รายงานภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่น ประจำสัปดาห์วันที่ 12 - 22 ธันวาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 27, 2011 12:22 —กระทรวงการคลัง

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้

1. คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นให้ความเห็นชอบร่างงบประมาณเพิ่มเติมครั้งที่ 4 ประจาปี 2554

2. ดัชนีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาวะธุรกิจโดยทั่วไป (Business Sentiment Diffusion Index: DI) ของผู้ประกอบการรายใหญ่ปรับลดลงเป็นติดลบในไตรมาส 4

3. รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศขยายเวลาจัดทาแผนการปรับปรุงระบบภาษี

4. นักลงทุนต่างชาติหันมาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลมากขึ้นเนื่องจากปัญหาความไม่แน่นอนทางการเงินในยุโรป

5. การส่งออกประจาเดือนพฤศจิกายนดลงร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า

-----------------------------------

1. คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นให้ความเห็นชอบร่างงบประมาณเพิ่มเติมครั้งที่ 4 ประจาปี 2554

คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นให้ความเห็นชอบร่างงบประมาณเพิ่มเติมครั้งที่ 4 ประจาปี 2554 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2554 โดยงบประมาณเพิ่มเติมครั้งที่ 4 นี้มีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มงบประมาณสนับสนุนภาคการเกษตร เนื่องจากรัฐบาลกาลังอยู่ระหว่างการพิจารณาเข้าร่วมการหารือกรอบความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership: TPP)

ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อภาคการเกษตรหากญี่ปุ่นตัดสินใจเข้าร่วมใน TPP ซึ่งเนื้อหาของงบประมาณเพิ่มเติมครั้งที่ 4 นี้ได้มีการนาความเห็นของพรรคฝ่ายค้านเข้ามาใช้ในการจัดทาร่างงบประมาณดังกล่าวในหลายส่วน นอกจากนี้รัฐบาลยังได้เพิ่มนโยบายเพื่อสนับสนุนภาคการเกษตรโดยจะมีการดาเนินแผนการฟื้นฟูภาคการเกษตรและการประมงเร็วขึ้นกว่าเดิมที่ได้กาหนดไว้เพื่อเป็นการลดแรงต้านทานของพรรคฝ่ายค้านที่ไม่เห็นด้วยต่อการเข้าร่วม TPP ด้วย ซึ่งรัฐบาลได้เปิดเผยว่างบประมาณเพิ่มเติมครั้งนี้มียอดเท่ากับ 2.5345 ล้านล้านเยน และมีแผนจะนาเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อการพิจารณาในช่วงต้นปี 2555

2. ดัชนีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาวะธุรกิจโดยทั่วไป (Business Sentiment Diffusion Index: DI) ของผู้ประกอบการรายใหญ่ปรับลดลงเป็นติดลบในไตรมาส 4

ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ)ได้ประกาศผลการสารวจ Tankan ซึ่งเป็นการที่ BOJ สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในประเด็นต่างๆ เช่น ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะธุรกิจทั่วไป ภาวะอุปสงค์และอุปทาน ภาวะยอดขาย และภาวะผลประกอบการเป็นต้น จากกลุ่มผู้ประกอบการขนาดใหญ่และผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อมทั้งในภาคอุตสาหกรรมและนอกภาคอุตสาหกรรมจานวนทุก 3 เดือน โดยในครั้งนี้ได้ทาการสารวจทั้งสิ้น10,846 ราย

ทั้งนี้ ดัชนีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาวะธุรกิจโดยทั่วไป (Business Sentiment Diffusion Index: DI) เป็นตัวเลขแสดงผลลัพธ์ของจานวนบริษัทที่ให้ความคิดเห็นว่าสภาวะธุรกิจดีลบด้วยจานวนบริษัทที่ให้ความคิดเห็นว่าสภาวะธุรกิจไม่ดีจากผลการสารวจ Tankan พบว่า DI ของกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ภาคอุตสาหกรรมติดลบ 4 จุด ลดลง 6 จุด ในการสารวจครั้งก่อนหน้า อยู่ที่ระดับ 2 จุด ซึ่งเป็นการติดลบเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน โดยมีสาเหตุมาจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงเนื่องมาจากวิกฤติการเงินของยุโรปและเงินเยนที่แข็งค่า นอกจากนี้อุทกภัยในประเทศไทยยังส่งผลให้การส่งออกของญี่ปุ่นลดลงอย่างมากด้วย ขณะที่ของภาคการบริการเพิ่มขึ้น 3 จุดอยู่ที่ระดับ 4 จุด เนื่องจากการบริโภคและการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นหลังจากเกิดแผ่นดินไหวส่งผลให้ธุรกิจภาคการบริการ เช่นโรงแรมและร้านอาหาร เริ่มฟื้นตัว

3. รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศขยายเวลาจัดทาแผนการปรับปรุงระบบภาษี

รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศขยายเวลาจัดทาแผนการปรับปรุงระบบภาษีเพื่อหางบประมาณเพื่อการใช้จ่ายด้านการประกันสังคม และจะมีการปรับปรุงระบบเงินบานาญเพื่อให้สอดคล้องกับค่าครองชีพที่ลดลงในปัจจุบัน ซึ่งคาดว่าจะสามารถช่วยลดรายจ่ายของรัฐบาลได้ เนื่องจากการคานวณของรัฐบาลพบว่ารายจ่ายด้านการประกันสังคมมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ รัฐบาลยังอยู่ระหว่างการพิจารณาหาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปรับขึ้นอัตราภาษีบริโภค และปรับลดอัตราภาษีรายได้สาหรับผู้ที่มีรายได้ต่า โดยพรรครัฐบาลมีนโยบายจะปรับขึ้นอัตราภาษีเป็นจานวนร้อยละ 10 ภายในเวลา 5 ปี จากที่ปัจจุบันมีอัตราเท่ากับร้อยละ 5 เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวเพียงพอต่อการปรับขึ้นอัตราภาษีดังกล่าว โดยมีจุดประสงค์จะนาไปใช้เป็นงบประมาณสาหรับนโยบายเพื่อการสนับสนุนประชากรเด็กและผู้สูงอายุ

4. นักลงทุนต่างชาติหันมาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลมากขึ้นเนื่องจากปัญหาความไม่แน่นอนทางการเงินในยุโรป

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2554 Bank of Japan (BOJ) ได้เปิดเผยผลการสารวจการหมุนเวียนของเงินทุนระหว่างเดือนกรกฎาคม — เดือนกันยายน 2554 ว่ายอดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นของนักลงทุนต่างชาติเมื่อช่วงสิ้นเดือนกันยายน 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.7 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยมีจานวนเท่ากับ 76 ล้านล้านเยนซึ่งเป็นจานวนที่มากที่สุดในประวัติการณ์

ยอดรวมของการถือครองพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นของนักลงทุนต่างชาติในปัจจุบันมีจานวนเท่ากับร้อยละ 8.2 ของยอดคงค้างในตลาดซึ่งเป็นยอดที่สูงเป็นอันดับสองรองจากช่วงสิ้นเดือนกันยายน 2551 ที่มียอดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นของนักลงทุนต่างชาติเท่ากับร้อยละ 8.5 เนื่องจากผลกระทบจากเหตุการณ์ Lehman Shock โดยสาเหตุการเพิ่มขึ้นของการการถือครองพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นของนักลงทุนต่างชาตินั้นเนื่องจากปัญหาความไม่มั่นคงทางการเงินของทวีปยุโรปในปัจจุบันได้ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติหันมาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นที่มีความมั่นคงมากขึ้น ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศเช่นกรีซที่มีอัตราการถือครองพันธบัตรรัฐบาลโดยนักลงทุนต่างชาติคิดเป็นจานวนถึงร้อยละ 70 แล้วยังถือว่ามีจานวนไม่มาก แต่อย่างไรก็ตามผู้เกี่ยวข้องได้ให้ความเห็นว่าหากยอดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นของนักลงทุนต่างชาติเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องก็อาจจะมีผลต่อความเชื่อมั่นและราคาของพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นได้ในอนาคต

5. การส่งออกประจำเดือนพฤศจิกายนดลงร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า

กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่าญี่ปุ่นขาดดุลการค้าในเดือนพฤศจิกายน 2554 เท่ากับ 684.7 พันล้านเยน ซึ่งเป็นการขาดดุลการค้าติดต่อกันเป็นเวลา 2 เดือน โดยการส่งออกลดลงร้อยละ 4.5 อยู่ที่ 5,197.7 พันล้านเยน เป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเวลา 2 เดือนแล้ว โดยการส่งออกไปยังประเทศในภูมิภาคเอเชียและยุโรปลดลงอย่างมาก เนื่องจากการวิกฤติการเงินในยุโรปส่งผลให้ความต้องการรถยนต์และสารกึ่งนาตัวลดลงในทั่วโลก ประกอบกับอุทกภัยในประเทศไทยก็ส่งผลให้การส่งออกชิ้นส่วนลดลง ส่วนการนาเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 อยู่ที่ 5,882.4 พันล้านเยน เนื่องจากราคาเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานทดแทนสูงขึ้น

สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ณ กรุงโตเกียว

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ