รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 26 มกราคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 26, 2012 14:05 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 26 มกราคม 2555

Summary:

1. ส่งออกไทยเริ่มฟื้นหลังน้ำท่วม

2. กนง.มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี

3. ญี่ปุ่นขาดดุลการค้า 2.49 ล้านล้านเยนในปี 54

Highlight:
1. ส่งออกไทยเริ่มฟื้นหลังน้าท่วม
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงการส่งออกหลังสถานการณ์น้าท่วมเข้าสู่ภาวะปกติ ว่าขณะนี้การส่งออกดีขึ้นมาก ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เริ่มฟื้นตัว มีเพียงบางรายอยู่ระหว่างการฟื้นฟู ซึ่งรัฐบาลพร้อมให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ นอกจากนี้ การที่สหรัฐฯ ประกาศนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศปีนี้ จะส่งผลดีต่อประเทศไทย โดยเฉพาะด้านการส่งออก ซึ่งสหรัฐถือเป็นคู่ค้าสาคัญของไทย
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การส่งออกของไทยเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวจากวิกฤตอุทกภัย สะท้อนได้จากการส่งออกในเดือนธ.ค.54 ที่หดตัวร้อยละ -2.0 ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -12.4 ส่งผลให้ในปี 54 การส่งออกขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ17.2 โดยในเดือนธ.ค.54 สินค้าส่งออกที่กลับมาขยายตัวได้ดี คือ สินค้าในกลุ่มเกษตร/อุตสาหกรรมที่ขยายตัวร้อยละ 3.7 จากการที่สหรัฐฯมีการประกาศนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการส่งออกของไทย ซึ่งสหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกสาคัญของไทยโดยมีสัดส่วนการส่งออกอยู่ที่ร้อยละ 10.3 และในปี 54 การส่งออกไปสหรัฐฯขยายตัวร้อยละ 8.2 ทั้งนี้ สศค. คาดว่าการส่งออกสินค้ารวมในรูปดอลลาร์สหรัฐในปี 55 จะขยายตัวร้อยละ 14.1 (โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 13.1 — 15.1) คาดการณ์ ณ เดือนธ.ค. 54
2. กนง.มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี
  • ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 3.25 เหลือร้อยละ 3.00 หรือปรับลดลงร้อยละ 0.25 ตามที่ตลาดคาดการณ์ โดยกนง.มองว่าอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ ร้อยละ 3.00 เป็นระดับที่เหมาะกับเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในอนาคต นอกจากนี้ ธปท.เตรียมปรับคาดการณ์ GDP ปี 55 จากที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 4.8 จากผลกระทบของน้าท่วม และคาดว่าเศรษฐกิจอาจฟื้นตัวช้าและคลื่นสินามิ
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้เป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ เนื่องจากขณะนี้เศรษฐกิจไทยยังคงได้รับปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวอย่างเปราะบาง โดยเฉพาะวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป และปัญหาระหว่างอิหร่านกับสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังของปี 55 แรงกดดันจากเงินเฟ้อที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจ อาจจะทาให้กนง.กลับมาดาเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัวมากขึ้น ทั้งนี้ สศค. คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายปี 55 อยู่ในช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.75 - 3.75 และเศรษฐกิจไทยในปี 55 มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น โดยคาดว่าจะกลับมาขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 5.0 ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.5 — 5.5 (ประมาณการ ณ เดือน ธ.ค.55)
3. ญี่ปุ่นขาดดุลการค้า 2.49 ล้านล้านเยนในปี 54
  • กระทรวงการคลังญี่ปุ่น เผย มียอดขาดดุลการค้าในปี 54 มูลค่า 2.49 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นการขาดดุลครั้งแรกในรอบ 31 ปี เนื่องจากยอดการส่งออกที่ชะลอตัวลง อันเป็นผลจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสินามิ และเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่มีการฟื้นตัวอย่างเปราะบาง และการแข็งค่าขึ้นของเงินเยนได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคการผลิตและการส่งออกของญี่ปุ่น แม้ที่ผ่านมาทางการญี่ปุ่นได้เข้าแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราเพื่อทาให้เงินเยนอ่อนค่าลง อย่างไรก็ตาม ค่าเงินเยนยังคงแข็งค่าอยู่ที่ระดับ 76.99 นับจากต้นปีอยู่ที่ระดับ 76.86 (ณ วันที่ 24 ม.ค. 55) โดยในส่วนของมูลค่าการส่งออกในเดือนพ.ย. 54 การส่งออกของญี่ปุ่นหดตัวร้อยละ -4.5 อยู่ที่ 5,197.7 พันล้านเยน ซึ่งการส่งออกไปยังประเทศในภูมิภาคเอเชียและยุโรปลดลงอย่างมาก เนื่องจากวิกฤติการเงินในยุโรปได้ส่งผลให้ความต้องการรถยนต์และสารกึ่งตัวนาลดลงในทั่วโลก ประกอบกับอุทกภัยในประเทศไทยได้ส่งผลให้การส่งออกชิ้นส่วนลดลงด้วย ขณะที่การนาเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 อยู่ที่ 5,882.4 พันล้านเยน เนื่องจากเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานทดแทนมีราคาสูงขึ้น ทั้งนี้ สศค. คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 54 จะยังคงหดตัวที่ร้อยละ -0.6 และในปี 55 จะขยายตัวที่ร้อยละ 2.0

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ