นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอแถลงสถานะ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2554 ดังนี้
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 มีจำนวน 4,303,532.11 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 40.54 ของ GDP โดยเป็นหนี้ของรัฐบาล 3,087,237.28 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,061,432.68 ล้านบาท และหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 154,862.15 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะลดลงสุทธิ 33,171.14 ล้านบาท โดยหนี้ของรัฐบาล และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 5,703.36 ล้านบาท และ 30,445.18 ล้านบาท ตามลำดับ ในขณะที่หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เพิ่มขึ้น 2,576.28 ล้านบาท และ 401.12 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนหน่วยงานอื่นของรัฐนั้นไม่มีหนี้คงค้าง ทั้งนี้ รายละเอียดและสัดส่วนของหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2554
1. หนี้ของรัฐบาล
1.1 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นสุทธิ 1,296.64 ล้านบาท เนื่องจาก
1.1.1 หนี้ต่างประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 988.64 ล้านบาท โดยผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาท เพิ่มขึ้นสุทธิ 979.53 ล้านบาท และการเบิกจ่ายสกุลเงินเหรียญสหรัฐทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้น 9.11 ล้านบาท
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นอัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อและขาย ณ วันทำการสุดท้ายของเดือน
ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินบาทหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงจำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ หลังจากที่ทำ การป้องกันความเสี่ยงการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว
1.1.2 หนี้ในประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 307.99 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจากการกู้เงินให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยกู้ต่อ จำนวน 299.27 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
1.2 หนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลงสุทธิ 7,000 ล้านบาท เนื่องจากการนำเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของพันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูระยะที่สอง (FIDF 1) จำนวน 39,000 ล้านบาท ที่ได้กู้ล่วงหน้าในเดือนตุลาคม 2554 ไปไถ่ถอนหนี้ที่ครบกำหนดในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 วงเงิน 89,099.20 ล้านบาท และมีการกู้เงินล่วงหน้า (Pre-funding) จำนวน 32,000 ล้านบาท เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของพันธบัตร FIDF 3 ที่จะครบกำหนดในวันที่ 2 กันยายน 2555 วงเงิน 206,023.25 ล้านบาท โดยเงินที่ได้จะนำไปให้กองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศบริหารลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ให้เกิดผลตอบแทนและลดต้นทุนในการทำ Pre-funding
2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน
2.1 หนี้ในประเทศ
2.1.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 2,516.79 ล้านบาท โดยเกิดจาก - การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยไถ่ถอนพันธบัตร 1,800 ล้านบาท - รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลค้ำประกันมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ 716.79 ล้านบาท
2.1.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 1,462.08 ล้านบาท โดยเกิดจาก - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคออกและไถ่ถอนพันธบัตร 1,300 ล้านบาท และ 90 ล้านบาท ตามลำดับ - รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ มากกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ 252.08 ล้านบาท
2.2 หนี้ต่างประเทศ
2.2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 3,002.53 ล้านบาท โดยเป็นผลจาก การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นสุทธิ 3,645.65 ล้านบาท และ การเบิกจ่ายน้อยกว่าชำระคืนหนี้สกุลเงินเยนและการชำระคืนหนี้สกุลเงินเหรียญสหรัฐทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 643.12 ล้านบาท
2.2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 628.46 ล้านบาท โดยผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลงสุทธิ 134.32 ล้านบาท และการเบิกจ่ายมากกว่าการชำระคืนหนี้สกุลเงินยูโร และการชำระคืนหนี้สกุลเงินเยนและเหรียญสหรัฐทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 762.78 ล้านบาท
3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)
3.1 หนี้ในประเทศ
หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 386 ล้านบาท โดยเกิดจาก - ธนาคารอาคารสงเคราะห์ออกและไถ่ถอนพันธบัตร 4,600 ล้านบาท และ 3,800 ล้านบาท ตามลำดับ - ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรมีการเบิกจ่ายน้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ 414 ล้านบาท
3.2 หนี้ต่างประเทศ
หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 15.12 ล้านบาท โดยผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นสุทธิ 55.40 ล้านบาท การชำระคืนหนี้สกุลเงินเหรียญสหรัฐทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 40.28 ล้านบาท
4. หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 30,445.18 ล้านบาท เนื่องจากการไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนดในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 ทำให้ ณ สิ้นเดือน ไม่มียอดหนี้คงค้างของหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
หนี้สาธารณะ จำนวน 4,303,532.11 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 345.683.89 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.03 และหนี้ในประเทศ 3,957,848.22 ล้านบาท หรือร้อยละ 91.97 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และเป็นหนี้ระยะยาว 4,261,442.30 ล้านบาท หรือร้อยละ 99.02 และหนี้ระยะสั้น 42,089.81 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.98 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 7/2555 19 มกราคม 2555--