Macro Morning Focus ประจำวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2555
1. "กิตติรัตน์" ระบุ เศรษฐกิจไทยปี 55 ขยายตัวได้ถึง 7%
2. กระทรวงแรงงาน ยัน 1 เม.ย. 55 ขึ้นค่าจ้างพร้อมกัน 77 จังหวัด
3. เศรษฐกิจจีนอาจเติบโตลดลงครึ่งหนึ่งหากวิกฤติในยุโรปยังคงเลวร้าย
- รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในการปาฐกถาพิเศษเรื่อง ทิศทางและโอกาสเศรษฐกิจไทย ปี 2555 โดยเชื่อว่า เศรษฐกิจไทยในปี 55 มีโอกาสเติบโตถึง 7% หากทุกฝ่ายช่วยกันทำงานอย่างเต็มที่ซึ่ง 3 กลไกหลักที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ได้แก่ 1) การบริโภคในประเทศที่เพิ่มขึน้จากรายได้และค่าแรงที่ปรับเพิ่มขึน้ 2) การใช้จ่ายลงทุนภาครัฐ และ 3) การส่งออก ซึ่งคาดว่าภาวะเศรษฐกิจ จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ภายในไตรมาส 2 ของปี
- สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2555 คาดว่าจะกลับมาขยายตัวเร่งขึ้นจากปี 2554 ซึ่งมีแรงขับเคลื่อนหลักจากอุปสงค์ภายในประเทศที่คาดว่าจะกลับมาขยายตัวเร่งขึ้น จากนโยบายของภาครัฐในการสนับสนุนการใช้จ่าย เช่น นโยบายปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท การปรับเพิ่มเงินเดือนราชการ และโครงการจำนำข้าวเปลือ ขณะที่การลงทุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนคาดว่าขยายตัวเร่งขึ้นจากปี ก่อนหน้าเช่นกัน โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ และความจำเป็นในการเร่งฟื้นฟูอาคารบ้านเรือนและเครื่องมือเครื่องจักรในภาคอุตสาหกรรมภายหลังจากวิกฤติมหาอุทกภัยคลี่คลายลง ขณะที่อุปสงค์จากต่างประเทศคาดว่าจะชะลอลงเล็กน้อย ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักที่มีแนวโน้มชะลอลงจากความกังวลในการแก้ไขปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะในกลุ่มสหภาพยุโรป
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ปรับขึน้ ค่าจ้างขัน้ ต่ำเป็น 300 บาท ที่กำลังจะมีผลในวันที่ 1 เมษายน ที่จะถึงนี ไม่ใช่นำร่องเพียง 7 จังหวัด แต่เป็นการปรับขึ้นร้อยละ 40 จากอัตราฐานค่าแรงเดิมทั้ง77 จังหวัด ซึ่งพื้นฐานอัตราค่าแรงแต่ละจังหวัด จะไม่เท่ากัน แต่เนื่องจากมี 7 จังหวัด ที่มีฐานค่าแรงสูงคือ 215 บาทต่อวัน เมื่อคำนวณแล้ว จะได้ปรับขึ้นร้อยละ 39.5 หรือ ประมาณ 80 กว่าบาทส่วนจังหวัดที่เหลือก็จะปรับฐานค่าแรงสูงขึ้นตามมา โดยจังหวัดที่มีค่าแรงต่ำสุด คือ พะเยา 159 บาทต่อวัน หลังปรับขึ้นร้อยละ 40 แรงงานจะได้รับค่าจ้างเพิ่มประมาณ 60 กว่าบาท หรือ ภูเก็ต มีอัตราค่าแรงสูงสุด คือ 221 บาทต่อวัน ปรับขึ้นร้อยละ 36 จะได้รับค่าจ้างเพิ่มคงที่ประมาณ 300 บาทต่อวัน เมื่อถึงสิ้นปี ก็อนุมัติพร้อมกันทั่วประเทศ
- สศค. วิเคราะห์ ว่าจากนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ มีเป้าหมายเพื่อเป็นหลักประกันรายได้ที่เพียงพอแก่การดำรงชีพแก่ประชาชน ช่วยสนับสนุนการบริโภคภายในประเทศ แต่ในขณะเดียวกัน อาจส่งผลต่อต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการที่อาจขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 -7.9 ทั้งนี้ ในระยะยาว รัฐบาลควรสนับสนุนให้มีการปรับโครงสร้างการผลิตและยกระดับฝี มือแรงงาน เพื่อให้แรงงานได้รับค่าจ้างตามผลิต
ภาพของแรงงานซึ่งสูงกว่าระดับมาตรฐานการดำรงชีพขั้นต่ำ รวมทั้งพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมเพื่อรองรับแรงงานที่มีผลิตภาพต่ำ สศค.คาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 55 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ 3.0 — 4.0 ต่อปี )
- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) รายงานว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนอาจจะเติบโตลดลงครึ่งหนึ่งหากสถานการณ์วิกฤติในยุโรปยังคงเลวร้ายและเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยคาดว่าเศรษฐกิจจีนในปี 55 จะเติบโตได้ร้อยละ 8.2 ลดลงจากเดิมที่ได้คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 9.0 ขณะที่รอยเตอร์ได้คาดการณ์เศรษฐกิจจีนในปี 55 ว่าจะเติบโตร้อยละ 8.4 ชะลอลงจากปี 54 ที่เติบโตร้อยละ 9.2
- สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจจีนยังคงมีสัญญาณการเติบโตที่ดีแม้ว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราชะลอลงจากปี ก่อน ตามเศรษฐกิจโลกที่มีสัญญาณชะลอตัวลงโดยเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศกลุ่มยูโรโซน โดยข้อมูลล่าสุด GDP ของจีนในไตรมาสที่ 4 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 8.9
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี ก่อน และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้ว (qoq SA) ขยายตัวร้อยละ 2.0 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.3 โดยปัจจัยหลักที่ช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจจีน (Contribution to GDP Growth) เติบโตคือ อุปสงค์ภายในประเทศและภาคการ
ส่งออกที่ยังขยายตัวได้ดี อย่างไรก็ตาม ในภาคการผลิตก็ยังคงมีสัญญาณที่ดีแม้ว่าจะขยายตัวในอัตราชะลอลงจากปี ก่อน สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ ยจัดซื้อ (NBS PMI) ในเดือน ม.ค.55 อยู่ที่ระดับ 50.5 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 50.3 โดยเป็ นการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็ นเดือนที่ 3 และผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ธ.ค. 54 ที่ขยายตัวร้อยละ 12.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 12.4 ทั้งนี้ สศค.คาดว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนในปี 55 จะขยายตัวร้อยละ 8.4 (คาดการณ์ ณ
เดือน ธ.ค.54)
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:
Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th