รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Friday February 3, 2012 11:34 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2555

Summary:

1. ธปท. จับตาสภาพคล่องในระบบเริ่มตึงตัว ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ไม่ลดดอกเบี้ยตาม

2. ธนาคารโลกเผยปี 2554 ดัชนีราคาอาหารสูงกว่าปี 2553 ถึงร้อยละ 24.0

3. เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอลงอย่างรุนแรงตามอุปสงค์จากภายนอกที่แผ่วลง

Highlight:
1. ธปท. จับตาสภาพคล่องในระบบเริ่มตึงตัว ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ไม่ลดดอกเบี้ยตาม
  • ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดเผยกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ยังไม่ตอบสนองอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่ลดลงไปร้อยละ 0.25 เมื่อวันที่ 25 มกราคมที่ผ่านมา โดยล่าสุด มีเพียงธนาคารกรุงไทยรายเดียวที่ปรับอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.125 และเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียงบางประเภทเท่านั้น ทั้งนี้ปัจจัยที่ธนาคารพาณิชย์ใช้ในการพิจารณาอัตราดอกเบี้ย มีทั้งประเด็นสภาพคล่องที่ธนาคารพาณิชย์ต้องเติมให้เพียงพอกับความต้องการทางสินเชื่อที่อยู่ในช่วงฟื้นฟูขณะเดียวกันการแข่งขันเงินฝากกับธนาคารเฉพาะกิจของรัฐก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องการรักษาฐานลูกค้า พร้อมระบุว่า เงินฝากทั้งระบบในปี 2554 เติบโตได้ร้อยละ 14 ขณะที่สินเชื่อเติบโตร้อยละ 17 ซึ่งสัดส่วนของสินเชื่อต่อเงินฝากรวมตั๋วแลกเงินของระบบธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ร้อยละ 90 หากไม่รวมตั๋วแลกเงินจะอยู่ที่ร้อยละ 100 ซึ่งสภาพคล่องในขณะนีตึ้งตัวเล็กน้อย แต่ยังไม่ใช่ระดับที่เป็นปัญหา
  • สศค. วิเคราะห์ว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับเดิม คาดว่าจะยังไม่เป็นปัญหามากนัก เนื่องจากภาครัฐได้ดำเนินโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (Soft loans) ผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังน้ำท่วม ขณะที่การแข่งขันระหว่างธนาคารพาณิชย์ที่เข้มข้นขึน้ เพื่อรักษาฐานลูกค้าและระดมเงินเพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธนาคารพาณิช์ยังคงไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ หากวิเคราะห์ในส่วนของสภาพคล่องพบว่า สภาพคล่องส่วนเกินในระบบยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 2.0 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของ GDP ทั้งนี้ เศรษฐกิจที่คาดว่าจะฟื้นตัวหลังภาวะน้ำท่วมจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของสินเช่อื ในระยะต่อไปอย่างไรก็ตามควรจับตามองสถานการณ์วิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซน ที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวมได้
2. ธนาคารโลกเผยปี 2554 ดัชนีราคาอาหารสูงกว่าปี 2553 ถึงร้อยละ 24.0
  • ธนาคารโลก (World Bank) เปิดเผยว่าแนวโน้มราคาอาหารทั่วโลกยังคงสูงและมีความผันผวน จึงจำเป็นต้องจับตามองแนวโน้มราคาอาหารอย่างระแวดระวังต่อไป ทั้งนี้ข้อมูลจากธนาคารโลกระบุว่าระหว่างเดือน ก.ย. - ธ.ค. 2554 ที่ผ่านมาราคาอาหารปรับตัวลดลงร้อยละ -8.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า เนื่องจากมีอุปทานเพิ่มขึ้นขณะที่เศรษฐกิจโลกเผชิญกับความไม่แน่นอน ทั้งนี้ในปี 2554 ดัชนีราคาอาหารสูงกว่าปี 2553 ถึงร้อยละ 24 อย่างไรก็ตาม ในปี 2555 นี้คาดว่าราคาอาหารจะปรับลดลงเล็กน้อยจากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ในปี 2554 ปัจจัยที่ส่งผลกระทบให้ราคาอาหารโลกอยู่ในระดับสูงได้แก่ (1) สภาพภูมิอากาศที่ไม่เอื้ออานวยต่อการเพาะปลูกจากภัยแล้งในช่วงต้นปี และอุทกภัยในช่วงปลายปี โดยเฉพาะในประเทศที่เป็นผู้ผลิตอาหารหลักของโลก เช่น ไทย อินเดีย บราซิล และเวียดนาม เป็นต้น ประกอบกับ (2) ความผันผวนในเศรษฐกิจโลก ซึ่งทำให้มีการเก็งราคาสินค้าโภคภัณฑ์และราคาอาหารโดยเฉพาะในตลาดซื้อ ขายล่วงหน้า ทั้งนี้ ในปี 2555 เศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบาง อาจทำให้อุปสงค์และราคาอาหารของโลกปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม ปัจจัย

ด้านภูมิอากาศยังคงเป็นตัวแปรสำคัญที่อาจส่งผลให้ราคาอาหารมีความผันผวน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะต่ออัตราเงินเฟ้อ ผลผลิตทางการเกษตร และรายได้เกษตรกร ซึ่งเป็นเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของการบริโภคภาคเอกชน ทั้งนี้ สศค. คาดว่าในปี 2555 การบริโภคภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่) จะขยายตัวร้อยละ 3.8 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.5 (คาดการณ์ ณ เดือน ธ.ค. 2554)

3. เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอลงอย่างรุนแรง ตามอุปสงค์จากภายนอกประเทศที่แผ่วลง
  • สำนักข่าว Bloomberg วิเคราะห์ว่า ในปี 2555 เศรษฐกิจจีนอาจชะลอลงอย่างรุนแรง (hard landing) จากอุปสงค์จากนอกประเทศที่เริ่มส่งสัญญาณชะลอลงต่อเนื่อง โดยล่าสุดการส่งออกจีนในเดือน ธ.ค.54 ชะลอลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่คำสั่งซื้อสินค้าส่งออกหดตัวลง
  • สศค.วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจจีนที่ชะลอลง เกิดจากอุปสงค์จากภายนอกประเทศที่ชะลอลงชัดเจนโดยเฉพาะอุปสงค์จากยูโรโซน ซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 1 ของจีน และกำลังประสบปัญหาหนี้สาธารณะเรื้อรัง อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ในประเทศ โดยเฉพาะในส่วนของการบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวได้ดี สะท้อนจากยอดค้าปลีกในเดือน ธ.ค.54 ที่ขยายตัวร้อยละ 15.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจีนจะสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง แม้จะชะลอลงบ้างเมื่อเทียบกับปี 2554 (Soft landing) ทั้งนี้ สศค. คาดว่าเศรษฐกิจจีนในปี 2555 จะขยายตัวร้อยละ8.4 (ช่วงคาดการณ์ ร้อยละ 7.9-8.9 คาดการณ์ ณ เดือน ธ.ค.2554) ทั้งนี้การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนอาจกระทบต่อการส่งออกของไทย เนื่องจากจีนเป็นคู่ค้าสาคัญอันดับ 1 และมีสัดส่วนการส่งออกถึงร้อยละ 12 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดในปี 2554

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ