รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 12 มกราคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 12, 2012 12:47 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 12 มกราคม 2555

Summary:

1. คาดประชุม กนง. นัดแรกลดดอกเบี้ยอีก 0.25%

2. ก.ท่องเที่ยวคาดปี 55 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศโตร้อยละ 8 — 10 จากปี 54

3. BOJ มองเศรษฐกิจสหรัฐ-ยุโรปซบเซายืดเยื้อ

Highlight:
1. คาดประชุม กนง. นัดแรกลดดอกเบี้ยอีก 0.25%
  • นายพรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า มีแนวโน้มที่อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (RP) ในปี 55 จะปรับลดลงอีกประมาณร้อยละ 0.50 โดยการประชุม กนง.นัดแรกในเดือน ม.ค.55 ที่จะปรับลดลงร้อยละ 0.25
  • สศค. วิเคราะห์ว่า กนง.ได้ดำเนินนโยบายการเงินแบบเข็มงวดมากขึ้นหลังจากที่คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 1.25 ต่อปี เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจโลกเป็นเวลากว่า 16 เดือน นับตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 53 กนง.ได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 9 ครั้งมาอยู่ที่ 3.50 โดยในปี 55 การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยยังคงได้รับปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวอย่างเปราะบาง โดยเฉพาะวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป และปัญหาระหว่างอิหร่านกับสหรัฐฯ ซึ่งอาจส่งผลให้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายชะลอลงเมื่อเทียบกับปี 54 ทั้งนี้ สศค.คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 54 อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.50 ต่อปี โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.25-3.75 ต่อปี และในปี 55 อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.25 โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.75-3.75 (คาดการณ์ ณ เดือน ธ.ค.54)
2. ก.ท่องเที่ยวคาด ปี 55 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศโตร้อยละ 8 — 10 จากปี 54
  • โฆษกกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เผยว่าในปี 54 มีจานวนนักท่องที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้ามาประเทศไทยจำนวนทั้งสิ้น 19.1 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8 จากปี 53 ตามการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโลกและชื่อเสียงของแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย ทั้งนี้ ได้ตั้งเป้าหมายในปี 55 ว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทยเพิ่มขึ้นจากปี 54 ร้อยละ 8-10 อย่างไรก็ ตามสถานการณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทยในปี 55 อาจจะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในสหภาพยุโรปและสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้น เชื่อว่าหลังรัฐบาลมีแผนฟื้นฟูประเทศจะมีส่วนช่วยให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเกิดความเชื่อมันกลับคืนมา
  • สศค. วิเคราะห์ว่า สถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในปี 54 ได้ส่งผลให้จานวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนพ.ย.54 หดตัวร้อยละ -17.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งนับเป็นการหดตัวครั้งแรก หลังจากเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในเดือนพ.ค. 53 อย่างไรก็ตาม ข้อมูลล่าสุดในเดือนธ.ค.มีนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 1.7 ล้านคน หดตัวร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแต่หากพิจารณาเทีบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาลมีการขยายตัวร้อยละ 20.2 ต่อเดือน ทั้งนี้เหตุการณ์อุทกภัยได้ทาให้จำนวนักท่องเที่ยวจ่าวประเทศหายไปทั้งสิ้น 5.18 แสนคนจากการคาดการณ์จานวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเดิมของสศค.ที่จานวน 19.5 ล้านคน ซึ่งสะท้อนว่าจำนวนนักท่องเที่ยวได้กลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว และยังคงบทบาทสาคัญในการช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 54 โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 19.8 ล้านคน ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 19.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และคาดว่าจะสร้างรายได้ให้กับประเทศจำนวน 7.72 แสนล้านบาท ในปี 54
3. BOJ มองเศรษฐกิจสหรัฐ-ยุโรปซบเซายืดเยื้อ
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มองว่าสภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาในสหรัฐและยุโรปอาจยืดเยื้อยาวนาน เมื่อพิจารณาจากหนี้สินสะสมที่มีอยู่ในจานวนมากในช่วงที่ผ่านมา การรับมือกับภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซานั้น สิ่งสาคัญคือการกระตุ้นศักยภาพด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ และเศรษฐกิจโลกทั้งหมด เช่น หลีกเลี่ยงการกีดกันทางการค้า และการเข้าแทรกแซงที่มากจนเกินไปของรัฐบาล
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจยูโรโซนไตรมาสที่ 3/54 ขยายตัวจากช่วงไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 0.2 (q/q) และขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.4 (y/y) เป็นผลจากการบริโภคภาคครัวเรือนและการส่งออกของประเทศเยอรมนีและฝรั่งเศสที่ขยายตัวเร่งขึ้นในไตรมาสที่ 3 ขณะที่เศรษฐกิจประเทศอื่นในยูโรโซนหดตัวลงหรือไม่มีการขยายตัว ซึ่งสะท้อนถึงการลุกลามของวิกฤติหนี้สาธารณะจากประเทศรอยขอบที่ส่งผลกระทบถึงประเทศเศรษฐกิจหลักอื่นๆ ซึ่งเศรษฐกิจยูโรโซนไตรมาสที่ 4 ยังคงมีแนวโน้มหดตัว โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจที่วัดจากดัชนี PMI ภาคการผลิดและบริการที่อยู่ในระดับ 47.1 จุด ลดลงต่ำสุดนับจากกลางปี 2552 และอัตราการว่างงานที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 10.3 ของกาลังแรงงาน บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะยังคงชะลอลงต่อเนื่อง ในส่วนของเศรษฐกิจสหรัฐ ที่ผ่านมามีสัญญาณบวกหลายปัจจัย เช่น อัตราการว่างงานที่ปรับลดลงสู่ระดับ 8.6 ในเดือนพ.ย.ดัชนีภาคการผลิตที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ในเดือนต.ค. ตลอดจนการใช้จ่ายผู้บริโภคที่ขยายตัวดีขึ้น ทาให้หลายฝ่ายคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสที่ 4 ทั้งนี้ สศค.คาดว่าปี 54 เศรษฐกิจสหรัฐฯและยุโรป จะขยายตัวที่ร้อยละ 1.7 และ 1.5 ตามลาดับ และในปี 55 จะขยายตัวที่ร้อยละ 1.9 และ -0.8 ตามลาดับ

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ