รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 4 มกราคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 4, 2012 11:10 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 4 มกราคม 2555

Summary:

1. ธปท.ชี้น้ำท่วมกระทบ GDP ปีนี้จากเดิมที่คาดโตร้อยละ 1.8

2. กูรูคาดราคาน้ำมันปี 55 ทรงตัวสูงที่ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเหตุปัญหาอิหร่านและวิกฤติหนี้ยุโรป

3. ECB มีโอกาศลดดอกเบี้ยอีกในช่วงต้นปีหน้า

Highlight:
1. ธปท.ชี้น้ำท่วมกระทบ GDP ปีนี้จากเดิมที่คาดโตร้อยละ 1.8
  • ผู้อานวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานว่า ผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมรุนแรงในประเทศได้ส่งผลต่อการคาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทย (GDP) ในปีนี้ หลังจากที่เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 และทั้งปีนี้ขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ ธปท.ได้ปรับคาดการณ์ GDP ของไทยในปี 54 อยู่ที่ร้อยละ 1.8 ลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 2.6
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ปัญหาวิกฤติอุทกภัยได้ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจไทย โดยเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือน พ.ย.54 มีการหดตัวลงอย่างชัดเจน ได้แก่ (1) มูลค่าการส่งออกสินค้ามีมูลค่า 15.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -12.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (2) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวถึงร้อยละ -48.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -30.1 โดยเป็นการหดตัวในเกือบทุกอุตสาหกรรมโดยเฉพาะหมวดเยานยนต์ เครื่องอิเล็คทรอนิคส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า และ (3) การใช้จ่ายภายในประเทศ สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ หดตัวร้อยละ -1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยในปี 55 จะมีแนวโน้มฟื้นต้ว โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักจากอุปสงค์ในประเทศที่คาดว่าจะขยายตัวเร่งขึ้นจากความจำเป็นในการเร่งฟื้นฟูอาคารบ้านเรือนและเครื่องมือเครื่องจักรในภาคอุตสาหกรรม และนโยบายของภาครัฐในการสนับสนุนการใช้จ่าย ทั้งนี้ สศค. คาดว่า GDP ของไทยในปี 54 จะขยายตัวร้อยละ 1.1 และในปี 55 ขยายตัวร้อยละ 5.0 โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 4.5 - 5.5 (ณ เดือน ธ.ค.54)
2. กูรูคาดราคาน้ำมันปี 55 ทรงตัวสูงที่ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเหตุปัญหาอิหร่านและวิกฤติหนี้ยุโรป
  • บริษัท ปตท.จากัด (มหาชน) วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ามันในกลุ่มผู้ผลิตน้ามันว่า มีการปรับลดอัตราการเติบโตของอุปสงค์น้ามันโลกในปี 55 จากเดิม 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน เหลือเพียง 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือลดลง 100,000 บาร์เรลต่อวัน ส่วนราคาน้ามันดิบตลาดโลกปี 55 จะเคลื่อนไหวแคบๆอยู่ที่ช่วง100-110 $/bbl น้ามันดิบตลาดดูไบจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ 105-106 $/bbl น้ามันดิบตลาดเบรนท์ทะเลเหนือของอังกฤษจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ 110-115 $/bbl และน้ามันดิบตลาดเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวอยู่ที่ 95-105 $/bbl โดยปัจจัยเสี่ยงที่อาจทาให้ราคาน้ามันตลาดโลกพุ่งสูงขึ้น คือสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหภาพยุโรป (EU) กับประเทศอิหร่านที่เป็นผู้ส่งออกน้ามันรายใหญ่
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ในปี 55 ราคาน้ามันดิบจะยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงโดยจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10.0 เมื่อเที่ยบกับปี 54 หรืออยู่ที่ 116.0 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล (หรือในช่วงคาดการณ์ 111.0-121.0) อย่างไรก็ตามยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้สาธารณะยุโรปและสหรัฐฯที่อาจทาให้อุปสงค์น้ำมันปรับตัวลดลงในขณะที่อุปทานจากกลุ่ม OPEC ยังไม่มีการปรับลดลงอย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์ความขัดแย้งรนแรงขึ้นโดยหากสหภาพยุโรปตัดสินใจคว่าบาตร อิหร่านอาจตัดสินใจตอบโต้ ด้วยการปิดช่องแคบเฮอร์มุส ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ามันที่สาคัญของโลกซึ่งมีปริมาณขนส่งน้ำมันดิบทางเรือผ่านช่องแคบนี้ประมาณ 15 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยหากมีการปิดช่องแคบ จะทาให้การขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางไปประเทศต่างๆ ทั่วโลกเกิดปัญหาทันที รวมทั้งต้องจับตาท่าทีของประเทศซาอุดีอาระเบียว่าจะร่วมกับอิหร่านในการงดการส่งน้ำมันให้สหภาพยุโรปด้วยหรือไม่ อาจเป็นปัจจัยสำคัญ ทาให้ความต้องการน้ำมันตึงตัวและเป็นสาเหตุให้ราคาน้ามันเพิ่มสูงได้อีก
3. ECB มีโอกาศลดดอกเบี้ยอีกในช่วงต้นปีหน้า
  • ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีโอกาสลดดอกเบี้ยลงอีกในช่วงต้นปีหน้า หลังจากที่มีการเปิดเผยข้อมูลล่าสุดซึ่งแสดงให้เห็นว่าวิกฤตหนี้สาธารณะในภูมิภาคมีแนวโน้มที่จะนาไปสู่ภาวะสินเชื่อตึงตัว ขณะเดียวกันก็ส่งผลให้แรงกดดันเงินเฟ้อบรรเทาลง อัตราการขยายตัวของปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ ซึ่งอีซีบีใช้เป็นข้อมูลชี้วัดแนวโน้มเงินเฟ้อในอนาคต ชะลอตัวลงแตะร้อยละ 2 ในเดือนพ.ย.54 หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 ในเดือนต.ค.54
  • สศค. วิเคราะห์ว่า จากปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะในสหภาพยุโรปที่ยังคงไม่มีทางออกที่ชัดเจนส่งผลต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มสหภาพยุโรปในไตรมาสที่ 3 ของปี 54 ขยายตัวร้อยละ 1.4 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.6 ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Refinancing) และอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (HICP) ในเดือนพ.ย.54 ที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.25 และร้อยละ 3.0 ตามลำดับ ซึ่งแนวโน้มเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยุโรปที่ชะลอตัวทาให้ ECB มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง นอกจากนี้สหภาพยุโรปได้มีการเพิ่มเงินเข้ากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มูลค่า 2 แสนล้านยูโร เพื่อเป็นวงเงินช่วยเหลือประเทศที่เผชิญวิกฤตเศรษฐกิจ โดย 1.5 แสนล้านยูโร (1.95 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยมาจากเงินสมทบของประเทศสมาชิก ขณะที่อีก 50,000 ล้านยูโรมาจากธนาคารกลางยุโรป ทั้งนี้ สศค. คาดว่าเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปในปี 54 จะขยายตัวร้อยละ 1.5 และในปี 55 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ -0.8 (คาดการณ์ ณ เดือน ธ.ค.54)

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ