รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 9 - 13 มกราคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 16, 2012 10:57 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้อปท.) ในเดือน ธ.ค.54 มีจานวนทั้งสิ้น 124.6 พันล้านบาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.1
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ธ.ค. 54 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 ในขณะที่ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างอยู่ที่ร้อยละ 6.7
  • ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน พ.ย. 54 ขาดดุลเล็กน้อยที่ -136.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • สินเชื่อเดือน พ.ย.54 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 16.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่เงินฝากสถาบันการเงินขยายตัวที่ร้อยละ 10.3
  • อัตราเงินเฟ้อของจีน ในเดือน ธ.ค. 54 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และต่าที่สุดในรอบ 15 เดือนมาอยู่ที่ร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า
  • อัตราการว่างงานสหรัฐฯ ในเดือน ธ.ค. 54 ลดลงสู่ระดับต่าที่สุดในรอบเกือบ 3 ปีมาอยู่ที่ร้อยละ 8.5 ของกาลังแรงงานรวม
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสหภาพยุโรป ในเดือน พ.ย. 54 หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ -0.1 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa)
  • วันที่ 13 ม.ค. 55 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.25
Indicators next week
 Indicators                         Forecast            Previous
Dec: TISI  (Index)                    90.0                 87.5
  • โดยมีปัจจัยบวกจากปัญหาน้ำท่วมที่คลี่คลายลง และบางบริษัทสามารถกลับมาทาการผลิตได้ในระดับใกล้ปกติ อย่างไรก็ตามยังมีหลายๆ บริษัทในนิคมอุตสาหกรรมยังคงต้องหยุดการผลิต เนื่องจากเครื่องจักรและปัจจัยการผลิตอื่นๆ ได้รับความเสียหาย ประกอบกับความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก เป็นปัจจัยกดดันให้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมยังคงต่ากว่า 100
Economic Indicators: This Week
  • รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้อปท.) ในเดือน ธ.ค.54 มีจานวนทั้งสิ้น 124.6 พันล้านบาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.1 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก พบว่า ขยายตัวร้อยละ 8.8 เนื่องจากมีการนาเข้าสินค้าประเภทรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ค่อนข้างสูงเพื่อทดแทนการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้าท่วม สาหรับภาษีฐานบริโภคขยายตัวร้อยละ 12.2 และภาษีฐานรายได้ซึ่งรวมภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขยายตัวร้อยละ 12.1 โดยมีสาเหตุจากกรมสรรพากรได้อนุโลมให้ผู้ประกอบการที่ไม่สามารถนาส่งภาษีในพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้าท่วมในช่วงเดือน ต.ค. - พ.ย. 54 ให้สามารถนาส่งภาษีในเดือน ธ.ค.54
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน ธ.ค. 54 มีมูลค่า 48.8 พันล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 9.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -1.0 และเมื่อขจัดผลทางฤดูการออกขยายตัวร้อยละ 8.9 ตามการขยายตัวของภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ที่จัดเก็บบนการบริโภคในประเทศและบนฐานการนาเข้า ที่ขยายตัวร้อยละ 8.9 และ 20.1 ตามลาดับ โดยได้รับปัจจัยบวกจากผลกระทบจากอุทกภัยคลี่คลายลง ทั้งนี้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ในปี 54 ขยายตัวร้อยละ 11.7 จากปี 53
  • ภาษีจากการทาธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ธ.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -14.4 และเมื่อขจัดผลทางฤดูการออกขยายตัวร้อยละ 19.8 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 4 ของปี 54 ภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมหดตัวร้อยละ -7.9 หดตัวลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 34.5 เนื่องจากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นทาให้ผู้บริโภคและผู้ประกอบการได้รับผลกระทบเป็นอย่างสูง ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ทาให้ตลาดที่อยู่อาศัยเกิดภาวะสูญญากาศ โดยในส่วนของผู้บริโภคชะลอการซื้อที่อยู่อาศัย และชะลอการโอนกรรมสิทธิ ขณะที่ผู้ประกอบการชะลอการก่อสร้างและเปิดโครงการใหม่ ทั้งนี้ ภาษีจากการทาธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในปี 54 ขยายตัวร้อยละ 11.6
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ธ.ค. 54 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 ลดลงจากเดือน พ.ย. 54 ที่อยู่ที่ร้อยละ 4.2 ทั้งนี้เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหดตัวที่ร้อยละ -0.5 โดยเป็นผลมาจากการลดลงของราคาไข่ และผักสด เนื่องจากปัญหาอุทกภัยคลี่คลาย ประกอบกับราคาน้ามันในประเทศมีการปรับตัวลดลงตามราคาน้ามันในตลาดโลก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 2.7 ลดลงจากเดือนก่อน ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 54 อยู่ที่ร้อยละ 3.8
  • ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ธ.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 7.3 ตามการลดลงของราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก และซีเมนต์ เนื่องจากราคาวัตถุดิบในตลาดปรับตัวลดลง ประกอบกับสถานการณ์น้าท่วมคลี่คลายลง ส่งผลให้ความต้องการวัสดุก่อสร้างปรับตัวลดลง ทั้งนี้ ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในปี 54 ขยายตัวร้อยละ 6.3 จากปี 53
  • การจ้างงานเดือน พ.ย. 54 อยู่ที่ 39 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าคิดเป็นจำนวน 4.3 หมื่นคน ขณะที่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน การจ้างงานเพิ่มขึ้น 8 แสนคน โดยมีสาเหตุหลักมาจากการจ้างงานภาคบริการที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีการจ้างงานลดลง จากปัญหาอุทกภัย ส่งผลให้ อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ของกาลังแรงงานรวม คิดเป็นผู้ว่างงาน 3.2 แสนคน ทั้งนี้ อัตราการว่างงานในช่วง 11 เดือนแรกปี 54 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 ของกาลังแรงงานรวม
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ธ.ค. 54 หดตัวที่ร้อยละ -21.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -11.0 โดยเป็นการหดตัวต่อเนื่องของยอดขายรถจักรยานยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร และในส่วนของภูมิภาค ที่หดตัวร้อยละ -16.4 และ -23.2 จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -40.8 และ -3.6 ตามลาดับ ตามอุปทานการผลิตที่ตึงตัว จากปัญหาน้าท่วมหนักในช่วงเดือน ต.ค. - พ.ย. 54 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ยอดขายรถจักยานยนต์ ในปี 54 ขยายตัวร้อยละ 7.9 จากปี 53
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ธ.ค. 54 อยู่ที่ระดับ 63.1 จากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 61.0 ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน โดยได้รับปัจจัยบวกจากสถานการณ์น้าท่วมคลี่คลายลง ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ เช่น การปรับขึ้นเงินเดือนราชการในเดือน ม.ค. 55 รวมถึงมาตรการในการเยียวยาและฟื้นฟูผู้ประสบภัยหลังภาวะน้าท่วม อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังมีความกังวลจาก แนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัว จากปัญหาหนี้สาธารณะในสหภาพยุโรป
  • ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศในเดือน พ.ย. 54 หดตัวร้อยละ -22.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ร้อยละ-22.3 สอดคล้องกับอัตราการใช้กาลังการผลิต (Cap U) ในหมวดการผลิตโลหะขั้นมูลฐานในเดือน พ.ย.54 ที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 39.4 ลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 44.8 โดยยอดขายเหล็กที่ลดลงใน เดือน พ.ย.54 มาจากในหมวดภาคการก่อสร้าง ได้แก่ เหล็กเส้นกลม เหล็กเส้นข้ออ้อย ลวดเหล็กแรงดึงสูง และลวดเหล็ก ที่หดตัวร้อยละ -32.5 -28.4 -23.2 และ -6.8 ตามลาดับ ขณะที่เหล็กที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมที่สะท้อนจากเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 19.6 จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -4.7 จากการที่โรงงานผลิตรถยนต์เริ่มกลับมาผลิตได้อีกครั้งหลังจากต้องหยุดกาลังการผลิตลงในช่วงเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม
  • ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน พ.ย. 54 ขาดดุลเล็กน้อยที่ -136.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุลเล็กน้อยที่ 39.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลการค้าเกินดุลลดลงมากมาอยู่ที่ 218.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามการส่งออกที่ชะลอตัวลงมาก จากปัจจัยด้านอุปทานที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย ในขณะที่ดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิขาดดุลลดลงที่ -354.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามค่าบริการจ่าย โดยเฉพาะค่าระวางสินค้าและค่าโดยสารเดินทางที่ลดลงตามการนาเข้าที่ชะลอลงมากในช่วงที่เกิดปัญหาอุทกภัย ทาให้ระบบขนส่งและโลจิสติกส์มีปัญหาจึงไม่สามารถนาเข้าสินค้าวัตถุดิบและเครื่องจักรเพื่อใช้ในการผลิตได้
  • สินเชื่อเดือน พ.ย.54 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 16.0 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการขยายตัวชะลอลงธนาคารพาณิชย์ ทั้งจากสินเชื่อธุริกจและสินเชื่อภาคครัวเรือน ขณะที่สินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวเร่งขึ้น ส่วนหนึ่งจากมาตรการช่วยเหลือเพื่อฟื้นฟูหลังภาวะน้าท่วม ทั้งนี้ คาดว่า สินเชื่อธนาคารพาณิชย์จะกลับมาขยายตัวเร่งขึ้นในช่วงต้นปี 55 ตามการฟื้นตัวของภาคการผลิตและภาคครัวเรือนหลังภาวะน้ำท่วม
  • เงินฝากสถาบันการเงินเดือน พ.ย. 54 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 10.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือหดตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -0.1 หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว โดยหากพิจารณาตามผู้ให้เงินฝาก พบว่าเงินฝากของธนาคารพาณิชย์หดตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -0.8 (หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาล) ขณะที่เงินฝากสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 1.8 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาล) จากการระดมเงินฝากเพื่อรองรับสินเชื่อตามมาตรการของภาครัฐเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสถานการณ์น้าท่วม
Economic Indicators: Next Week
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ธ.ค. 54 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 90.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 87.5 โดยมีปัจจัยบวกจากปัญหาน้าท่วมที่คลี่คลายลง และบางบริษัทสามารถกลับมาทาการผลิตได้ในระดับใกล้ปกติ อย่างไรก็ตามยังมีหลายๆ บริษัทในนิคมอุตสาหกรรมยังคงต้องหยุดการผลิต เนื่องจากเครื่องจักรและปัจจัยการผลิตอื่นๆ ได้รับความเสียหาย ประกอบกับความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก เป็นปัจจัยกดดันให้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมยังคงต่ากว่า 100

Global Economic Indicators: This Week

Eurozone: mixed signal
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ย.54 หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ -0.1 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) จากผลผลิตสินค้าไม่คงทนที่หดตัว 0.8 จากเดือนก่อนหน้าเป็นสำคัญ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน ม.ค.55 คงที่ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 1.0 อัตราการว่างงานเดือน พ.ย.54 ทรงตัวที่ร้อยละ 10.3 ของกำลังแรงงานรวม ยอดค้าปลีกเดือน พ.ย.54 หดตัวร้อยละ -0.8 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa)
USA: mixed signal
  • อัตราการว่างวางเดือน ธ.ค.54 ลดลงสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบเกือบ 3 ปีมาอยู่ที่ร้อยละ 8.5 ของกำลังแรงงานรวม สอดคล้องกับตำแนห่งงานนอกภาคเกษตรในเดือน ธ.ค.54 ที่เพิ่มขึ้นสูงที่สุดในรอบ 3 เดือนที่ 200,000 ตำแหน่งงาจากเดือนก่อนหน้า ยอดค้าปลีกเดือน ธ.ค.54 ขยายตัวชะลอลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนหน้าหรือขยายตัวร้อยละ 6.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อนโดยหากไม่รวมยอดขายรถยนต์หดตัวที่ร้อยละ -0.2 จากเดือนก่อนหน้า
China: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค.54 ขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 9 เดือนที่ร้อยละ 13.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า สอดคล้องกับมูลค่านำเข้าที่ขยาตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 12.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน อัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค.54 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และต่ำที่สุดในรอบ 15 เดือนมาอยู่ที่ร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า จากการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันและอาหารเป็นสำคัญ
South Korea: mixed signal
  • วันที่ 13 ม.ค.55 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.25 จากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะความกังวลต่อสถาการ์หนี้สาธารณะในสหภาพยุโรป ขณะที่แรงกดดันจากเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงเมือเทียบกับช่วงครึ่งแรกของปี 54 ขณะที่อัตราการว่างงานเดือน ธ.ค.54 ทรงตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.1 ของกำลังแรงงานรวม สะท้อนอุปสงค์ในประเทศที่ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี ท่ามกลางความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลก
Indonesia: mixed signal
  • ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 6.0 จากความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ขณะที่แรงกดดันจากเงินเฟ้อลดลงอย่างต่อเนื่อง
Taiwan: worsening economic trend
  • มูลค่าการส่งออก เดือนธ.ค.54 ขยายตัวชะลอลงต่ำสุดในรอบ 2 ปีที่ร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า จากการส่งออกไปยังจีนและสหภาพยุโรปที่หดตัว สะท้อนอุปสงค์จากนอกประเทศที่ชะลอลงอย่างชัดเจนส่งผลให้ทั้งปี 54 มูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 12.3 ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ธ.ค.54 หดตัวที่ร้อยละ -2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -10.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อนส่งผลให้ทั้งปี 54 มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 12.1
Australia: mixed signal
  • ยอดค้าปลีก เดือน พ.ย.54 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า โดยมูลค่ายอดค้าปลีก (หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) อยู่ในระดับเดียวกับเดือนก่อนหน้า สะท้อนการบริโภคภาคเอกชนที่เริ่มส่งสัญญาณการชะลอลง แม้ว่าธนาคารกลางออสเตรเลียได้เริ่มใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้นก็ตาม
Malaysia: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ย.54 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 8.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการหดตัวของการส่งออกไปยังสิงคโปร์และสหรัฐเป็นสำคัญ สะท้อนการชะลอลงของอุปสงค์จากนอกประเทศตามการแผ่วลงของเศรษฐกิจโลก ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ธ.ค.54 เร่งขึ้นจากเดือนก่อหนน้าที่ร้อยละ 8.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
India: mixed signal
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมอินเดียเดือน พ.ย.54 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค.52 ที่ร้อยละ -4.7 จากการเร่งขึ้นของการผลิตในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าคงทน และอุปกรณ์ไฟฟ้า สะท้อนการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมท่ามกลางแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อหน้า และเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ เนื่องจากนักลงทุนคลายกังวลเครื่องวิกฤติเศรษฐกิจไทยในยุโรปบ้าง หลังจากที่ฟิทช์ออกมาแสดงความเห็นว่าจะยังคงอันดับความน่าเชื่อถือของฝรั่งเศสที่ระดับ AAA ไว้ ทั้งนี ระหว่างวันที่ 9-12 ม.ค.55 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -2,627 ล้านบาท ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยมีการเคลื่อนไหวเล็กน้อย โดยผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นและระยะยาวปรับตัวลดลงเป็นส่วนใหญ่ จากความกังวลว่าจะมีอุปทานพันธบัตรออกมาไม่มากนัก หลังจากนักลงทุนทราบข่าวการประมูลพันธบัตรรอบสัปดาห์หน้า ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 9-12 ม.ค.55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 793 ล้านบาท
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยปิดที่ระดับ 31.82 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 12 ม.ค.55 อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากสัปดาห์เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐร้อยละ -0.60 จากการไหลออกของเงินทุนโดยเฉพาะจากตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้านี้ร้อยละ -0.73 จากการที่ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงในอัตราที่มากกว่าการอ่อนค่าของค่าเงินคู่ค้า
  • ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องตลอดสัปดาห์ โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 12 ม.ค.55 ปิดที่ 1,650 ดอลล่าร์สหรัฐต่อออนซ์ สูงขึ้นจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,611 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์เนื่องจากใกล้เทศกาลตรุษจีน

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ