.6 เนื่องจากผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่ภาคกลาง โดยเฉพาะจังหวัดอยุธยา ทำให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไม่สามารถผลิตรถยนต์ได้ตามปกติ และไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ให้ลูกค้าได้ตามกำหนดระยะเวลา ทั้งนี้ คาดว่าสถานการณ์อุทกภัยดังกล่าวจะทำให้ยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 54 หดตัวลงมากเป็นประวัติการณ์ อนึ่ง ในช่วง 11 เดือนแรกปี 54 ยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวที่ร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ต.ค.54 มีจำนวนทั้งสิ้น 4,336.7 พันล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 111.6 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 41.0 ของ GDP ทั้งนี้ การลดลงของหนี้สาธารณะที่สำคัญเกิดจากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงลดลงสุทธิ 88.2 พันล้านบาท โดยเฉพาะหนี้ในประเทศที่รัฐบาลกู้โดยมีการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังจำนวน 125.7 พันล้านบาท เพื่อรักษากรอบวงเงินของตั๋วเงินคลังและใช้ในการบริหารเงินสดของรัฐบาลในปี งปม.55 ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคงมาก สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว (ร้อยละ 99.1 ของยอดหนี้สาธารณะรวม) และเป็นสกุลเงินบาท (ร้อยละ 92.1 ของยอดหนี้สาธารณะรวม)

Economic Indicators: Next Week
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน พ.ย. 54 คาดว่าจะยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -30.0 จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -35.8 เนื่องจากบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งในจังหวัดอยุธยาและปทุมธานี ยังคงไม่สามารถกลับมาผลิตได้หลังประสบปัญหาอุทกภัย โดยจำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาในการฟื้นฟู ซ่อมแซม และจัดหาเครื่องจักรเพื่อการผลิตใหม่เพื่อทดแทนส่วนที่เสียหายไป ตลอดจนการชะลอการผลิตลงจากการขาดความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้ประกอบการต่างชาติ ประกอบกับปัจจัยภายนอกประเทศโดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจที่ยังคงมีต่อเนื่องในยุโรปที่เป็นกลุ่มประเทศคู่ค้าสำคัญลำดับที่ 4 ของไทย

Global Economic Indicators: This Week

Eurozone: mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อเบื้องต้น (Flash Composite PMI) ในเดือน ธ.ค.54 ดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 มาอยู่ที่ระดับ 47.9 จากการปรับตัวดีขึ้นของดัชนีดังกล่าวทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการ โดยดัชนีในภาคการผลิต (Flash Mfg PMI) และภาคบริการ (Flash Service PMI) ดีขึ้นเช่นกันโดยอยู่ที่ระดับ 46.9 และ 48.3 ตามลำดับ สหภาพยุโรปเพิ่มเงินเข้ากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มูลค่า 2 แสนล้านยูโร เพื่อเป็นวงเงินช่วยเหลือประเทศที่เผชิญวิกฤตเศรษฐกิจ โดย 1.5 แสนล้านยูโร (1.95 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) มาจากเงินสมทบของประเทศสมาชิก ขณะที่อีก 50,000 ล้านยูโรมาจากธนาคารกลางยุโรป ธนาคารกลางยุโรปแถลงจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลของประเทศยุโรปในวงเงินกว่า 3.36 พันล้านยูโรในสัปดาห์นี้ (16 ธ.ค.54) มูลค่าส่งออกและนำเข้าเดือน ต.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 5.7 และร้อยละ 7.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ขณะที่เมื่อตัดผลทางฤดูกาลหดตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -1.9 และร้อยละ -0.7 (%mom_sa) ตามลำดับส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 1.1 พันล้านยูโร ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ธ.ค.54 ต่ำที่สุดในรอบ 2 ปีกว่าที่ระดับ -21.2
USA: mixed signal
  • ผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรม (Manufacturing Output) เดือน พ.ย.54 หดตัวร้อยละ -0.4 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) เนื่องจากการหดตัวของผลผลิตยานยนต์และคอมพิวเตอร์และอิเล็คทรอนิกส์ที่ร้อยละ -3.4 และร้อยละ -0.2 จากเดือนก่อนหน้า ตามลำดับ ส่วนหนึ่งจากวิกฤตอุทกภัยในประเทศไทยเป็นสำคัญ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน พ.ย. 54 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อ หรือคงที่จากเดือนก่อนหน้า ( 0.0 %mom) เนื่องจากราคาเชื้อเพลิงที่ปรับตัวลดลงกว่าร้อยละ -1.6 จากเดือนก่อนหน้า เป็นสำคัญ ยอดขายบ้าน (Existing Home sale) เดือน พ.ย. 54 ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 10 เดือนที่ร้อยละ 4.0 จากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 4.42 หลังต่อปีส่วนหนึ่งจากการปรับปรุงตัวเลขในอดีต
Japan: worsening economic trend
  • มูลค่าส่งออกเดือน พ.ย.54 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 มาอยุ่ที่ร้อยละ -4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากอุปสงค์ภายนอกที่ชะลอตัวและค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้น ขณะที่มูลค่านำเข้าขยายตัวร้อยละ 11.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ขาดดุลการค้า 684.73 พันล้านเยน (8.79 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
Singapore: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออก (หักน้ำมัน) เดือน พ.ย.54 ขยายตัวร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ฟื้นตัวจากเดือนก่อนหน้า (ต.ค.54) ที่หดตัวร้อยละ -16.0 โดยการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และสินค้าประเภทอื่นฟื้นตัวจากติดลบมาขยายตัวที่ร้อยละ 0.1 และ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ตามลำดับ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเดือน พ.ย.54 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาสินค้าในหมวดขนส่งและเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ
Malaysia: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย.54 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า อันเป็นผลมาจากราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดืมไม่มีแอลกอฮอล์ และต้นทุนค่าขนส่งซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.3 และ 14.9 ของการคำนวณราคา ปรับตัวลดลงมาอยู๋ที่ร้อยละ 5.1 และ 3.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ตามลำดับ
Hong Kong: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย.54 ทรงตัวอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า แม้จะชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาอาหาร และค่าเช่าบ้านที่ยังคงอยู่ในระดับสูงเป็นสำคัญ ทั้งนี้ หากเปรียบสถานการณ์เงินเฟ้อในปัจจุบันกับช่วงครึ่งปีแรก พบว่า แรงกดดันจากเงินเฟ้อลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกเริ่มปรับตัวอย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น ขณะที่อัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. 54 ทรงตัวอยู่ในระดับไม่สูงมากนักที่ร้อยละ 3.4 ของกำลังแรงงานรวม สะท้อนภาคการจ้างงาน รวมถึงอุปสงค์ในประเทศที่ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดีท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่เริ่มชะลอลง
Taiwan: mixed signal
  • ยอดสั่งซื้อสินค้าส่งออก เดือน พ.ย. 54 ขยายตัวร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงต่ำที่สุดในรอบ 2 ปี จากยอดคำสั่งซื้อจากจีนซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 1 ของไต้หวันที่ชะลอลงชัดเจน ทั้งนี้ คาดว่าภาคการส่งออกในระยะต่อไป น่าจะชะลอลงจากการแผ่วลงของเศรษฐกิจโลก ทั้งจากจีน และสหภาพยุโรปซึ่งยังคงประสบปัญหาหนี้สาธารณะที่เรื้อรัง ขณะที่อัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. 54 ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.3 ของกำลังแรงงานรวม
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า ก่อนเคลื่อนไหวอยู่ในระดับแคบ โดยนักลงทุนยังคงกังวลเรื่องวิกฤติเศรษฐกิจในยุโรป โดยมองว่าการปล่อยกู้เสริมสภาพคล่องของธนาคารกลางยุโรปวงเงิน 4.89 แสนล้านยูโร อาจส่งสัญญาณว่าวิกฤติเศรษฐกิจยุโรปมีความรุนแรงกว่าที่คาดไว้ ทำให้นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์แล้วเข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูงแทน ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 19 - 22 ธ.ค. 54 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -497 ล้านบาท ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย จากการที่นักลงทุนมองว่าจะมีอุปทานพันธบัตรจำนวนมากในปีหน้า โดยเฉพาะอุปทานพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 19 - 22 ธ.ค. 54 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 1,214 ล้านบาท
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับ สัปดาห์ก่อนหน้า โดยปิดที่ระดับ 31.29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 22 ธ.ค. 54 แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ร้อยละ 0.41 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลหลักในภูมิภาค โดยเฉพาะค่าเงินมาเลเซียริงกิต เงินวอนเกาหลีใต้ และค่าเงินสิงคโปร์ดอลลาร์ ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อยู่ในระดับใกล้เคียงสัปดาห์ก่อนหน้า จากการที่ค่าเงินคู่ค้าต่อดอลลาร์สหรัฐเคลื่อนไหวในอัตราที่ใกล้เคียงกับค่าเงินบาทไทย ผลจากการเคลื่อนไหวของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (Valuation effect) เป็นสำคัญ
  • ราคาทองคำเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 22 ธ.ค. 54 ปิดที่ 1,605 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ สูงขึ้นจากต้นสัปดาห์เล็กน้อยที่ปิดที่ 1,594 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ