ภาวะเศรษฐกิจสหภาพยุโรป ธันวาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 11, 2012 10:29 —กระทรวงการคลัง

บทสรุปผู้บริหาร

ภาพรวมเศรษฐกิจและเสถียรภาพเศรษฐกิจ

Euro Stat ยืนยันเศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาส 3 ของปี 2554 (ข้อมูล Second Estimate) ขยายตัวจากไตรมาสก่อนที่ 0.2% (QoQ) และขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.4% (YoY) ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคและการส่งออกโดยเฉพาะของเยอรมนีและฝรั่งเศส

ดัชนี Composite Purchasing Managers' Index ในไตรมาส 4 ของปี 2554 ต่ากว่าระดับ 50 จุด ชี้เศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาสสุดท้ายของปีมีแนวโน้มหดตัว

อัตราการว่างงานในเขตยูโรโซนเดือนตุลาคม 2554 ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่10.3% ของกาลังแรงงาน สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างชัดเจน

ขณะที่อัตราเงินเฟอเขตยูโรโซนในเดือนพฤศจิกายน 2554 ทรงตัวคงที่เป็นเดือนที่สามติดต่อกันที่ 3% ต่อปี แต่มีแนวโน้มชะลอตัวในเดือนธันวาคมตามราคาน้ามันโลกที่ลดลง

แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2555

เศรษฐกิจยูโรโซนมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงเหลือเพียง 0.5% ในปี 2555 จาก 1.5% ในปี 2554 เนื่องจากการบริโภคที่คาดว่าจะชะลอตัวตามการว่างงงานที่สูงขึ้น ขณะที่รายจ่ายรัฐบาลที่หดตัวตามนโยบายลดการขาดดุลรัฐบาล และการส่งออกที่ขยายตัวลดลงตามเศรษฐกิจโลก

อย่างไรก็ดี เสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศจากอัตราเงินเฟอคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น โดยคาดว่าอัตราเงินเฟอในปี 55 จะปรับตัวลดเหลือ 1.7% ซึ่งต่ากว่าเปาหมายเงินเฟอธนาคารกลางที่ 2%

ภาคการเงินและการคลัง
  • ธนาคารกลาง ECB ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% มาอยู่ที่ 1% ในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นการปรับลดดอกเบี้ยเป็นเดือนที่สองติดต่อกันเพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจยูโรโซนที่มีแนวโน้มหดตัว

ที่ประชุมผู้นายุโรป ได้ตกลงทาสนธิสัญญาเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติหนี้ในยุโรปเพิ่มเติม โดยกาหนดกฎเข้มงวดทางการคลัง (Fiscal Compact) ที่ระบุให้ประเทศสมาชิกต้องขาดดุลงบประมาณพื้นฐานไม่เกิน 0.5% ของ GDP และกาหนดมาตรการ Sanction สาหรับประเทศที่ขาดดุลเกิน 3% ของ GDP อีกทั้งกาหนดให้ประเทศที่มีหนี้รัฐบาลต่อ GDP เกิน 60% ต้องปรับลดหนี้ปีละ 0.05% นอกจากนี้ ยังตกลงที่จะนากลไกช่วยเหลือการเงินแบบถาวร European Stability Mechanism ในวงเงิน 500 พันล้านยูโร มาบังคับใช้เร็วขึ้นภายในก.ค.2555 และตกลงให้ธนาคารกลางในแต่ลประเทศให้กู้แก่ IMF เพื่อให้มีเงินเพียงพอที่จะช่วยประเทศที่ประสบวิกฤติ

ภาพรวมเศรษฐกิจในไตรมาส 3/2554
  • Euro Stat ยืนยันเศรษฐกิจยูโรโซนไตรมาส 3 ขยายตัว 0.2%QoQ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกโดยเฉพาะในเยอรมนี

จากการประกาศข้อมูลอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจครั้งที่สองของสำนักงานสถิติยุโรป Euro Stat ของเขตเศรษฐกิจยูโร 17 ประเทศ (Euro Area: EA 17) ในไตรมาส 3 ปี2554 ข้อมูลอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากการประกาศข้อมูลครั้งแรก โดยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจยังขยายตัวเท่ากับร้อยละ 0.2 (%QoQ) และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวเท่ากับร้อยละ 1.4 (%YoY)

เมื่อพิจารณาจากตารางรายละเอียดของอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซน 17 ประเทศ (ดูตารางด้านล่าง) พบว่า สาเหตุหลักที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาส 3 ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ร้อยละ 0.2%QoQ นั้นเป็นผลมาจากการบริโภคของภาคครัวเรือน ที่เร่งตัวขึ้นที่ร้อยละ 0.3%QoQ ในไตรมาสที่ 3 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ-0.5 นอกจากนี้การส่งออกในไตรมาสที่3 เร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.5%QoQ เพื่มขึ้นจากร้อยละ1.1 ในไตรมาสก่อนหน้า

นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นรายประเทศ พบว่าสาเหตุที่เศรษฐกิจในเขตยูโรโซนยังคงเติบโตได้ต่อเนื่องมาจากเศรษฐกิจประเทศหลัก(Core Economies) ขนาดใหญ่เพียง 2 ประเทศ คือ เศรษฐกิจเยอรมนี (ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดที่ร้อยละ 27 ของเศรษฐกิจยูโร) ยังขยายตัวได้ดีในไตรมาส 3 ที่ 0.5 %QoQ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาส 2 ที่ขยายตัว 0.3 %QoQ และ เศรษฐกิจฝรั่งเศส (ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ที่ร้อยละ 21 ของเศรษฐกิจยูโร) ได้กลับมาขยายตัวเร่งขึ้นในไตรมาส 3 ที่ 0.4 %QoQ หลังจากที่หดตัว -0.1%.ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะเดียวที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ และเบลเยี่ยมนั้นอัตราการเจริญเติบโตติดลบอยู่ที่ -0.3 และ -0.1 ตามลาดับ ซึ่งเป็นสัญญาณถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากวิกฤติหนี้สาธารณะที่เริ่มส่งผลกระทบถึงประเทศเศรษฐกิจหลักอื่นๆ นอกจากนั้นอัตราการขยายตัวของประเทศที่อยู่ในเขตรอยขอบ (Periphery) ยังคงแสดงถึงสภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศโปรตุเกส ไอร์แลนด์ อิตาลียังมีการขยายตัวแบบติดลบ ซึ่งเป็นเป็นผลมาจากปญหาวิกฤติหนี้สาธารณะในแต่ละประเทศ

เครื่องชี้เศรษฐกิจไตรมาส 4 ของปี 2554
  • ดัชนี Composite PMI ของเขตยูโรโซนในไตรมาสสุดท้ายชี้เศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาสสุดท้าย มีโอกาสหดตัวสูง

เครื่องชี้เศรษฐกิจของประเทศในเขตยูโรโซน ที่วัดจากดัชนีผู้จัดการแผนกจัดซื้อรวมของภาคบริการและภาคการผลิต (Markit Composite Purchasing Managers' Index: Composite PMI) บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจยูโรโซนอาจมีการหดตัวลงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2554 ดังเห็นได้จากกราฟด้านซ้ายบนที่ดัชนี Composite PMI เฉลี่ยในไตรมาสสุดท้ายของปีมีระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ช่วงกลางปี ค.ศ. 2009 (พ.ศ.2552) โดยดัชนี Composite PMI เฉลี่ยในไตรมาส 4 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 47.1 จุด ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงในระดับต่ากว่า 50 จุด นับว่าเป็นระดับที่สะท้อนถึงการผลิตที่ไม่มีการขยายตัว และอาจเกิดสภาวะเศรษฐกิจหดตัวในข่วงไตรมาสสุดท้ายของปี อย่างไรก็ดี แม้ว่าข้อมูลเบื้องต้นของดัชนี Flash Composite PMI ในเดือนธันวาคม 2554 จะมีทิศทางที่ดีขึ้นเพียงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 47.9 ในเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนพฤศจิกายน 2554 ซึ่งอยู่ที่ 47.0 จุด แต่ดัชนี Composite PMI ในเดือนธันวาคมยังคงอยู่ในระดับต่ากว่า 50 จุด ซึ่งเป็นระดับที่สะท้อนการผลิตที่ยังไม่มีการขยายตัว

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาดัชนี Composite PMI เป็นรายประเทศในกราฟด้านขวามือบน พบว่ามีเพียงประเทศเยอรมนีและฝรั่งเศสที่ดัชนี Composite PMI มีสัญญาณของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่บ้าง (ดัชนีมีระดับสูงกว่า 50 จุดเล็กน้อย) แต่ ดัชนี Composite PMI ของประเทศอื่นๆ ในกลุ่มยูโรโซนนั้นอยู่ในระดับต่ำกว่าระดับ 50 จุด และมีทิศทางปรับตัวลดลงต่อเนื่อง สะท้อนว่าเศรษฐกิจในเขตยูโรโซน ในขณะนี้ได้รับการขับเคลื่อนจากเศรษฐกิจขอบเยอรมนีและฝรั่งเศสเพียงสองประเทศ ขณะที่เศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ มีภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
  • อัตราการว่างงานเขต Euro area 17ประเทศประจาเดือนตุลาคม2554 ปรับตัวสูงขึ้นที่ร้อยละ10.3 ของกำลังแรงงาน ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์

อัตราการว่างงานของประเทศในเขต Euro area 17ประเทศประจาเดือนตุลาคม2554 ปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ร้อยละ10.3 ของกาลังแรงงาน ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 16 เดือน และสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่การก่อตั้งกลุ่ม Euro area โดยจานวนผู้ว่างงานของประเทศในเขตยูโรโซนในเดือนตุลาคม 2554 เพิ่มขึ้นมากถึง 126,000คนภายในเดือนเดียว สะท้อนถึงภาวการณ์ว่างงานที่ทวีความรุนแรงขึ้นมาก และสอดคล้องภาวะเศรษฐกิจในเขตยูโรโซนที่เริ่มหดตัว และเมื่อพิจารณาอัตราการว่างงานเป็นรายประเทศ (ตามตารางด้านล่าง) จะเห็นได้ว่า ประเทศรอยขอบยูโร (Periphery) ได้แก่ สเปน โปรตุเกส และ อิตาลี มีอัตราการว่างงานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 22.8 ร้อยละ 12.9 และ ร้อยละ 8.5 ตามลำดับ ขณะที่มีเพียงอัตราการว่างงานของประเทศเยอรมนี ที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 5.5 ในเดือนตุลาคม 2554

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
  • อัตราเงินเฟอเขตยูโรโซนเดือนพ.ย.54 ทรงตัวคงที่เป็นเดือนที่สามติดต่อกันที่ 3%

อัตราเงินเฟอทั่วไปที่คำนวณจากดัชนีราคาผู้บริโภค (Harmonized Index of Consumer Prices: HICP) ของเศรษฐกิจในเขตยูโร Euro Area ประจาเดือน พฤษจิกายน 2554 คงที่อยู่ที่ร้อยละ 3 ต่อปี(%yoy) เท่ากับสองเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงเป็นอัตราเงินเฟอที่สูงกว่ากรอบเป้าหมายอัตราเงินเฟอของธนาคารกลางแห่งชาติยุโรปที่กาหนดอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายอยู่ที่ร้อยละ 2 ต่อปี เป็นเดือนที่12 ติดต่อกันสำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมราคาสินค้าในหมวดอาหาร สุรา ยาสูบและพลังงาน (HICP excluding food, alcohol, tobacco and energy) ในเดือนพฤษจิกายน 2554 ทรงตัวในระดับคงที่เช่นกันที่ร้อยละ 1.6 ต่อปี เท่ากับสองเดือนก่อนหน้าปัจจัยหลักที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤศจิกายน ยังคงทรงตัวในระดับสูงกว่าเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ มาจากอัตราเงินเฟ้อในหมวดพลังงานในเดือนพฤษจิกายนที่ยังคงตัวอยู่ในระดับสูงอยู่ที่ร้อยละ 12.3 ต่อปี นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาอัตราเงินเฟ้อเป็นรายประเทศ พบว่า สาเหตุหลักที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟอเฉลี่ยในเขตยูโรโซนยังทรงตัวในระดับสูงมาจากอัตราเงินเฟ้อของประเทศอิตาลีที่ปรับตัวสูงขึ้นมากมาอยู่ที่ร้อยละ 3.7 ต่อปี ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของอิตาลีจากร้อยละ 20 มาเป็นร้อยละ 21 ตามนโยบายการปรับลดการขาดดุลรัฐบาลของอิตาลีอย่างไรก็ตาม สานักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง คาดว่า อัตราเงินเฟ้อในเดือนธันวาคมน่าจะมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากแนวโน้มในการปรับลดลงของราคาสินค้าในหมวดพลังงาน และเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในภูมิภาคยุโรปที่จะส่งผลให้อุปสงค์รวมลดลง และคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวลดลงอยู่ในกรอบเงินเฟ้อเป้าหมายที่ร้อยละ 2 ในช่วงกลางปีหน้า

อัตราดอกเบี้ย
  • ECB ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีกร้อยละ 0.25 ในเดือนธันวาคมเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจที่อาจเข้าไปสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอย

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2554 คณะกรรมการธนาคารกลางสหภาพยุโรป (European Central Bank: ECB) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Market Refinancing Operations (MRO) ร้อยละ 0.25 จากร้อยละ1.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ต่อปี นับเป็นการประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดต่อกันในรอบ 2 เดือน ซึ่งสะท้อนความกังวลของ ECB ต่อการแผ่ขยายของวิกฤติหนี้สาธารณะที่ขยายเป็นวงกว้างในกลุ่มประเทศ Euro Area 17 ประเทศ และต่อภาวะเศรษฐกิจหดตัวที่อาจเกิดขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปี ประกอบกับแรงกดดันจากอัตราเงินเฟอที่มีแนวโน้มลดลงภายใต้กรอบอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางแห่งชาติยุโรปวางไว้ที่ร้อยละ 2 ในช่วงกลางปีหน้า

นอกจากนี้คณะกรรมการธนาคารกลางสหภาพยุโรป (European Central Bank) ยังได้ออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือสภาพคล่อง (liquidity) ให้แก่สถาบันการเงินผ่านการให้กู้ผ่านตลาดซื้อคืนที่มีระยะเวลาชาระคืนถึง 36 เดือน โดยไม่มีการจำกัดจำนวน (Longer- term refinancing operations: LTROs) และลดอัตราเงินสารองทางกฎหมาย(reserve ratio) จากร้อยละ 2 เป็นร้อยละ 1 เพื่อเพิ่มปริมาณเงินให้สถาบันการเงินสามารถปล่อยสินเชื่อในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ECB ได้ปรับลดมาตรฐานของสินทรัพย์ที่สถาบันการเงินต้องนามาใช้ค้าประกันการกู้เงินกับธนาคารกลาง ECB เพื่อเป็นการช่วยให้ธนาคารพาณิชย์มีความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ของ ECB ได้ง่ายและสะดวกขึ้น เพื่อช่วยป้องกันปัญหาสภาพคล่องตึงตัว (Credit Crunch) ในระบบเศรษฐกิจ

แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2555
  • เศรษฐกิจในเขตยูโรโซนมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงเหลือเพียง 0.5% ในปี 2555

European Commission คาดว่า เศรษฐกิจในเขตยูโรโซนมีแนวโน้มขยายตัวชะลอตัวเหลือเพียงร้อยละ 0.5% ในปี 2555 ลดลงจากที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.5% ในปี 2554 เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชน (Private Consumption) ซึ่งมีสัดส่วนสูงที่สุดในระบบเศรษฐกิจ (ประมาณร้อยละ 57 ของ GDP) คาดว่าจะขยายตัวเพียง 0.4% ในปี 2555 ตามอัตราการว่างงานที่คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นในปีหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 10.1 ของกำลังแรงงาน ประกอบกับนโยบายการตัดลดงบประมาณรายจ่ายภาครัฐตามนโยบายลดการขาดดุลการคลังของรัฐบาลที่ประสบกับปญหาหนี้สาธารณะ จะส่งผลให้แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาครัฐผ่านรายจ่ายเพื่อการบริโภคภาครัฐ (Government Consumption) หดตัว -0.2% ในปี 2555 นอกจากนั้น ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการของเศรษฐกิจยูโรโซน (ซึ่งมีสัดส่วนเป็นอันดับสองในระบบเศรษฐกิจที่ประมาณร้อยละ 41 ของ GDP) คาดว่าจะชะลอการขยายตัวเหลือเพียง 3.4% ในปี 2012 สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวในปี 2555

ในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ European Commission คาดว่าปญหาหนี้สาธารณะในยุโรปยังคงทวีความรุนแรงต่อเนื่อง โดยหนี้ของรัฐบาลต่อ GDP คาดว่าจะสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 90.4 ของ GDP ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ Stability and Growth Pact ของประเทศสมาชิกที่ใช้เงินสกุลยูโร ที่กาหนดเกณฑ์ไม่ให้หนี้รัฐบาลสูงเกินกว่าร้อยละ 60 ของ GDP อย่างไรกีดี เสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศด้านอัตราเงินเฟอในปี 2555 คาดว่าจะปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 1.7% ซึ่งอยู่ภายใต้เกณฑ์เปาหมายเงินเฟอของธนาคารกลางยุโรปที่กาหนดให้ไม่เกิน 2%

ประเด็นเศรษฐกิจสาคัญ ๆ ในรอบเดือนที่ผ่านมา
  • ในวันที่ 9 ธันวาคม 2554 ที่ประชุมผู้นายุโรป (EU Leader Summit) ซึ่งประกอบด้วยผู้นำของประเทศสมาชิกยุโรป EU (ยกเว้นผู้นาอังกฤษที่คัดค้าน Veto ในที่ประชุม) และผู้นาประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร Euro ได้ตกลงมาตรการแก้ไขวิกฤติหนี้ในยุโรปเพิ่มเติม 3 ด้านหลัก สรุปได้ดังนี้

(1) ประเทศสมาชิก EU ตกลงที่จะมีสนธิสัญญาระหว่างประเทศ (Intergovernmental Treaty) เพื่อกาหนดเกณฑ์ความเข้มงวดด้านการคลัง Fiscal Compact ที่จะสร้างความมั่นใจให้ตลาดการเงิน ต่อการแก้ไขวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรปและปองกันวิกฤติในอนาคต ดังนี้

1.1 กำหนดกฎการคลัง (Fiscal Rule) ของการขาดดุลงบประมาณพื้นฐาน Structural Budget Deficit ไม่ให้เกินร้อยละ 0.5 ของ GDP ในแต่ละประเทศ โดยที่ประเทศสมาชิก EU แต่ละประเทศจะต้องปรับแก้กฎหมายหรือรัฐธรรมนูญของตนเองให้สอดคล้องกับกฎการคลังดังกล่าว และหากประเทศสมาชิกขาดดุลงบประมาณพื้นฐานเกินร้อยละ 3 ของ GDP จะถูกมาตรการลงโทษ (Sanction) จากประเทศสมาชิก

1.2 กำหนดกฎการคลังของการปรับลดหนี้สาธารณะของรัฐบาล (Government Debt) สาหรับประเทศสมาชิก EU ที่มีหนี้สาธารณะเกินร้อยละ 60 ของ GDP โดยประเทศที่ที่มีหนี้สาธารณะเกินกฎการคลังดังกล่าวจะต้องลดหนี้สาธารณะให้ได้ปีละ 0.05 ต่อปี

1.3 กำหนดกลไกในการบังคับให้ประเทศสมาชิกปฎิบัติตามกฎการคลัง (Enforcement Mechanism) โดยกาหนดให้ European Commission: EC เป็นหน่วยงานกากับตรวจสอบให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามกฎการคลังดังกล่าว และหากประเทศสมาชิกไม่สามารถปฏิบัติตามกฎการคลังที่กาหนด ประเทศสมาชิกจะต้องปฏิบัติตามนโยบายลดการขาดดุลโดยอัตโนมัติตามที่ European Commission กาหนด

(2) ประเทศสมาชิก EU ตกลงที่จะนากลไกถาวรในการช่วยเหลือทางการเงินยุโรป European Stability Mechanism: ESM มาใช้เร็วขึ้นกว่ากาหนด โดยจะเริ่มใช้ภายในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.2012 (พ.ศ.2555) จากเดิมที่คาดว่าจะนามาใช้ในกลางปี ค.ศ.2013 (พ.ศ.2556) โดยมีเพดานวงเงินให้ความช่วยเหลือทางการเงินจานวน 500 พันล้านยูโร ซึ่งผู้นายุโรปจะทบทวนความเพียงพอของวงเงินดังกล่าวอีกครั้งในเดือนมีนาคม 2555 ทั้งนี้ กองทุนชั่วคราวที่ใช้รักษาเสถียรภาพการเงิน European Financial Stability Facility (EFSF) จะยังคงใช้คู่ขนานต่อไปจนถึงช่วงกลางปี ค.ศ.2013

(3) ประเทศสมาชิก EU ตกลงที่จะให้ธนาคารกลางของแต่ละประเทศสมาชิก EU พิจารณาให้เงินกู้ยืมแก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในวงเงินไม่เกิน 200 พันล้านยูโร เพื่อให้ IMF มีเงินเพียงพอที่จะให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศสมาชิกที่ประสบวิกฤติทางการเงิน ซึ่งภายหลังจากการประชุมผู้นายุโรป ธนาคารกลางของประเทศสมาชิก EU ได้ตัดสินใจให้กู้เงินแก่ IMF ทั้งสิ้น 150 พันล้านยูโร

สานักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ได้ประเมินผลกระทบของมาตรการฯ ข้างต้น ดังนี้
  • มาตรการแก้ไขปญหาวิกฤติหนี้สาธารณะของผู้นายุโรปข้างต้นเป็นความพยายามที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ตลาดการเงินต่อการแก้ไขปญหาหนี้สาธารณะในยุโรป เรื่องหนี้สินล้นพ้นตัว (Solvency Problems) ผ่านสนธิสัญญาฉบับใหม่ที่กาหนดกฎการคลัง Fiscal Rule ที่เข้มงวดขึ้น โดยเฉพาะการกาหนดกลไกในการบังคับให้สมาชิกที่ขาดดุลงบประมาณพื้นฐานต่อ GDP และมีหนี้รัฐบาลต่อ GDP ต้องลดการขาดดุลและลดสัดส่วนหนี้ต่อ GDP ลงให้ได้ตามที่ตกลง (ซึ่งแตกต่างจากสนธิสัญญา Lisbon ในปจจุบัน ที่กาหนดแค่เกณฑ์การคลัง แต่ไม่ได้กาหนดกลไกบังคับให้ประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตาม) แต่ขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียดและความชัดเจนของเนื้อหาสาระของกลไกการบังคับใช้ในสนธิสัญญาฉบับใหม่
  • การกำหนดใช้งบประมาณพื้นฐาน (Structural Budget Deficit) (ซึ่งในทางวิชาการหมายถืงงบประมาณที่สอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจของประเทศซึ่งปราศจากความผันผวนทางเศรษฐกิจ) มากำหนดเป็นกฎการคลัง (Fiscal Rule) ค่อนข้างทาได้ยากในทางปฏิบัติ เนื่องจากไม่มีวิธีการวัดศักยภาพทางเศรษฐกิจที่แน่นอนในทางวิชาการ และเป็นที่เข้าใจยาก
  • สำหรับข้อตกลงของผู้นายุโรปที่ตกลงให้นากลไกถาวรในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินยุโรป European Stability Mechanism: ESM มาใช้เร็วขึ้น รวมทั้งการให้ธนาคารกลางแต่ละประเทศปล่อยเงินกู้แก่ IMF เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการช่วยเหลือทางการเงินของ IMF เป็นมาตรการที่มุ่งแก้ปญหาการขาดสภาพคล่อง (Liquidity Problem) ในยุโรป อย่างไรก็ดีในทางปฏิบัติ ESM ยังไม่สามารถนามาใช้ได้อย่างรวดเร็ว จนกว่าประเทศสมาชิกจะจ่ายเงินทุนประเดิม(Paid-in Capital) เรียบร้อยแล้ว ซึ่งประเทศสมาชิกอาจต้องขออนุมัติจัดสรรงบประมาณที่ใช้ระยะเวลานาน ทาให้กลไก ESM อาจไม่สามารถนามาใช้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินเร็วตามที่มุ่งหวัง
  • ประเทศสมาชิก EU หลายประเทศ จะต้องนาข้อตกลงดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาแต่ละประเทศ ซึ่งหากข้อตกลงดังกล่าวไม่สามารถผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาในบางประเทส ก็จะส่งผลกระทบต่อมาตรการแก้ปญหาวิกฤติหนี้สาธารณะของยุโรปในภาพรวม และน่าจะส่งผลให้ตลาดเงินตลาดทุนผันผวนอย่างมากในอนาคต

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ