รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday February 16, 2012 11:24 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555

Summary:

1. ส.อ.ท. เผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ม.ค. อยู่ที่ 99.6 จาก 93.7 ใน ธ.ค.

2. แนวโน้มจ้างงานปี 55 ดีขึ้น เน้นลูกจ้างคุณภาพ

3. อัตราการว่างงานเกาหลีใต้เดือน ม.ค. ลดลงแตะ 3.5%

Highlight
1. ส.อ.ท. เผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ม.ค.อยู่ที่ 99.6 จาก 93.7 ใน ธ.ค.
  • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมไทยในเดือน ม.ค. 55 ส่งสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่องหลังน้ำลด โดยในเดือน ม.ค. อยู่ที่ระดับ 99.6 ปรับเพิ่มจากระดับ 93.7 ในเดือน ธ.ค.54 ทั้งนี้ค่าดัชนีที่เพิ่มขึ้นจากองค์ประกอบด้านยอดขายคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ค่าดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่ฟื้นกลับมา แม้จะยังไม่กลับสู่ระดับ 100 ก็ตาม
  • สศค. วิเคราะห์ว่าการที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ภายหลังสถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายนั้น แสดงถึงทิศทางที่ดีขึ้นของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ ทั้งนี้ ค่าดัชนีความเชื่อมั่นจาแนกตามขนาดของกิจการในเดือนมกราคมพบว่าอุตสาหกรรมขนาดย่อมอยู่ที่ระดับ 94.7 อุตสาหกรรมขนาดกลางอยู่ที่ระดับ 97.3 และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อยู่ที่ระดับ 106.3 9 ตามลาดับ นักวิเคราะห์คาดว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าจะอยู่ที่ระดับ 107.7 ปรับเพิ่มขึ้นจาก 106.3 ในเดือนธันวาคม 54 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้ประกอบการจะสามารถกลับมาเดินสายการผลิตได้บางส่วนแล้ว การขยายตัวของภาคการผลิตในระยะยาวคงต้องขึ้นอยู่กับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ อีกทั้งสร้างความชัดเจนของแผนป้องกันน้ำท่วม และภัยธรรมชาติอื่นๆ พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และส่งเสริมการใช้สินค้าที่ผลิตภายในประเทศ
2. แนวโน้มจ้างงานปี 55 ดีขึ้น เน้นลูกจ้างคุณภาพ
  • บริษัทจัดหางานจ็อบส์ ดีบี ประเทศไทย จำกัด บอกว่าภาพรวมตลาดแรงงานไทยปี 55 มีแนวโน้มดีขึ้น เพราะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวแต่ก็ไม่ได้มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมามากนัก โดยปี 55 ความต้องการแรงงานจากภาคธุรกิจที่เป็นพันธมิตรของจ็อบส์ดีบีมีสูงถึงกว่า 3 หมื่นอัตรา
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ในปี 55 เศรษฐกิจไทยคาดว่าจะกลับมาขยายตัวเร่งขึ้นจากปี 54 โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักจากอุปสงค์ภายในประเทศที่คาดว่าจะกลับมาขยายตัวเร่งขึ้น จากนโยบายภาครัฐในการสนับสนุนการใช้จ่ายภายในประเทศ เช่น นโยบายปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่า 300 บาท การปรับเพิ่มเงินเดือนราชการ และโครงการจำนำข้าวเปลือก ขณะที่การลงทุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนคาดว่าขยายตัวเร่งขึ้นจากปีก่อนหน้าเช่นกัน โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ และความจาเป็นในการเร่งฟื้นฟูอาคารบ้านเรือนและเครื่องมือเครื่องจักรในภาคอุตสาหกรรมภายหลังจากวิกฤติมหาอุทกภัยคลี่คลายลง ประกอบกับการที่วุฒิสภาได้มีการอนุมัติพ.ร.ก.กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ และพ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ซึ่งจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนมากขึ้น ขณะที่อุปสงค์จากต่างประเทศคาดว่าจะชะลอลงเล็กน้อย ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักที่มีแนวโน้มชะลอลง จากความกังวลในการแก้ไขปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะในกลุ่มสหภาพยุโรป ทั้งนี้ สศค. คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 55 จะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.0 ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.5 - 5.5 (ประมาณการ ณ เดือน ธ.ค. 54)
3. อัตราการว่างงานเกาหลีใต้เดือน ม.ค. ลดลงแตะ 3.5%
  • สำนักงานสถิติของเกาหลีใต้เผย อัตราการว่างงานเดือนม.ค. ปรับลดลงสู่ระดับ 3.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการสร้างงานในอุตสาหกรรมบริการยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่อง โดยรายงานของสำนักงนสถิติแห่งชาติเกาหลีใต้ระบุว่า อัตราการว่างงานของผู้ที่มีอายุระหว่าง 15-29 ปี อยู่ที่ระดับ 8.0% ในเดือน ม.ค. ลดลง 0.5% เมื่อเทียบเป็นรายปี แต่เพิ่มขึ้น 0.3% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
  • สศค. วิเคราะห์ว่าอัตราการว่างงานเดือนม.ค. ของเกาหลีใต้อยู่ที่ระดับ 3.5% ลดลง 0.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน แต่เพิ่มขึ้น 0.5% เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค. 54 โดยจำนวนผู้ว่างงานในเดือนม.ค.อยู่ที่ 853,000 คน ลดลง 65,000 คนเมื่อเทียบเป็นรายปี หากเมื่อเทียบรายอุตสาหกรรม พบว่า อุตสาหกรรมภาคค้าส่งและค้าปลีกมียอดการจ้างงานถึง 104,000 ตาแหน่ง ส่วนอุตสาหกรรมภาคบริการด้านสังคมและสุขภาพมียอดจ้างงาน 86,000 ตำแหน่ง เท่ากับภาคการก่อสร้าง ขณะที่อุตสาหกรรมภาคขนส่งมียอดจ้างงาน 73,000 ตำแหน่ง อย่างไรก็ตาม แม้เกาหลีใต้ยังมีตัวเลขการจ้างงานที่ฟื้นตัว แต่ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจหลายปัจจัย อาทิ ปริมาณการผลิต และยอดค้าปลีกกลับปรับตัวลดลง อันเป็นผลจากยอดการส่งออกที่ซบเซา เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงโดยเฉพาะเศรษฐกิจยูโรโซนที่เป็นคู่ค้าอันดับ 2 ของเกาหลีใต้ด้วยสัดส่วนการส่งออกกว่าร้อยละ 11.2 ของมูลค่าส่งออกรวม โดยยอดการส่งออกเดือนม.ค. 55 หดตัวถึงร้อยละ -6.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน มาอยู่ที่ 4.15 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เกาหลีใต้ขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี โดยขาดดุลการค้าอยู่ที่ 1.96 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเศรษฐกิจเกาหลีใต้กำลังส่งสัญญาณชะลอตัวลง ทั้งนี้ สศค. คาดว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้ปี 55 จะขยายตัวที่ร้อยละ 3.5 (คาดการณ์ ณ ธ.ค.54)

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ