Macro Morning Focus ประจำวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555
Summary:
1. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ชี้เงินไหลเข้าดันตลาดหุ้นไทยพุ่ง
2. อสังหาฯ เมืองพัทยาจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังโดนพิษเศรษฐกิจเล่นงาน
3. อินเดียหั่นเป้าจีดีพีปีนี้เหลือ 6.9%
Highlight:
1. ตลาดหลักทรัทย์แห่งประเทศไทย ชี้เงินไหลเข้าดันตลาดหุ้นไทยพุ่ง
- ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การที่ดัชนีตลาดหุ้นปิดตลาดไทยปรับขึ้นแตะระดับ 1,100 จุด ซึ่งในช่วงเช้าของวันที่ 8 ก.พ. 55 ปรับขึ้นกว่า 10 จุดจากวันก่อนที่ระดับ 1094 จุด เพราะได้รับปัจจัยสนับสนุนจากเม็ดเงินลงทุนต่างชาติที่ไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน โดยนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิราว 1.5 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังต้องติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะปัญหาวิกฤตหนี้กรีซ
- สศค. วิเคราะห์ว่า การที่ดัชนีตลาดหุ้นปิดตลาดไทยปรับขึ้นแตะระดับ 1,100 จุด เป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน สาเหตุมาจากเคลื่อนย้ายเข้าสู่เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียที่ขยายตัวได้ดีกว่าเศรษฐกิจกลุ่มประเทศยุโรปและสหรัฐ ทั้งนี้ จากต้นปีจนถึงปัจจุบันตลาดหุ้นไทยปรับขึ้นไปกว่าร้อยละ 7.36 ซึ่งถือได้ว่าปรับขึ้นสูงกว่าตลาดหุ้นญี่ปุ่น จีน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย แต่ยังต่ากว่า สิงคโปร์และฟิลิปปินส์ ปัจจัยที่ทำให้ตลาดปรับขึ้น มาจากผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่อยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่ากาไรของบริษัทจดทะเบียนในงปี 55 จะเติบโตประมาณร้อยละ 9-13 ทั้งนี้ เงินทุนไหลเข้าประเทศไทยส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากวันก่อนที่ระดับ 30.92 บาทเป็น 30.82 บาท
2. อสังหาฯ เมืองพัทยาจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังโดนพิษเศรษฐกิจเล่นงาน
- เอเจนซี่ฟอร์เรียลเอสเตท เปิดเผยว่าจากเหตุการณ์น้ำท่วมทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทยได้รับความเสียหายกว่า 1.4 แสนล้านบาท โดยพัทยาเป็นหนึ่งในแหล่งที่มีผู้ประกอบการหลายรายมาลงทุนในพัทยาเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ พัทยาถือเป็นตัวเลือกในอันดับต้นๆ ของกลุ่มผู้ที่ซื้อบ้านหลังที่ 2
- สศค. วิเคราะห์ว่า จากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ในปี 55 ผู้ประกอบการมีแนวโน้มที่กระจายการลงทุนในทาเลที่ไม่ประสบอุทกภัย หรือออกไปลงทุนยังหัวเมืองท่องเที่ยวต่างๆ เช่น พัทยา และกระจายการลงทุนไปพัฒนาโครงการประเภทห้องชุด จากข้อมูลล่าสุดในเดือน ธ.ค.54 ภาษีจากการทาธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ ขยายตัวร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยล -14.4 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 4 ปี หดตัวร้อยละ -7.9 จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยะละ 34.5 ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ประกอบการ โดยในส่วนของผู้บริโภคชะลอการซื้อที่อยู่อาศัย และชะลอการโอนกรรมสิทธิ์ ขณะที่ผู้ประกอบการชะลอการก่อสร้างและเปิดโครงการใหม่ โดยในปัจจุบันรัฐบาลได้มีมาตรการภาษีเพี่อช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ทั้งนี้ ในอนาคตรัฐบาลวางแผนพัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้าอย่างเป็นระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และวางกรอบการลงทุนด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้าของประเทศ
3. อินเดียหั่นเป้าจีดีพีปีนี้เหลือ 6.9%
- ทางการอินเดียประกาศลดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจในรอบปีบัญชีสิ้นสุดเดือนมี.ค. นี้ จาก 7.25-7.75% เหลือ 6.9% ซึ่งเป็นระดับต่าสุดในรอบ 3 ปี หลังเศรษฐกิจขยายตัวอย่างแข็งแกร่งที่ระดับ 8.4% ในรอบปีที่ผ่านมา เนื่องจากการเติบโตที่อ่อนแอของภาคการผลิตและเกษตรกรรม
- สศค. วิเคราะห์ว่าเศรษฐกิจอินเดียมีแนวโน้มชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจในไตรมาสที่ 3 ของปีงบการเงิน 2554-2555 ที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 5 มาอยู่ที่ระดับ 48.6 จุด จากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 53.6 จุด เนื่องจากความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลก ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และอัตราเงินเฟ้อยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 7.47 ในเดือนธ.ค.) โดยนับจากเดือนมี.ค. 53 เป็นต้นมา ธนาคารกลางอินเดียได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปแล้วทั้งสิ้น 13 ครั้งเพื่อสะกัดเงินเฟ้อซึ่งส่งผลให้เกิดความตึงตัวในตลาดเงินของอินเดีย ซึ่งแรงกดดันเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง จะยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงสาคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของอินเดียในระยะต่อไป ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีความเสี่ยงจากวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรปที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐที่ยังไม่ชัดเจน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของอินเดียในระยะต่อไป ทั้งนี้ สศค.คาดว่าเศรษฐกิจอินเดียจะชะลอลงในปี 55 อยู่ที่ร้อยละ 7.0 (ช่วงคาดการณ์ 6.5-7.5) คาดการณ์ ณ เดือน ธ.ค.54
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:
Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th