รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 23 - 27 มกราคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Friday January 27, 2012 09:26 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • การส่งออกสินค้าในเดือน ธ.ค.54 หดตัวที่ร้อยละ-2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การนำเข้าสินค้าขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 19.1
  • วันที่ 25 มกราคม 2555 คณะกรรมการนโยบายการเงิน ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 2 จากเดิมที่ร้อยละ 3.25 เหลือร้อยละ 3.00
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร (เบื้องต้น) ในเดือน ธ.ค.54 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ -4.3
  • GDP เกาหลีใต้ในไตรมาส 4 ปี 54 ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 2 ปี ที่ร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (เบื้องต้น) สหภาพยุโรปในเดือน ม.ค. 55 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 มาอยู่ที่ระดับ 50.4
  • การส่งออกญี่ปุ่น ในเดือน ธ.ค.54 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ -8.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้าชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 8.1
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสิงคโปร์ ในเดือน ธ.ค. 54 อยู่ที่ร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปออสเตรเลีย ในไตรมาสที่ 4 ปี 54 อยู่ที่ร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
Indicators next week
 Indicators                         Forecast            Previous
Jan : Headline Inflation(%YoY)         3.7                 3.5
  • เป็นผลมาจากราคาน้ำมันขายปลีกภายในประเทศที่มีการปรับตัวสูงขึ้น ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ประกอบกับมีการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันอีกครั้ง หลังจากยกเลิกไปในเดือน ก.ย. 54 นอกจากนี้ยังมีการปรับลดหน่วยค่าไฟฟ้าฟรีลงจาก 90 หน่วย เหลือ 50 หน่วย ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ราคาเนื้อสัตว์ มีการปรับตัวลดลง โดยเฉพาะราคาไข่ไก่ที่ปรับตัวลดลงมาก เนื่องจากไข่ล้นตลาด ทำให้คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (%mom)
Economic Indicators: This Week
  • การส่งออกสินค้าในเดือน ธ.ค. 54 อยู่ที่ 17,016 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวที่ร้อยละ -2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -12.4 ตามการปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า ยกเว้นสินค้าหมวดเกษตรกรรมที่หดตัวร้อยละ -6.7 โดยหมวดสินค้าที่ขยายตัวเร่งขึ้น ได้แก่ สินค้าเชื้อเพลิง และอุตสาหกรรมการเกษตรขยายตัวร้อยละ 40.6 และ 29.1 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกรายตลาดพบว่า การส่งออกไปยังอาเซียน -5 นำโดยสิงคโปร์และอินโดนีเซีย รวมถึงประเทศอินเดียขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่ตลาดหลักอาทิ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปยังหดตัวที่ร้อยละ -2.8 -4.6 -3.5 และ -15.0 ตามลำดับ ส่งผลให้การส่งออกในปี 2554 มีมูลค่าอยู่ที่ 228,825 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวที่ร้อยละ 17.2 ทั้งนี้ ราคาสินค้าส่งออกในเดือน ธ.ค. ขยายตัวชะลอลงต่อเนื่องที่รัอยละ 1.4 ผลจากการลดลงของราคายางพารา มันสำปะหลัง และเชื้อเพลิง ทำให้ราคาส่งออกทั้งปีขยายตัวที่ร้อยละ 5.6 ส่วนปริมาณยังคงหดตัวในอัตราลดลงที่ร้อยละ -3.4 ทำให้ปริมาณการส่งออกทั้งปีขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 11.0 ชะลอลงจากปีที่แล้วที่อยู่ร้อยละ 17.6
  • การนำเข้าสินค้ารวมในเดือน ธ.ค.54 อยู่ที่ 19,146 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 19.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -2.4 ตามการขยายตัวในอัตราเร่งในทุกหมวดสินค้าโดยสินค้าวัตถุดิบ สินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าเชื้อเพลิงขยายตัวที่ร้อยละ 20.6 14.5 21.7 และ 22.0 ตามลำดับ ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าในปี 2554 มีมูลค่าอยู่ที่ 228,491 ล้านดอลลาร์สรัฐ หรือขยายตัวที่ร้อยละ 24.9 ทำให้ดุลการค้าเดือน ธ.ค. 54 ขาดดุล -2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการขาดดุลต่อเนื่อง 3 เดือนติดต่อกันและมากที่สุดในประวัติการณ์ และส่งผลให้ดุลการค้าในปี 54 ยังคงเกินดุลอยู่เล็กน้อยที่ 334 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร (เบื้องต้น) ในเดือน ธ.ค.54 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -3.2 ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในหมวดพืชผล และปศุสัตว์เป็นสำคัญ โดยเฉพาะยางพารา มันสำปะหลัง และผลผลิตสุกร เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยต่อการผลิตและเก็บเกี่ยว ประกอบกับสถานการณ์โรคระบาดคลี่คลายลง อย่างไรก็ตาม จากเหตุการณ์น้ำท่วมในช่วงเดือน ต.ค.- พ.ย. 54 ส่งผลให้ผลผลิตข้าวยังคงหดตัวต่อเนื่องจากเดือนที่แล้ว ทั้งนี้ ในปี 54 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวที่ร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวปีก่อน ตามการขยายตัวของผลผลิตยางพาราและมันสาปะหลัง เป็นสำคัญ
  • ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน ธ.ค. 54 หดตัวร้อยละ -4.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -1.5 ตามการลดลงของราคาผลผลิตสำคัญ โดยเฉพาะยางพารา และมันสาปะหลัง โดยมีสาเหตุหลักมาจากอุปสงค์ในตลาดโลกที่ลดลง ตามการชะลอตัวอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ประกอบกับผลผลิตที่เริ่มออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น เนื่องจากผลกระทบจากโรคระบาดคลี่คลายลง ทั้งนี้ ในปี 54 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรขยายตัวที่ร้อยละ 12.2 จากปี 53 ในขณะที่รายได้เกษตรกรที่แท้จริง (หักอัตราเงินเฟ้อชนบท) ในเดือนธ.ค.54 หดตัวที่ร้อยละ -4.3 อย่างไรก็ตาม รายได้เกษตรกรที่แท้จริง ในปี 54 ยังขยายตัวในเกณฑ์ดีที่ร้อยละ 11.0 จากปี 53 ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการช่วยสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชนในปี 54
  • วันที่ 25 มกราคม 2555 คณะกรรมการนโยบายการเงิน ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 2 จากเดิมที่ร้อยละ 3.25 เหลือร้อยละ 3.00 จาก (1) แรงกดดนดันเงินเฟ้อปรับลดลง จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศที่ล่าช้ากว่าที่คาด ขณะที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลายชนิดชะลอตัวตามเศรษฐกิจโลกและ (2) ปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ยังคงยืดเยื้อ โดยเฉพาะจากวิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซนที่คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในระยะต่อไป
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ธ.ค.54 มีจำนวน 2.81 หมื่นคัน หรือหดตัวร้อยละ -28.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -62.1 เนื่องจากการผลิตรถยนต์ยังได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะจังหวัดอยุธยาที่มีอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมหลัก ทำให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไม่สามารถผลิตได้ตามปกติ และไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ได้ตามกำหนด ทั้งนี้ จากสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ยอดขายรถยนต์นั่งในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 54 ที่หดตัวสูงเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ -42.3 ทำให้ทั้งปี 54 ยอดขายรถยนต์นั่งขยายตัวเพียงร้อยละ 4.6 จากปี 53
  • ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ธ.ค.54 มีจำนวน 2.87 หมื่นคัน หรือหดตัวที่ร้อยละ -46.9 เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -71.5 เนื่องจากผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่ภาคกลาง โดยเฉพาะจังหวัดอยุธยา ทำให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไม่สามารถผลิตรถยนต์ได้ตามปกติ และไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ให้ลูกค้าได้ตามกาหนดระยะเวลา ทั้งนี้ จากสถานการณ์อุทกภัยดังกล่าวทำให้ยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 54 หดตัวลงมากเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ -53.4 ทำให้ทั้งปี 54 ยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์หดตัวลงร้อยละ -4.4 จากปี 53
Economic Indicators: Next Week
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ม.ค. 55 คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยเป็นผลมาจากราคาน้ำมันขายปลีกภายในประเทศที่มีการปรับตัวสูงขึ้น ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ประกอบกับมีการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ามันอีกครั้ง หลังจากยกเลิกไปในเดือน ก.ย. 54 นอกจากนี้ยังมีการปรับลดหน่วยค่าไฟฟ้าฟรีลงจาก 90 หน่วย เหลือ 50 หน่วย ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ราคาเนื้อสัตว์ มีการปรับตัวลดลง โดยเฉพาะราคาไข่ไก่ที่ปรับตัวลดลงมาก เนื่องจากไข่ล้นตลาด ทำให้คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (%mom)

Global Economic Indicators: This Week

Eurozone: mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (เบื้องต้น) เดือน ม.ค.55 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 มาอยู่ที่ระดับ 50.4 ซึ่งบ่งบอกการขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือนจากการกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือนของดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการที่ระดับ 50.5 ขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 48.7 ซึ่งยังคงสะท้อนการหดตัวดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมเดือน พ.ย.54 หดตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -1.3 (%mom_sa) โดยคำสั่งซื้อสินค้าทุนและสินค้าขั้นกลางหดตัวที่ร้อยละ -2.1 และร้อยละ -1.3 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) ตามลำดับ ผู้ถือพันธบัตรรัฐบาลกรีซยื่นข้อเสนอการแบ่งรับผลขาดทุนที่ผู้ถือพันธบัตรสามารถยอมรับได้มากที่สุด (Maximum Offer) ในการเจรจาร่วมกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งเป็นแกนนำในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กรีซในระยะต่อไป หลังจากที่การเจรจาในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่ง IMF เสนอให้มีการลดอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะยาวของรัฐบาลกรีซที่จะออกมาใหม่เพื่อสับเปลี่ยนกับพันธบัตรที่กาลังจะครบกำหนดไถ่ถอนไม่ได้รับการตอบรับจากนักลงทุน
USA: mixed signal
  • ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แถลงนโยบายประจำปี 2012 ต่อสภาคองเกรส โดยเรียกร้องขึ้นภาษีเหล่ามหาเศรษฐีอเมริกันในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 เพื่อส่งเสริมการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม พร้อมทั้งแสดงวิสัยทัศน์ เพื่อหวังชักจูงผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้สนับสนุนในการดารงตาแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2
Japan: mixed signal
  • มูลค่าส่งออกเดือน ธ.ค. 54 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ -8.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่มูลค่านำเข้าชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 8.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนผลกระทบที่ชัดเจนจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าโดยเฉพาะสหภาพยุโรป ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 205.1 พันล้านเยน (2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และทำให้ในปี 54 มูลค่าส่งออกหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีที่ร้อยละ -2.7 และมูลค่านำเข้าในปี 54 ขยายตัวร้อยละ 12.0 ส่วนหนึ่งจากการนำเข้าเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้าทดแทนพลังงานนิวเคลียร์ภายในประเทศและดุลการค้าในปี 54 ขาดดุลเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ทศวรรษที่ 2.49 ล้านล้านเยน (32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
South Korea: mixed signal
  • GDP ไตรมาส 4 ปี 54 ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 2 ปี ที่ร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า หรือขยายตัวร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) จากการปรับตัวลดลงของทั้งอุปสงค์ในประเทศ (การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน) และภาคการส่งออก
Philippines: worsening economic trend
  • มูลค่าการนำเข้า เดือน พ.ย. 54 ขยายตัวชะลอลงเป็นเดือนที่ 2 ร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการนำเข้าส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์หดตัวร้อยละ -14.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27.7 ของมูลค่าการนำเข้ารวมและยังเป็นวัตถุดิบหลักของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งออก ส่งผลให้ดุลการค้าเดือน พ.ย. 54 ขาดดุล 1.64 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Singapore: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ธ.ค. 54 อยู่ที่ร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 5.7 อันเป็นผลมาจากราคาที่อยู่อาศัยและเครื่องนุ่งห่มที่ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ -1.1 และ -2.4 ตามลาดับ
Taiwan: worsening economic trend
  • คำสั่งซื้อสินค้าส่งออกเดือน ธ.ค. 54 หดตัวร้อยละ -0.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากการหดตัวของคาสั่งซื้อจากจีนและสหภาพยุโรป ทั้งนี้ หากวิเคราะห์ในรายสินค้าพบว่าคาสั่งซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หดตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ สะท้อนอุปสงค์จากนอกประเทศที่ชะลอลง และคาดว่าจะชะลอลงต่อเนื่องตามการแผ่วลงของเศรษฐกิจโลก
India: mixed signal
  • ธนาคารกลางอินเดียปรับลดสัดส่วนการกันสารองของธนาคารพาณิชย์ (Cash reserve ratio) ลงเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี จากร้อยละ 6.0 เหลือร้อยละ 5.5 ของยอดเงินฝาก ส่งสัญญาณว่าธนาคารกลางอินเดียได้เริ่มต้นการดำเนินนโยบายด้านการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้น ภายหลังจากที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อเริ่มผ่อนคลายลง
Australia: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาสที่ 4 ปี 54 อยู่ที่ร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.5 ส่วนหนึ่งจากราคาอาหารที่ปรับตัวลดลง ทั้งนี้คาดว่า เงินเฟ้อจะปรับตัวลดลงต่อเนื่องในระยะต่อไป ตามเศรษฐกิจโลกที่ส่งสัญญาณชะลอลงต่อเนื่อง
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET เคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ โดยดัชนีฯ ปรับสูงขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ หลังจากที่ปรับลดลงมามากในสัปดาห์ก่อนหน้า แล้วจึงทรงตัวในช่วงกลางสัปดาห์เกินระดับ 1,050 จุด เนื่องจากไม่มีปัจจัยในตลาดการเงินโลกมากระทบตลาดหลักทรัพย์ไทยมากนัก ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 23 - 25 ม.ค. 55 นักลงทุน ต่างชาติซื้อสุทธิ 540 ล้านบาท ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับลดลงเล็กน้อย จากการที่นักลงทุนคาดการณ์ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันที่ 25 ม.ค. 55
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นจาก สัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อย โดยปิดที่ระดับ 31.58 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 25 ม.ค. 55 แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนหน้าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ร้อยละ 0.63 เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลอื่นๆในภูมิภาค โดยเฉพาะเงินริงกิตมาเลเซีย เงินวอนเกาหลีใต้ และเงินสิงคโปร์ดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในอัตราที่น้อยกว่าค่าเงินของคู่ค้าอื่นๆ ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้อ่อนค่ากว่าสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อย
  • ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องตลอดสัปดาห์ โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 25 ม.ค. 55 ปิดที่ 1,711 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ สูงขึ้นจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,677 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลตรุษจีน

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ