ภาวะเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร มกราคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 24, 2012 15:35 —กระทรวงการคลัง

บทสรุปผู้บริหาร

ภาพรวมเศรษฐกิจ

สำนักงานสถิติ U.K ประกาศข้อมูลสุดท้ายของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ U.K. ในไตรมาส 3 ของปี 2554 ที่ 0.6%QoQ เพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ Second Estimate ที่ 0.5%QoQ โดยมีสาเหตุหลักจากภาคบริการโดยเฉพาะบริการธุรกิจการเงิน และภาคก่อสร้างที่ปรับตัวดีขึ้นกว่าที่ประเมินไว้เบื้องต้น แต่การผลิตอุตสาหกรรมหดตัวมากกว่าเดิม เครื่องชี้เศรษฐกิจในไตรมาส 4 ของปี 2554 จากดัชนีผู้จัดการแผนกจัดซื้อ PMI บ่งชี้เศรษฐกิจ UK ในไตรมาสสุดท้ำยของปี 2554 น่าจะขยายตัวในอัตราชะลอตัวจากไตรมาส 3 โดยดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 4 ที่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ชี้การผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 4 มีแนวโน้มหดตัว เนื่องจากการใช้จ่ายภายในประเทศ ที่หดตัวรุนแรงตามการชะลอการบริโภคและการตัดงบประมาณรายจ่ายภาครัฐ ส่วนดัชนี PMI ภาคบริการชี้การผลิตบริการในไตรมาส 4 ยังขยายตัวได้ แต่ในอัตราที่ชะลอตัวจากไตรมาสก่อน สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลังคาดว่าเศรษฐกิจ U.K .ในไตรมาส 4 ที่จะประกาศในวันที่ 25 ม.ค.55 จะขยายตัวเพียงเล็กน้อย (ไม่น่าเกิน 0.2%QoQ) ลดลงจากที่ขยายตัว 0.6% ในไตรมาส 3

เสถียรภสพเศรษฐกิจ

เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศที่วัดจากอัตราเงินเฟอของ UK ล่าสุดปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันมาอยู่ที่ 4.2% ในเดือนธ.ค. จาก 4.8% และ 5% ในเดือนต.ค.และพ.ย เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทำให้ผู้ประกอบการแข่งขันกันลดราคาสินค้าก่อนกำหนด ประกอบกับราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลงทำให้ราคาสินค้าหมวดพลังงานลดลงมาก แต่อัตราการว่างงาน UK ล่าสุดทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยอัตราการว่างงานล่าสุดในรอบ 3 เดือน (ก.ย.-พ.ย.54) สูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 8.3 ของกำลังแรงงำน ซึ่งเป็นอัตราการว่างงานที่สูงสุดในรอบ 17 ปี โดยมีผู้ว่างงานสูงถึง 2.68 ล้านคน โดยเป็นผู้ว่างงานที่อยู่ในวัยรุ่น (อายุ 16-24ปี) ถึง 1.04 ล้านคน ซึ่งสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่เคยเก็บรวบรวมตัวเลขว่างงาน เสถียรภาพเศรษฐกิจต่างประเทศของ U.K ในไตรมาส 3 ปรับตัวแย่ลง โดยดุลบัญชีเดินสะพัดของ UK ขาดดุลสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ -15.2 พันล้านปอนด์ เนื่องจากการขาดดุลกับกลุ่มประเทศยุโรปซึ่งเป็นคู่ค้ากลุ่มใหญ่ที่สุด ที่กำลังประสบปัญหาวิกฤติหนี้

อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
  • เศรษฐกิจ UK ไตรมาส 3 (ข้อมูลสุดท้าย) ดีกว่าที่คาดการณ์เดิมเล็กน้อยที่ 0.6% โดยภาคบริการและก่อสร้างปรับตัวดีขึ้นกว่าเดิม แต่ภาคอุตสาหกรรมหดตัวมากกว่าคาด

สำนักงานสถิติแห่งชติของสหราชอณาจักรได้ประกาศข้อมูลสุดท้าย Final Estimate ของอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร (U.K) ในไตรมาส 3 ปี 2554 ที่ 0.6%QoQ ดีกว่าที่คาดการณ์ครั้งก่อน Second Estimate ที่คาดว่าจะขยายตัว 0.5%QoQ

เมื่อพิจารณารายละเอียดของข้อมูลอัตราการขยายตัวในแต่ละสำขำกำรผลิต เมื่อเทียบกับรายละเอียดของข้อมูลที่ประกสศครั้งก่อนใน Second Estimate พบว่าการผลิตภาคบริการ ซึ่งมีสัดสาวนสูงที่สุดถึงร้อยละ 76.3 ของ GDP สหรำชอาณาจักร ขยายตัวได้ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมเล็กน้อยที่ 0.7%QoQ จากเดิมที่คาดว่าจะขยสยตัว 0.6% เนื่องจากภาคบริการธุรกิจและการเงิน ซึ่งมีสัดส่วนเกือบร้อยละ 40 ของภาคบริการรวม ขยายตัวได้ดีถึง 1.2%QoQ จากเดิมที่คาด 1%QoQ และภาคการก่อสร้าง ซึ่งเดิมคาดว่าจะหดตัวถึง -0.2%QoQ กลับขยายตัวได้ที่ 0.3%QoQ อย่างไรก็ดี การผลิตภสคอุตสาหกรรม กลับขยายตัวในอัตราชะลอลงมาอยู่ที่ 0.2%QoQ ลดลงจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 0.4%QoQ เนื่องจากการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่งออกได้รับผลกระทบทางลบจากเศรษฐกิจคู่ค้ำที่ชะลอตัวมากกว่ำที่คาดการณ์ ขณะที่อุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อกำรบริโภคในประเทศได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์เช่นกัน

สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจการคลัง คาดว่าเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรในไตรมาส 4 ที่จะประกาศตัวเลขเบื้องต้นในวันที่ 25 มกราคม 2555 จะขยายตัวเพียงเล็กน้อย (ไม่น่าเกิน 0.2%QoQ) ลดลงจากที่ขยายตัว 0.6% ในไตรมาส 3

เครื่องชี้เศรษฐกิจไตรมาส 4/2554
  • ดัชนีผู้จัดการแผนกจัดซื้อภาคบริการ บ่งชี้ ภาคบริการยังขยายตัวต่อเนื่องแต่ในอัตราชะลอลงแต่ ดัชนีผู้จัดการแผนกจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม บ่งชี้ ภาคอุตสาหกรรมหดตัวในไตรมาส 4

เครื่องชี้เศรษฐกิจในไตรมาส 4 จากดัชนีผู้จัดการแผนกจัดซื้อภาคบริการ (Services Purchasing Managers' Index) ซึ่งเป็นเครื่องชี้การผลิตภาคบริการที่มีสัดส่วนสูงสุดของการผลิตใน สหราชอาณาจักร บ่งชี้ การผลิตภาคบริการในไตรมาส 4 มีแนวโน้มขยายตัวได้ในอัตราที่ชะลอลง ดังจะเห็นได้จากดัชนี PMI ภาคบริการในไตรมาส 4 ที่ปรับลดลงจากระดับ 53.1 จุดในไตรมาส 3 มาอยู่ที่ 52.5 จุดในไตรมาส 4 แต่ยังอยู่ในระดับที่สูงกว่า 50 จุด (ซึ่งเป็นระดับที่สะท้อนการผลิตที่ไม่มีการขยายตัว) นอกจากนี้ เมื่อพิจารณสรสยละเอียดดัชนี PMI ภาคบริการเป็นรายเดือน จะเห็นว่า ดัชนี PMI ภาคบริการ ในเดือนธันวาคม 2554 ก็ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ 54 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกำยนที่อยู่ที่ 52.1 จุด สะท้อนว่า การผลิตภาคบริการยังคงเติบโตได้ดีและปจจัยหลักที่ช่วยขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจ สหรำชอำณำจักรขยำยตัวได้ต่อเนื่อง

อย่างไรก็ดี ผู้จัดการแผนกจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing Purchasing Managers' Index: PMI) ซึ่งเป็นเครื่องชี้เศรษฐกิจการผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหราชอาณาจักร ปรับตัวลดลงจากระดับ 50 จุดในไตรมาส 3 มาอยู่ที่ 48.3 จุด ในไตรมาส 4 ซึ่งเป็นระดับการผลิตที่ต่ำกว่า 50 จุด สะท้อนว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมำส 4 มีโอกาสติดลบค่อนข้ำงสูง สาเหตุหลักที่กำรผลิตภำคอุตสาหกรรมหดตัวมากในไตรมาส 4 มาจากยอดคำสั่งซื้อสินค้ำอุตสาหกรรมภายในประเทศที่ชะลอตัวตามการใช้จ่ายภายในประเทศ ที่หดตัวอย่างรุนแรงตามการชะลอการบริโภคและการตัดงบประมาณรายจ่ายภาครัฐ

ดังนั้น จากเครื่องชี้ PMI ข้างต้น สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง คาดว่าเศรษฐกิจ UK ในไตรมาสสุดท้ยของปี 2554 น่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจในไตรมาส 3 โดยได้รับแรงขับเคลื่อนหลักจากภาคบริการที่จะช่วยชดเชยปจจัยฉุดจากเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศ
  • อัตราเงินเฟ้อปรับตัวลดลงต่อเนื่องในเดือนธันวาคมและมีแนวโน้มลดลงในปีหน้ำขณะที่อัตราว่างงานเร่งตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 17 ปี ตำมภำวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

เสถียรภาพเศรษฐกิจที่วัดจากอัตราเงินเฟ้อต่ำสุดปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยอัตราเงินเฟ้อที่คำนวณจากดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) ปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากจุดสูงสุดที่ 5.2% ในเดือนกันยายน มาอยู่ที่ 5.0% และ 4.8% ในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน 2554 ตามลำดับ และล่าสุดอัตราเงินเฟ้อลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ 4.2% ในเดือนธันวาคม 2554 สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อที่คำนวณจากดัชนีราคาสินค้าขายปลีก (Retail Price Index: RPI) ที่ลดลงต่อเนื่องจากจุดสูงสุดที่ 5.6% ในเดือนกันยายน มาอยู่ที่ 5.4% และ 5.2% ในเดือนตุลาคมและเดือนพฤศจิกายน ตามลำดับ ก่อนที่ล่าสุดจะปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 4.8% ในเดือนธันวำคม

สาเหตุหลักที่อัตราเงินเฟอในเดือนธันวาคมปรับตัวลดลง มาจากการปรับตัวลดลงของราคาสินค้าในหมวดพลังงานและราคาหมวดเสื้อผ้ำเป็นหลัก ดังจะเห็นได้จากราคาน้ำมันในเดือนธันวาคมได้ปรับลดลงประมาณ 1.1 เพนนีต่อลิตร เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดเสื้อผ้าในเดือนธันวาคม ได้ปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 2.8% เนื่องจำกสภาพการบริโภคในประเทศสหราชอาณาจักรที่อ่อนแอได้กระตุ้นให้ร้านค้าเสื้อผ้าแข่งขันลดราคากันก่อนฤดูกาลลดราคา Sale ประจำปีตามปกติ ประกอบกับอากาศในเดือนธันวาคมปีนี้ที่หนาวน้อยกว่าทุกปีได้ส่งผลให้เสื้อผ้าหน้าหนาวมีราคาถูกลงกว่าปกติค่อนข้างมาก

ทั้งนี้ สำนักงานที่ปรึกษาฯ ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรสชอสณสจักรได้ผ่สนจุดสูงสุด (Peak) ไปแล้ว และน่สจะมีแนวโน้มลดลงค่อนข้างมากในปีหน้า (ปีค.ศ. 2012) เนื่องจากปจจัยพิเศษจากฐานราคาสินค้าที่ต่ำในปีก่อนที่ยังไม่การขึ้นภำษีมูลค่าเพิ่มได้หมดไป ประกอบกับทิศทางเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรในปี 2012 ที่เปราบาง จะเป็นปจัจัยควบคุมไม่ให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นได้มาก

ในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศที่วัดจากอัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) ในรอบ 3 เดือนสิ้นสุดเดือนพฤศจิกายน 2554 (กันยายน - พฤศจิกายน 2554) ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 8.4 ของกำลังแรงงาน ซึ่งเป็นอัตราการว่างงานที่สูงที่สุดในรอบ 17 ปี ตั้งแต่ปี 2539 และเป็นการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 0.3 จากอัตราการว่างงานในไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 8.1 ของกำลังแรงงาน โดยมีจำนวนผู้ว่สงงานในรอบ 3 เดือนสิ้นสุดเดือนพฤศจิกายนทั้งสิ้น 2.68 ล้านคน และเมื่อพิจารณาจำนวนผู้ว่างงานส่วนใหญ่ พบว่าเป็นผู้ว่างงานส่วนใหญ่เป็นกลุ่มแรงงานที่เป็นวัยรุ่นในช่วง 16-24 ปี(Youth Unemployment) โดยมีจำนวนผู้ว่างงานที่เป็นวัยรุ่นถึง 1.04 ล้านคน

อัตราการว่างสูงขึ้นดังกล่าว ได้สอดคล้องกับอัตราการจ้างงาน (Employment Rate) ในรอบ 3 เดือนสิ้นสุดเดือนพฤศจิกายน 2554 (กันยายน - พฤศจิกายน 2554) ที่ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 70.3 ของกำลังแรงงาน ลดลงจากร้อยละ 70.4 ของกำลังแรงงานในช่วง 3 เดือนก่อนหน้า โดยมีจำนวนผู้มีงานทำ(Employment Level) รวม 29.12 ล้ำนคน

สำหรับเครื่องชี้ของอัตราการง่านในเดือนธันวาคม 2554 ที่วัดจากจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการระหว่างทำงานใน (Job Seeker Allowance: JSA) ประจำเดือนธันวาคม พบว่ายังมีจำนวนผู้ขอรับสวัสิดการฯเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจำนวน 1,200 คน บ่งชี้ว่าอัตรำการว่างงานในเดือนธ.ค.น่าจะยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในเดือนธันวาคม แต่อัตราการว่างงางน่าจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจต่างประเทศ
  • เสถียรภาพต่างประเทศที่วัดจากดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาส 3 ปรับตัวแย่ลงโดยมีสาเหตุหลักจากวิกฤติหนี้ในยุโรปที่ทำให้ U.K.ขาดดุลกับประเทศยุโรปมากขึ้น

เสถียรภาพเศรษฐกิจด้านต่างประเทศที่วัดจากดุลบัญชีเดินสะพัดของสหราชอาณาจักรในไตรมาส 3 ของปี2554 ปรับตัวแย่ลง โดยดุลบัญชีเดินสะพัดของสหราชอาณาจักรในไตรมาส 3 2554 ขาดดุลสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่ -15.2 พันล้านปอนด์ (หรือ คิดเป็นร้อยละ -4% ของ GDP) ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ที่ขาดดุล -7.4 พันล้านปอนด์ (หรือ คิดเป็นร้อยละ -2% ของ GDP) โดยมีสาเหตุหลักมาจากการขาดดุลการค้าของสินค้าและบริการ (Trade) ที่ขาดดุลเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ -9.9 พันล้านปอนด์ในไตรมาส 3 เพิ่มขึ้นจากที่ขาดดุล -7.2 พันล้านปอนด์ในไตรมาส 2 ประกอบกับ ดุลเงินโอนและบริจาคระหว่างประเทศ (Transfer) ในไตรมาส 3 ขาดดุลเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ -5.7 พันล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นจากที่ขาดดุล -4.8 พันล้านปอนด์ในไตรมาสที่ 2 ขณะที ดุลรายได้สุทธิจสกต่างประเทศ (Income) ในไตรมาส 3 เกินดุลลดลงมากมาอยู่เพียง 0.3 พันล้านปอนด์ เทียบกับที่เกินดุลสูงถึง 4.5 พันล้านปอนด์ในไตรมาส 2 ซึ่งสาเหตุที่ดุลรายได้สุทธิจากต่างประเทศลดลงมากเนื่องจากบริษัทของสหราชอาณาจักรที่ประกอบการอยู่ในต่างประเทศมีผลประกอบการลดลงตามสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ทำให้ส่งผลกำไรกลับประเทศสหราชอาณาจักรลดลงมาก

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณารายละเอียดของการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดแยกเป็นกลุ่มประเทศ จะเห็นได้ชัดว่า สาเหตุที่ดุลบัญชีเดินสะพัดของสหราชอาณาจักรขาดดุลมากขึ้นในไตรมาส 3 มาจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดกับประเทศในยุโรป ซึ่งเป็นคู่ค้ากลุ่มใหญ่ที่สุดของสหราชอาณาจักรที่กำลังประสบปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะ ประกอบกับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหราชอาณาจักรกับประเทศนอกกลุ่มยุโรปก็มีการขาดดุลเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทั่วโลก

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ