รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 16 - 20 มกราคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 23, 2012 12:27 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน ธ.ค. 54 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจำนวน 172.6 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ธ.ค. 54 มีจำนวน 1.77 ล้านคน หรือหดตัวร้อยละ -2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ธ.ค. 54 อยู่ที่ระดับ 93.7
  • สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ในเดือน พ.ย. 54 อยู่ที่ระดับ 2.03 ล้านล้านบาท
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ย. 54 มีจำนวนทั้งสิ้น 4,303.5 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 40.5 ของ GDP
  • GDP จีน ไตรมาสที่ 4 ปี 54 ขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 2 ปีครึ่งที่ร้อยละ 8.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • S&P ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลฝรั่งเศส ออสเตรียลงสู่ระดับ AA+ และสเปน ลงสู่ระดับ A
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ ในเดือน ธ.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 0.9 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa)
Indicators next week
 Indicators                         Forecast            Previous
Dec: Passenger car sale (%YoY)       -40.0                -62.1
  • เนื่องจากยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะจังหวัดอยุธยาที่มีอุตสาหกรรมหลัก คือยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ ทำให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไม่สามารถผลิตได้ตามปกติ และไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ได้ตามกำหนด ทั้งนี้ คาดว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อยอดขายรถยนต์นั่งในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 54 โดยจะหดตัวสูงเป็นประวัติการณ์ เมื่อเทียบกับช่วงต้นปีที่ขยายตัวในอัตราเร่งอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ช่วง 11 เดือนแรกปี 54 ยอดขายรถยนต์นั่งขยายตัวที่ร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
Economic Indicators: This Week
  • ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน ธ.ค. 54 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจำนวน 172.6 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 2.9 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือน ธ.ค. 54 มีการเบิกจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันจำนวน 151.6 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -0.3 แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจาจานวน 137.4 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 2.8 (2) รายจ่ายลงทุนจานวน 14.2 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -22.7 ทั้งนี้ การเบิกจ่ายที่สำคัญ ได้แก่ รายจ่ายเงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจำนวน 12.1 พันล้านบาท รายจ่ายเงินอุดหนุนของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 10.5 พันล้านบาท รายจ่ายเงินอุดหนุนของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจานวน 4.3 พันล้านบาท และรายจ่ายเงินอุดหนุนของกรุงเทพมหานครจำนวน 1.3 พันล้านบาท ส่วนการเบิกจ่ายงบประมาณปีก่อนเบิกจ่ายได้จำนวน 21.0 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 33.5 ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 55 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจำนวน 489.8 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -18.1 นอกจากนี้ ผลการเบิกจ่ายแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ในเดือนธ.ค. 54 มีจำนวน 2.6 พันล้านบาท โดยมีการเบิกจ่ายสะสมตั้งแต่เดือนก.ย. 52 - ธ.ค. 54 จานวน 301.8 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายสะสมร้อยละ 86.2 ของกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจานวน 350.0 พันล้านบาท
  • ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ธ.ค.54 พบว่า ดุลงบประมาณขาดดุลจำนวน -28.3 พันล้านบาทและเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจานวน -8.7 พันล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักมาจากการจัดสรรเงินให้อปท.ตามพระราชบัญญัติกาหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ ที่เหลื่อมจ่ายจากปีงบประมาณก่อนหน้าจานวน 5.0 พันล้านบาท และการถอนเงินฝากคลังของเงินกู้จากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จานวน 2.6 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (ก่อนกู้) ขาดดุลจำนวน -37.0 พันล้านบาท ซึ่งในเดือนธ.ค.54 ไม่ได้มีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณเนื่องจากยังไม่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 ส่งผลให้ปริมาณเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 54 อยู่ที่ 264.7 พันล้านบาท
  • นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ธ.ค. 54 มีจานวน 1.77 ล้านคน หดตัวร้อยละ -2.5 ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -17.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวร้อยละ 20.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) สะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวจากวิกฤตอุทกภัยที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนหน้า โดยประเทศที่มีการขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ออสเตรเลีย รัสเซียและจีน โดยขยายตัวร้อยละ 29.7 10.0 และ 5.7 ตามลาดับ ส่วนกลุ่มที่ยังคงมีการหดตัวลงมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ยุโรป และ เอเชียตะวันออกฉียงเหนือ โดยเฉพาะ สวีเดน ฟินแลนด์ ไต้หวัน และ ญี่ปุ่น ร้อยละ -36.8 -49.1 -45.4 และ -10.3 ตามลาดับ ทั้งนี้ ทั้งปี 54 มีจานวนนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 19.1 ล้านคน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 19.8 ต่อปี และคาดว่าจะมีรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งสิ้น 7.5 แสนล้านบาท (ระบบ BOP basis) สะท้อนความแข็งแกร่งของภาคการท่องเที่ยวต่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ธ.ค.54 อยู่ที่ระดับ 93.7 ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนที่อยู่ที่ระดับ 87.5 ดัชนีที่ปรับเพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากปัญหาอุกภัยที่เริ่มคลี่คลายลง ทาให้ภาคอุสาหกรรมกลับมาผลิตได้อีกครั้ง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ ประกอบกับเส้นทางคมนาคมกลับมาใช้งานได้ตามปกติ ส่งผลดีต่อระบบโลจิสติกส์และซัพพลาย แต่ยังมีอีกหลายบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมยังคงต้องหยุดการผลิต เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นต้น เนื่องจากเครื่องจักรและปัจจัยการผลิตอื่นๆ ได้รับความเสียหาย รวมทั้งความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นปัจจัยกดดันดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ ดังกล่าวอยู่ในระดับต่ากว่า 100 สะท้อนความเชื่อมั่นต่อการประกอบการยังอยู่ในระดับที่ไม่ดี
  • สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ในเดือน พ.ย. 54 อยู่ที่ระดับ 2.03 ล้านล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ระดับ 2.04 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่า ยอดคงค้างสินเชื่อปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ยอดคงค้างเงินฝากปรับตัวลดลง โดยยอดคงค้างสินเชื่อขยายตัวเร่งขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.01 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ขณะที่ยอดคงค้างเงินฝากหดตัวร้อยละ -0.8 จากเดือนก่อน (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)อย่างไรก็ตาม เงินกู้ยืมปรับเพิ่มขึ้น 5.2 หมื่นล้านบาทจากเดือนก่อน สะท้อนการระดมเงินในรูปแบบอื่นมากขึ้น จากการที่จะมีการจากัดวงเงินคุ้มครองเงินฝากลงมาเป็นไม่เกิน 1 ล้านบาท/รายผู้ฝาก/สถาบันการเงิน ในวันที่ 11 สิงหาคม 2555
  • ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศในเดือน ธ.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.3 และเมื่อปรับผลทางฤดูกาล ขยายตัวร้อยละ 9.0 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -4.0 โดยเป็นผลมาจากสถานการณ์ที่เข้าสู่ปกติภายหลังปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ และธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเริ่มกลับมาก่อสร้างได้ปกติ นอกจากนี้ ยังมีแรงสนับสนุนจากราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวชะลอลง โดยดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือน ธ.ค. 54 อยู่ที่ร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 7.3
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ย. 54 มีจานวนทั้งสิ้น 4,303.5 พันล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 33.2 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 40.5 ของ GDP ทั้งนี้ การลดลงของหนี้สาธารณะที่สาคัญเกิดจากหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินลดลงสุทธิ 30.4 พันล้านบาท เนื่องจากการไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกาหนดในวันที่ 30 พ.ย.54 ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคงมาก สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ากว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว (ร้อยละ 99.0 ของยอดหนี้สาธารณะ) และเป็นสกุลเงินบาท (ร้อยละ 92.0 ของยอดหนี้สาธารณะ)
Economic Indicators: Next Week
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ธ.ค. 54 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ -40.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -62.1 เนื่องจากยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาน้าท่วมหนักในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะจังหวัดอยุธยาที่มีอุตสาหกรรมหลัก คือยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ ทาให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไม่สามารถผลิตได้ตามปกติ และไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ได้ตามกาหนด ทั้งนี้ คาดว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อยอดขายรถยนต์นั่งในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 54 โดยจะหดตัวสูงเป็นประวัติการณ์ เมื่อเทียบกับช่วงต้นปีที่ขยายตัวในอัตราเร่งอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ช่วง 11 เดือนแรกปี 54 ยอดขายรถยนต์นั่งขยายตัวที่ร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

Global Economic Indicators: This Week

Eurozone: worsening economic trend
  • S&P ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลฝรั่งเศส ออสเตรีย และสเปนลงสู่ระดับ AA+ ระดับ AA+ และระดับ A จากระดับ AAA ระดบั AAA และระดับ AA- ตามลำดับ ส่งผลให้เยอรมนีเป็นประเทศเดียวที่พันธบัตรรัฐบาลมีความน่าเชื่อถือในระดับ AAA และลดอันดับความน่าเชื่อถือของกองทุน EFSF ลงสู่ระดบั AA+ จากระดับ AAA ทั้งนี้ EFSF วางแผนขายพันธบัตรอายุ 6 เดือนวงเงิน 1.5 พันล้านยูโร อัตราเงินเฟ้อเดือน ธ.ค. 54 ต่างที่สุดในรอบ 4 เดือนที่ร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า
USA: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออกเดือน พ.ย. 54 หดตัวร้อยละ -0.9 จากเดือนก่อนหน้า(%mom_sa) จากการลดลงของมูลค่าส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ขณะที่มูลค่านำเข้าขยายตัวร้อยละ 1.3 จากเดือนก่อนหน้าจากการนำเข้าเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นเป็นสาคัญส่งผลใหดุ้ลการค้าขาดดุลสูงที่สุดในรอบ 10 เดือนที่ 47.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ธ.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 0.9 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) ส่วนหนึ่งจากการปรับลดตัวเลขในเดือนก่อนหน้าลง
China: mixed signal
  • GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 54 ขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 2 ปีครึ่งที่ร้อยละ 8.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากอุปสงคภ์ายในประเทที่ขยายตัวได้ดีส่งผลให้ทั้งปี 54 เศรษฐกิจขยายตัวที่ร้อยละ 9.2 สอดคล้องกับการก่อสร้างสินทรัพย์ถาวรในปี 54 ที่ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 23.8 ยอดค้า ปลีกเดือน ธ.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 18.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สอดคล้องกับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ธ.ค.54 ที่ขยายตัวร้อยละ 12.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทุนสารองระหว่างประเทศ ณ สิ้นปี 2554 ลดลง 20.55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากสิ้นเดือน พ.ย.54 มาอยู่ที่ 3.18 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐจากความกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและการชะลอตัวของเศรษฐกิจ จีน สอดคล้องกับการลงทุนจากต่างประเทศในเดือน ธ.ค.54 ที่ชะลอลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยขยายตัวที่ร้อยละ 12.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า
Japan: mixed signal
  • คำสั่งซื้อเครื่องจักรในเดือน พ.ย.54 ขยายตัวร้อยละ 14.8 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ธ.ค.54 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 38.1
Philippines: mixed signal
  • ธนาคารกลางฟิลปิปินส์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเป็นครั้งแรกในรอบ 22 เดือน โดยปรับลงร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.25 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในภาวะความเสี่ยงจากสถานการณ์หนี้สาธารณะในยูโรโซน ในขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อลดลง
Singapore: improving economic trend
  • มูลค่าการส่งออกหักน้ำมัน เดือน ธ.ค.54 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหนน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการส่งออกหักน้ำมันสู่สหภาพยุโรปที่ขยายตัวร้อยละ 12
Taiwan: mixed signal
  • การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 ม.ค.ที่ผ่านมา "หม่า อิงจิ่ว" จากพรรคก๊กมินต๋งได้ร้บเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อเป็นสมัยที่ 2 บ่งชี้ว่าไต้หวันยังคงดำเนินนโยบายลดความตึงเครียดทางการเมืองด้วยการสานสัมพันธ์อันดีในระดับผู้นำประเทศและบูรณาการทางเศรษฐกิจกับจีนแผ่นดินใหญ่ต่อไปตามนโยบายของผู้นำคนปัจจุบัน
Hong Kong: improving economic trend
  • อัตราการว่างงาน ในไตรมาสที่ 3 ปี 54 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 ของกำลังแรงงานรวม ซึ่งเป็นอัตราว่างงานที่ต่ำที่สุดตั้งแต่ต้นปี 51 โดยมีการจ้างงานเพิ่ม 10,800 ตำแหน่งมาอยู่ที่ 3,661,900 ตาแหน่ง อันเป็ นเหตุมาจากปัจจัยทางฤดูกาลที่มีความต้องการแรงงานมากในช่วงปลายปี เพื่อตอบสนองความต้องการสินค้าและบริการในช่วงเทศกาลตรุษจีนในช่วงต้นปีถัดไป อีกทั้งการบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้นประกอบกับภาคการท่องเที่ยวยังคงแข็งแกร่ง
Australia: mixed signal
  • อัตราการว่างงานเดือน ธ.ค.54 ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 5.2 ของกำลังแรงงานรวม ส่วนหนึ่งจากการจ้างงานใหม่ทั้งในส่วนของการจ้างงานเต็มเวลาและการจ้างงานนอกเวลาลดลงต่าสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 54 สะท้อนอุปสงค์ในประเทศที่ส่งสัญญาณชะลอลงท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก
Malaysia: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อเดือน ธ.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.1 อันเนื่องมาจากราคาอาหารและการขนส่งที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 และ 1.9 ตามลำดับ
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET เคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ โดยดัชนีฯ ปรับลดลงในช่วงต้นสัปดาห์ หลังจากS&P ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของฝรั่งเศส
และอีก 8 ประเทศในกลุ่มยูโรโซนแล้วปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากตัวเลขทางเศรษฐกิจของจีนดีกว่าคาด ส่งผลให้นักลงทุนคลายกังวลเรื่องเศรษฐกิจ
จีนอาจเข้าสู่ภาวะถดถอย ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 16 —19 ม.ค.55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 114 ล้านบาท ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยค่อนข้างคงที่ โดยการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศกลุ่มยูโรโซน ตลอดจนข่าวกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ต้องการระดมเงินทุนพิเศษเพิ่มประมาณ 6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อใช้ในการรักษาเสถียรภาพการเงินโลกไม่ส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนตลอดจนตลาดพันธบัตรไทยมากนักทั้งนี้ระหว่างวันที่ 16 — 19 ม.ค.55 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -146 ล้านบาท
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อย โดยปิดที่ระดับ 31.63 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 19 ม.ค. 55 แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐร้อยละ 0.50 เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลอื่นๆ ส่งผลให้ด้ชนีค่าเงิน
บาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อน
  • ราคาทองคาปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องตลอดสัปดาห์โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 19 ม.ค.55 ปิดที่ 1,657 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ สูงขึ้นจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,643 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์เนื่องจากใกล้เทศกาลตรุษจีน

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ