Macro Morning Focus ประจำวันที่ 10 มกราคม 2555
1. ข้าวถุงจ่อขึ้นราคาอีกร้อยละ 10-20 "พาณิชย์" เร่งเข็นข้าวธงฟ้าสกัด
2. ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ปี 55 ธุรกิจเช่าซื้อรถขยายตัวสูง
3. รมว.คลังเยอรมนี เรียกร้องกรีซลดยอดขาดดุลงบประมาณตามข้อตกลงที่กำหนด
- กระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงกรณีผู้ประกอบการเตรียมประกาศปรับขึ้นราคาข้าวถุงในอัตราร้อยละ 10-20 จากราคาปัจจุบัน โดยยืนยันว่า อคส. จะยังคงยืนยันขายข้าวถุงในราคาเดิม เพื่อให้เป็นทางเลือกแก่ผู้บริโภค เพราะเป้าหมายของ อคส.ไม่ได้จัดตั้งมา เพื่อค้ากำไร แต่จะเข้ามาแทรกแซงตลาดเพื่อช่วยเหลือประชาชน ไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ส่วนการจำหน่ายข้าวถุงธงฟ้าจะวางจาหน่ายภายในสัปดาห์นี้ เป็นต้นไป โดยจำหน่ายถุงละ 110 บาท เมื่อเทียบกับราคาข้าวถุงของเอกชนขณะนี้ขายถุงละประมาณ 120-130 บาท ในเบื้องต้นคาดว่าจะจาหน่ายในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลก่อน
- สศค. วิเคราะห์ว่า ราคาข้าวถุงมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นหลังจากราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้มีราคาปรับตัวสูงขึ้นตามนโยบายรับจานาข้าวเปลือกของรัฐบาลที่ตันละ 15,000 บาท ซึ่งเป็นไปตามนโยบายเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีรัฐบาลมีมาตรการบรรเทาผลกระทบของการขึ้นราคาข้าวถุง โดยจัดจาหน่ายข้าวถุงธงฟ้าราคา 110 บาท เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการบริโภคของประชาชนกลุ่มรากหญ้า และยังช่วยลดแรงกดดันต่อเงินเฟ้อลง โดยสินค้าในหมวดข้าวมีน้ำหนักร้อยละ 2.9 ในตะกร้าเงินเฟ้อ ทั้งนี้ สศค.คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 55 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ชะลอตัวลงจากปีก่อนหน้าเล็กน้อย
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า อุทกภัยครั้งร้ายแรงที่เกิดขึ้นในปี 54 ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์โดยตรงทาให้การผลิตยานยนต์ต้องหยุดชะงักลง นอกจากนี้ยังส่งกระทบต่อธุรกิจต่อเนื่องอีกด้วย เช่น บริการสินเชื่อเช่าซื้อที่อาจส่งกระทบต่อธุรกิจที่จขยายธุรกิจใหม่ แต่เชื่อว่าธุรกิจขนาดใหญ่จะได้รับผลกระทบไม่มากหนัก เนื่องจากมีปัจจัยบวกจากมาตรการภาษีรถคันแรกจะช่วยกระตุ้นความต้องการซื้อรถใหม่และการให้สินเชื่อ เช่าซื้อรถ
- สศค. วิเคราะห์ว่า จากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ดัชนีการผลิตหดตัวสูงเป็นประวัติการณ์ร้อยละ -84.0 ในเดือน พ.ย. 54 ส่งผลให้ยอดขายรถยนต์หดตัวลงเช่นเดียวกันตามอุปทานที่ตึงตัว จากข้อมูลล่าสุดเดือน พ.ย.54 รถยนต์นั่งหดตัวร้อยละ -62.1 รถจักรยานยนต์ -11.0 และรถยนต์เชิงพาณิชย์หดตัวร้อยละ -71.5 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี สำหรับปี 55 คาดว่าอุปสงค์ต่อรถยนต์ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง เนื่องจากมีปัจจัยบวกจากนโยบายภาครัฐที่ช่วยกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ และอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่า
- รมว. คลังเยอรมนี เรียกร้องประเทศสมาชิกยูโรโซนที่ประสบภาวะหนี้สิน และปัญหายอดขาดดุลงบประมาณสูงเกินไป จาเป็นต้องลดตัวเลขดังกล่าวลงให้ได้อย่างน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะกรีซที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลง และลดยอดขาดดุลงบประมาณให้เร็วกว่านี้ ทั้งนี้ ความวิตกกังวลระลอกใหม่เกี่ยวกับการผิดนัดชาระหนี้ของกรีซ ทาให้เงินยูโรร่วงลงแตะระดับต่าสุดในรอบ 16 เดือนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ โดยอ่อนค่าลงต่ากว่าระดับ 1.27 ดอลลาร์สหรัฐ
- สศค. วิเคราะห์ว่า ปัจจุบันกรีซมีสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP กว่าร้อยละ 160-170 อีกทั้งการที่ตลาดการเงินไม่เชื่อมั่นฐานะการเงินของรัฐบาล ทาให้กรีซไม่สามารถที่จะขายพันธบัตรระดมเงินเพื่อจ่ายหนี้เดิมที่ถึงกาหนดได้ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะซ้าเติมให้รัฐบาลกรีซประสบความยากลาบากที่จะสามารถชำระหนี้และลดยอดขาดดุลงบประมาณตามข้อตกลงและจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังภาคธนาคารในยุโรป (ที่บางส่วนถือพันธบัตรรัฐบาลกรีซ) และมีเงินทุนต่ำ (โดยการคำนวณเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงอยู่ภายใต้ข้อสมมติฐานว่าพันธบัตรรัฐบาลต้องไม่มีความเสี่ยง) ดังนั้น หากเกิดภาวะ NPLs จะทาให้ไม่มีเงินกองทุนเพียงพอ และในที่สุดจะทาให้เกิดการกระจายของปัญหาสถาบันการเงินเป็นวงกว้างในยุโรป สะท้อนจากบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด S&P ให้แนวโน้ม "เป็นลบ" กับสมาชิกยูโรโซน 15 ชาติ จากทั้งหมด 17 ชาติ ทำให้มีโอกาสที่จะถูกหั่นเรตติ้งในอนาคตอันใกล้ และอาจทำให้เศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซนในปี 55 หดตัวร้อยละ -0.8 (ตัวเลขคาดการณ์เดิมของ สศค. ณ เดือน ธ.ค. 54)
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:
Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th