รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 13, 2012 11:53 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555

Summary:

1. ชาวจีนครองแชมป์ มาเที่ยวไทยสูงสุดหลังยุโรปหนาวจัดชะลอการเดินทาง

2. ห่วงไทยฟื้นช้าเกินคาด

3. ญี่ปุ่นเผย GDP ไตรมาส 4 หดตัวร้อยละ2.3 ทำสถิติหดตัวครั้งแรกในรอบสองไตรมาส

Highlight:
1.ชาวจีนครองแชมป์ มาเที่ยวไทยสูงสุดหลังยุโรปหนาวจัดชะลอการเดินทาง
  • อธิบดีกรมการท่องเที่ยว เปิดเผยว่า ในเดือนม.ค.55 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวไทย 1.94 ล้านคนเพิ่มขึ้น 7.65% เมื่อเทียบกับปีก่อนโดยนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวไทยมากที่สุด คือ จีน 187,229 คนรองลงมา คือ มาเลเซีย 175,489 คน รัสเซีย 148,124 คน เกาหลีใต้ 110,766 และ ญี่ปุ่น 103,261 คนตามลำดับ ทั้งนี้ กรมการท่องเที่ยวเชื่อว่าสาเหตุที่นักท่องเที่ยวในเอเชียเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากเทศกาลตรุษจีน นักท่องเที่ยวเอเชียเดินทางเฉลิมฉลองมากขึ้นกว่าทุกปี และเลือกใช้ไทยเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยว ประกอบการยุโรปขณะนี้ประสบปัญหาหิมะตกและอากาศหนาวเย็นในรอบหลายปี ทำให้นักท่องเที่ยวเอเชียไม่นิยมเดินทางไปยุโรป ส่วนนักท่องเที่ยวจากยุโรปก็ชะลอการเดินทางลงทั้งนี้คาดว่าช่วงครึ่งปีหลังจนถึงสิ้นปี 55 นักท่องเที่ยวจากจีนจะยังเดินทางท่องเที่ยวสูงสูงตามด้วย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น
  • สศค.วิเคราะห์ว่า เครื่องชี้ภาคบริการมีสัญญาณฟื้นตัวจากมหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น สะท้อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น โดยในปี 54 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวไทยจำนวน 19.1 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 19.8 เมื่อเทียบกับปี 53 โดยนักท่องเที่ยวจีนเป็ นอีกกลุ่มที่เข้ามาท่องเที่ยวไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวจีนคิดเป็ นสัดส่วนร้อยละ 9.2 ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมดที่เข้ามาเที่ยวไทย ซึ่งสะท้อนภาคการท่องเที่ยวต่างประเทศยังคงมีบทบาทสำคัญในการช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย
2. ห่วงไทยฟื้นช้าเกินคาด
  • ธปท.ได้เชิญนักบริหารเงินของธนาคารพาณิชย์และนักธุรกิจมาให้มุมมองภาวะเศรษฐกิจไทยในปีนี้และปีหน้า รวมถึงปัจจัยเสี่ยงในการลงทุน เมื่อวันที่ 10 ก.พ.ที่ผ่านมานักลงทุนส่วนใหญ่แสดงความเป็นห่วงปัญหาความผันผวนจากต่างประเทศ และกังวลเรื่องการดำเนินนโยบายดอกเบีย้ ขาลงที่ไม่มีผลต่อดอกเบีย้ในตลาด ซึ่ง ธปท.ยืนยันว่าสามารถคุมทิศทางดอกเบีย้ ในตลาดได้ แต่อาจจะต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งทางด้านผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจมหภาค ธปท. กล่าวว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้จะเติบโตได้ 4.9% ภายใต้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ 2.2% และเงินเฟ้อทั่วไปที่ 3.2% ส่วนปีหน้าคาดว่าเศรษฐกิจจะโตที่5.6% อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจยังมีปัจจัยเสี่ยงจากต่างประเทศทำให้ ธปท.ค่อนข้างห่วงความเสี่ยงอาจจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของภาคการผลิต
  • สศค. วิเคราะห์ว่า สำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2555 คาดว่าจะมีแนวโน้มฟื้นตัวขึน้ ซึ่งจะขยายตัวที่ร้อยละ 5.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.5 — 5.5) โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักจากอุปสงค์ภายในประเทศที่คาดว่าจะยังคงขยายตัวเร่งขึ้น ตามความจำเป็ นในการเร่งฟื้นฟูส่วนที่เสียหายจากวิกฤติอุทกภัย ประกอบกับนโยบายรัฐที่ช่วยสนับสนุนการใช้จ่าย อาทิ มาตรการปรับเพิ่มรายได้แรงงานรายวันและเงินเดือนข้าราชการ และโครงการจำนำข้าวเปลือก นอกจากนี้ การใช้จ่ายภาครัฐที่ขยายตัวเร่งขึ้นจากปีก่อนหน้า ก็จะมีส่วนช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจหลังภาวะอุทกภัย ขณะที่อุปสงค์จากต่างประเทศคาดว่าจะชะลอลงเล็กน้อย ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักที่มีแนวโน้มชะลอลง จากความกังวลปัญหาหนี้ยุโรป สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2555 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.0 — 4.0)
3. ญี่ปุ่นเผย GDP ไตรมาส 4 หดตัวร้อยละ2.3 ทำสถิติหดตัวครั้งแรกในรอบสองไตรมาส
  • ดัชนีสำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยในวันนีว้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 4 ปี 54 หดตัวลงร้อยละ -2.3 ซึ่งเป็นสถิติที่หดตัวลงครั้งแรกในรอบ 2 ไตรมาส หรือหดตัวร้อยละ -0.6 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 54
  • สศค. วิเคราะห์ว่าการที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 4 ปี 54 หดตัวนั้นเป็นผลมาจากการหดตัวของภาคการส่งออกร้อยละ 3.1 ต่อปี ตามภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และการแข็งค่าของสกุลเงินเยน ประกอบกับมหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยได้ส่งผลกระทบให้ภาคการผลิตในญี่ปุ่นเกิดปัญหาห่วงโซ่อุปทาน ไม่สามารถผลิตได้ในกำลังการผลิตปกติและส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าอื่น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมหมวดอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้ ซึ่งหากพิจารณาการส่งออกสุทธิ พบว่าเป็นแหล่งที่มาของการขยายตัวของ GDP ในไตรมาส 4 ปี 54 ถึงร้อยละ -0.6 นอกจากนี้ อุปสงค์ภายในประเทศขยายตัวไม่มากนักเนื่องจากแผนฟื้นฟูการก่อสร้างหลังสึนามิออกมาช้ากว่าที่คาด โดยอุปสงค์ภายในประเทศเป็ นแหล่งที่มาของการขยายตัวของ GDP ในไตรมาส 4 ปี 54 ร้อยละ 1.0 ซึ่งการชะลอตัวลงทำให้ทั้งปี 54 เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวร้อยละ -0.9 ต่อปีหดตัวครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินโลกปี 2552 ทั้งนี้ สศค. คาดว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในปี 55 จะขยายตัวร้อยละ 2.0 (คาดการณ์ ณ เดือน ธ.ค.54)

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ