รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 6 - 10 กุมภาพันธ์ 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 13, 2012 10:42 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • อัตราการว่างงานในเดือน ธ.ค.54 อยู่ที่ร้อยละ 0.4 ของกำลังแรงงานรวม
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ม.ค.55 หดตัวที่ร้อยละ -7.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ม.ค. 55 อยู่ที่ระดับ 64.0
  • สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ธ.ค.54 อยู่ที่ระดับ 2.0 ล้านล้านบาท
  • GDP อินโดนีเซีย ในไตรมาส 4 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า หรือขยายตัวร้อยละ 2.2 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (ISM Non-Mfg PMI) สหรัฐฯ ในเดือน ม.ค. 55 อยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือนที่ 56.8
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจีน ในเดือน ม.ค. 55 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนมาอยู่ที่ร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคญี่ปุ่น เดือน ม.ค. 55 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าโดยอยู่ที่ระดับ 40.0
  • ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.25
Indicators next week
 Indicators                         Forecast            Previous
Jan: TISI (Index)                     95.0                93.7
  • โดยมีปัจจัยบวกจากการที่ผู้ประกอบการบางรายสามารถกลับมาทำการผลิตได้ในระดับใกล้ปกติ อย่างไรก็ตามยังมีบางบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมที่ยังคงไม่สามารถดำเนินการผลิตได้ เนื่องจากเครื่องจักรและปัจจัยการผลิตอื่นๆ ได้รับความเสียหายจำเป็นต้องสั่งซื้อหรือซ่อมแซมใหม่ ประกอบกับความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก เป็นปัจจัยกดดันให้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมยังคงต่ำกว่า 100
Economic Indicators: This Week
  • การจ้างงานเดือน ธ.ค.54 อยู่ที่ 39.5 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าคิดเป็นจำนวน 5 แสนคน ขณะที่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน การจ้างงานเพิ่มขึ้น 3.0 แสนคน โดยมีสาเหตุหลักมาจากการจ้างงานภาคบริการที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ภาคเกษตรกรรมมีการจ้างงานลดลง ส่งผลให้ อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.4 ของกาลังแรงงานรวม คิดเป็นผู้ว่างงาน 1.7 แสนคน ทั้งนี้ ทั้งปี 54 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.7 ของกำลังแรงงานรวม คิดเป็นจำนวนคนว่างงานเฉลี่ยทั้งปี 54 ที่ 2.5 แสนคน
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนตในเดือน ม.ค.55 หดตัว ชะลอลงที่ร้อยละ -7.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -21.7 หรือขยายตัวร้อยละ 15.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่า ยอดขายรถจักรยานยนต์ในส่วนของภูมิภาค(สัดส่วนร้อยละ 80.0 ของยอดขายรถจักรยานยนต์รวม) หดตัวร้อยละ -9.1 จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -23.2 ในขณะที่ยอดขายรถจักรยานยนต์ในกทม.(สัดส่วนร้อยละ 20.0 ของยอดขายรถจักรยานยนต์รวม) ขยายตัวเป็นบวกที่ร้อยละ 1.4 ตามสถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลายลงและกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ม.ค.55 อยู่ที่ระดับ 64.0 จากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 63.1 ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยได้รับปัจจัยบวกจากสถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลายลง ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ เช่น การปรับขึ้นเงินเดือนราชการในเดือน ม.ค.55 รวมถึงมาตรการในการเยียวยาและฟื้นฟูผู้ประสบภัยหลังภาวะน้ำท่วม อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังมีความกังวลจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัว จากปัญหาหนี้สาธารณะในสหภาพยุโรป และราคาน้ำมันในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น
  • สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชยในเดือน ธ.ค.54 อยู่ที่ระดับ 2.0 ล้านล้านบาท ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่า ยอดคงค้างสินเชื่อปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ยอดคงค้างเงินฝากปรับตัวลดลง โดยยอดคงค้างสินเชื่อขยายตัวเร่งขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.7 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ขณะที่ยอดคงค้างเงินฝากหดตัวร้อยละ -0.1 จากเดือนก่อน (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) อย่างไรก็ตาม เงินกู้ยืมปรับเพิ่มขึ้น 2.8 หมื่นล้านบาทจากเดือนก่อน สะท้อนการระดมเงินในรูปแบบอื่นมากขึ้น จากการที่จะมีการจากัดวงเงินคุ้มครองเงินฝากลงมาเป็นไม่เกิน 1 ล้านบาท/ราย ผู้ฝาก/สถาบันการเงิน ในวันที่ 11 สิงหาคม 2555
Economic Indicators: Next Week
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ม.ค. 55 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 95.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 93.7 โดยมีปัจจัยบวกจากการที่ผู้ประกอบการบางรายสามารถกลับมาทาการผลิตได้ในระดับใกล้ปกติ อย่างไรก็ตามยังมีบางบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมที่ยังคงไม่สามารถดาเนินการผลิตได้ เนื่องจากเครื่องจักรและปัจจัยการผลิตอื่นๆ ได้รับความเสียหายจาเป็นต้องสั่งซื้อหรือซ่อมแซมใหม่ ประกอบกับความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก เป็นปัจจัยกดดันให้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมยังคงต่ำกว่า 100

Global Economic Indicators: This Week

USA: improving economic trend
  • การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payrolls) เดือน ม.ค.55 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าถึง 243,000 ตาแหน่ง (ปรับผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยการจ้างงานภาคเอกชนเพิ่มขึ้นถึง 257,000 ตาแหน่งจากเดือนก่อนหน้า ในขณะที่การจ้างงานภาครัฐลดลง -14,000 ตำแหน่ง อัตราว่างงานเดือน ม.ค.55 อยู่ที่ร้อยละ 8.3 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากร้อยละ 8.5 ในเดือน ธ.ค. 54 ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (ISM Non-Mfg PMI) เดือน ม.ค. 55 อยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือนที่ 56.8 จุด สูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 53.0 บ่งชี้การขยายตัวต่อเนื่องของภาคบริการ
China: improving economic trend
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน ม.ค. 55 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนมาอยู่ที่ร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน ซึ่งผลักดันให้ราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้น
Japan: mixed signal
  • ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ม.ค. 55 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าโดยอยู่ที่ระดับ 40.0 จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจากภาวะน้ำท่วมซึ่งเป็นฐานการผลิตสำคัญของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามยังคงมีความเสี่ยงจากวิกฤตหนี้สาธารณะในกลุ่มยูโรโซน
Taiwan: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออก เดือน ม.ค. 55 หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี ที่ร้อยละ - 16.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า จากการส่งออกไปยังจีน สหรัฐฯ และยูโรโซนที่หดตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ สะท้อนอุปสงค์จากนอกประเทศที่ชะลอลงชัดเจน อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนมากขึ้น จะเป็นปัจจัยสนับสนุนภาคการส่งออกที่สาคัญในระยะต่อไป มูลค่าการนำเข้า เดือน ม.ค. 55 หดตัวร้อยละ -11.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยหดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -2.9 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 55 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ตามราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงตรุษจีน
South Korea: mixed signal
  • ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.25 เพิ่มรอดูสถานการณ์ความไม่แน่นอนของปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซน
Indonesia: mixed signal
  • GDP ไตรมาส 4 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า หรือขยายตัวร้อยละ 2.2 จากไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ทำให้ทั้งปี GDP ขยายตัวที่ร้อยละ 6.5 จากการขยายตัวของการลงทุนและการบริโภคภาคเอกชน และพึ่งพาเศรษฐกิจภายนอกประเทศในระดับต่า ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่ธนาคารกลางอินโดนีเซียปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 5.75 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
Philippines: worsening economic trend
  • มูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค.54 หดตัวร้อยละ -20.7 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันปีก่อนหน้า โดยเป็นการหดตัวในระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี ผลจากการหดตัวในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกที่ร้อยละ 45.6 ของมูลค่าการส่งออกรวม โดยหดตัวร้อยละ -32.7 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค.55 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าโดยขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากราคาอาหาร โดยเฉพาะผักและน้ำตาลที่ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน เป็นสำคัญ
Malaysia: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 54 ขยายตัวชะลอลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 อยู่ที่ร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกอันดับ 1 ที่ร้อยละ 20.7 ของมูลค่าส่งออกรวมหดตัวร้อยละ -2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ธ.ค. 54 ยังคงขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 10.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า นอกจากนี้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 54 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของการผลิตในภาคอุตสาหกรรมการผลิต และการฟื้นตัวของภาคเหมืองแร่เป็นสำคัญ
Australia: mixed signal
  • ยอดค้าปลีก เดือน ธ.ค. 54 อยู่ที่ระดับต่ากว่าคาดการณ โดยหดตัวเป็น ครั้งแรกในรอบ 6 เดือนที่ร้อยละ -0.1 จากเดือนก่อนหน้า โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่การจ้างงานมีแนวโน้มชะลอลง ส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนชะลอตัว ขณะที่ธนาคารกลางออสเตรเลียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน ก.พ. 55 ที่ร้อยละ 4.25 ส่วนหนึ่งจากความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจยูโรโซน ซึ่งยังคงเผชิญกับปัญหาหนี้สาธารณะที่เรื้อรัง
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องทั้งสัปดาห์ แตะระดับ 1,100 จุด โดยนักลงทุนเข้าซื้อขายอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าการแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปจะยังคงไม่มีความชัดเจน แต่ตัวเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีเกินคาดทาให้นักลงทุนเข้าลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น รวมถึงตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาค ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 6 - 9 ก.พ. 55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 11,297 ล้านบาท ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยค่อนข้างคงที่ โดยมีแรงขายจากนักลงทุนโดยเฉพาะในพันธบัตรระยะกลาง ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 6 - 9 ก.พ.55 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -2,787 ล้านบาท
  • ค่าเงินบาทในสัปดาหนี้แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ ก่อนหน้าเล็กน้อย โดยปิดที่ระดับ 30.73 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 9 ก.พ. 55 แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ร้อยละ 0.55 ผลจากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง จากภาวะ risk appetite ของนักลงทุน ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในอัตราที่มากกว่าค่าเงินของคู่ค้าอื่นๆ ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นกว่าสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.74
  • ราคาทองคำปรับตัวลดลงจากสัปดาหก่อนหน้า โดยเฉพาะในช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนปรับสุงขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 9 ก.พ. 55 ปิดที่ 1,730 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ สูงขึ้นเล็กน้อยจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,720 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ