รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 13 - 17 กุมภาพันธ์ 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 20, 2012 10:33 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้อปท.) ในเดือน ม.ค. 55 มีจำนวนทั้งสิ้น 126.4 พันล้านบาท หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -1.5
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน ม.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ภาษีจากการทาธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมหดตัวร้อยละ -15.3
  • นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศในเดือน ม.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ม.ค. 55 อยู่ที่ระดับ 99.6
  • GDP ญี่ปุ่น ไตรมาส 4 ปี 54 หดตัวลงร้อยละ -1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
  • GDP สหภาพยุโรป ไตรมาส 4 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • GDP มาเลเซีย ไตรมาส 4 ปี 54 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
  • GDP สิงคโปร์ ไตรมาส 4 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
Indicators next week
 Indicators                          Forecast           Previous
Jan: Passenger car sale(% YoY)        -10.0              -28.1
  • จากสถานการณ์น้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่มีอุตสาหกรรมหลัก คือยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ในช่วงปลายปี 54 คลี่คลายลง ประกอบกับมีการเร่งนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์จากต่างประเทศในเดือนมกราคมมากขึ้น เพื่อทดแทนโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่ยังไม่สามารถผลิตชิ้นส่วนได้ตามปกติ
Jan: API (%YoY)                         3.5                4.8
  • ตามการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องของผลผลิตในหมวดพืชผล และปศุสัตว์เป็นสำคัญ เช่น ยางพารา มันสำปะหลัง และผลผลิตสุกร เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเอื้ออานวยต่อการผลิตและเก็บเกี่ยว ประกอบกับสถานการณ์โรคระบาดในมันสำปะหลัง และสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ภาคกลางในช่วงปลายปี 54 คลี่คลายลง
Economic Indicators: This Week
  • รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้อปท.) ในเดือน ม.ค. 55 มีจำนวนทั้งสิ้น 126.4 พันล้านบาท หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -1.5 อย่างไรก็ดี รายได้ที่จัดเก็บได้ในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2555 สามารถจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 9.7 พันล้านบาท สำหรับการลดลงของภาษีที่จัดเก็บได้ในเดือนนี้เกิดจากกาษีสรรพสามิตรถยนต์และภาษีนิติบุคคลเป็นสำคัญ โดยจัดเก็บได้จำนวน 6.1 และ 16.5 พันล้านบาท หรือหดตัวร้อยละ -21.6 และ -11.5 ตามลำดับ ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัญหาของภาวะน้ำท่วมในช่วงปลายปี 54 ที่ยังคงส่งผลต่อเนื่องต่อธุรกิจ ทั้งนี้ ภาษีฐานการบริโภคสามารถขยายตัวได้ที่ร้อยละ 8.8 ในขณะที่ภาษีฐานรายได้ซึ่งรวมภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหดตัวร้อยละ -1.3 โดยมีสาเหตุจากผู้ประกอบการบางส่วนที่ยังไม่สามารถกลับมาดาเนินธุรกิจได้ตามปกติจากผลกระทบของปัญหาน้าท่วมที่ผ่านมา
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน ม.ค. 55 มีมูลค่า 48.1 พันล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 9.8 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก พบว่าหดตัวร้อยละ -1.4 จากเดือนธ.ค.54 ตามการหดตัวของภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ที่จัดเก็บบนฐานการบริโภคในประเทศที่หดตัวร้อยละ -4.0 สะท้อนถึงการฟื้นตัวไม่เต็มที่จากปัจจัยน้ำท่วมในช่วงปลายปี 54 ประกอบกับปัจจัยฐานสูงจากปีก่อนที่เศรษฐกิจในช่วงไตรมาสแรกขยายตัวในระดับสูง ในขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ที่จัดเก็บบนฐานการนำเข้า ยังขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 21.1 จากเดือนธ.ค.54 ขยายตัวร้อยละ 20.1 ส่วนหนึ่งมีการเร่งสินค้าทดแทนวัสดุและอุปกรณ์ที่ได้รับความเสียหายจากน้าท่วมในช่วงปลายปี 54
  • ภาษีจากการทาธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน ม.ค. 55 หดตัวร้อยละ -15.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน หดตัวมากขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 10.7 และเมื่อขจัดผลทางฤดูการออกหดตัวร้อยละ -23.2 เนื่องจากสถานการณ์น้าท่วมที่เกิดขึ้น ทาให้ผู้บริโภคมีการพิจารณามากขึ้นในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย ส่งผลให้กำลังซื้อ และการโอนกรรมสิทธิของผู้บริโภคชะลอลง ประกอบกับผู้ประกอบการมีแนวโน้มชะลอการเปิดโครงการใหม่ออกไป อย่างไรก็ตาม คาดว่าแนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์จะสามารถกลับมาฟื้นตัวสู่ภาวะปกติได้ภายในช่วงกลางปี 55 โดยได้รับปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ ประกอบกับนโยบายรัฐบาล ที่ช่วยสนับสนุนการใช้จ่ายภายในประเทศ เช่น นโยบายปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่า 300 บาท การปรับเพิ่มเงินเดือนราชการ เป็นต้น
  • นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศในเดือน ม.ค. 55 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยมีจานวน 1.94 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาล (m-o-m SA) ร้อยละ 12.8 ต่อเดือน โดยเป็นการขยายตัวจากภูมิภาคยุโรป อาเซียน เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ที่กลับมาขยายตัวอีกครั้งหลังจากหดตัวต่อเนื่อง 2 เดือนก่อนหน้า จากเหตุการณ์มหาอุทกภัยในประเทศไทย โดยขยายตัวร้อยละ 8.1 10.9 และ 7.5 ตามลาดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือหากพิจารณาจาก Contribution to Growth รายประเทศ พบว่าการขยายตัวได้ดีมาจาก จีน มาเลเซียและรัสเซียโดยขยายตัวร้อยละ 30.5 10.9 และ 8.8 ตามลำดับ
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ม.ค.55 อยู่ที่ระดับ 99.6 ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนที่อยู่ที่ระดับ 93.7 เป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ภายหลังสถานการณ์อุทกภัยคลี่คลาย ซึ่งแสดงถึงทิศทางที่ดีขึ้นของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ ทั้งนี้ แม้ว่าผู้ประกอบการจะสามารถกลับมาเดินสายการผลิตได้บางส่วนแล้ว แต่ยังคงกังวลต่อการผลิตในระยะยาว ซึ่งขึ้นอยู่กับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐและการสร้างความชัดเจนของแผนป้องกันอุทกภัยและภัยธรรมชาติอื่นๆ พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานและต้นทุนค่าแรงที่จะมีการปรับเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ดัชนีฯ ดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 สะท้อนความเชื่อมั่นต่อการประกอบการยังอยู่ในระดับที่ไม่ดี
Economic Indicators: Next Week
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง ในเดือน ม.ค.55 คาดว่าจะหดตัวร้อยละ -10.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -28.1 จากสถานการณ์น้าท่วมหนักในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่มีอุตสาหกรรมหลัก คือยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ในช่วงปลายปี 54 คลี่คลายลงประกอบกับมีการเร่งนาเข้าชิ้นส่วนรถยนต์จากต่างประเทศในเดือนมกราคมมากขึ้น เพื่อทดแทนโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่ยังไม่สามารถผลิตชิ้นส่วนได้ตามปกติ
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ในเดือน ม.ค.55 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.8 ตามการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องของผลผลิตในหมวดพืชผล และปศุสัตว์เป็นสาคัญ เช่น ยางพารา มันสำปะหลัง และผลผลิตสุกร เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยต่อการผลิตและเก็บเกี่ยว ประกอบกับสถานการณ์โรคระบาดในมันสำปะหลัง และสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ภาคกลางในช่วงปลายปี 54 คลี่คลายลง

Global Economic Indicators: This Week

USA: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออกและนำเข้าเดือน ธ.ค. 54 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 8.3 และ 10.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ตามลำดับ โดยการส่งออกที่ชะลอตัวลงมาก ตลอดจนการเร่งนำเข้าสินค้าปิโตรเลียมส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล -58.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ยอดค้าปลีก เดือน ม.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 5.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า หรือร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยยอดค้าปลีกที่ขยายตัวจากเดือนก่อนหน้าน้อยกว่าที่คาด เป็นผลจากการหดตัวของยอดขายยานยนต์และส่วนประกอบ ที่หดตัวร้อยละ -1.1 จากเดือนก่อนหน้า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า หรือร้อยละ 0.03 จากเดือนก่อนหน้า จากการผลิตสินค้ายานยนต์และเครื่องจักรกลเป็นสาคัญ
China: worsening economic trend
  • มูลค่าการส่งออก และมูลค่าการนำเข้า เดือน ม.ค. 55 หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี โดยหดตัวร้อยละ -0.5 และ -15.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ตามลำดับ จากการปิดทาการของบริษัทและโรงงานในช่วงวันหยุดเทศกาลตรุษจีนและการชะลอตัวของอุปสงค์ภายนอกจากปัญหาหนี้สาธารณะยุโรป
Japan: mixed signal
  • GDP ไตรมาส 4 ปี 54 หดตัวลงร้อยละ -1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือหดตัวลงร้อยละ -0.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เป็นผลกระทบจากการส่งออกของญี่ปุ่นที่หดตัวลงจากอุทกภัยในไทย ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 0-0.1 จากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับต่ำในขณะที่เศรษฐกิจยังคงขยายตัวอย่างเปราะบาง ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน ธ.ค. 54 ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยเหลือร้อยละ 3.8 เนื่องจากอุทกภัยในไทยส่งผลกระทบทางด้านห่วงโซ่อุปทานในหลายอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น
EU:
  • GDP ไตรมาส 4 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัวร้อยละ -0.3 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) จากผลกระทบจากปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซน สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Moody's ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศในสหภาพยุโรป 9 ประเทศ รวมถึงอิตาลี สเปน และโปรตุเกส ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 54 หดตัวร้อยละ -2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการหดตัวของการผลิตในหมวดพลังงานและสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นสาคัญ
Malaysia: mixed signal
  • GDP ไตรมาส 4 ปี 54 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือขยายตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) ทาให้ทั้งปี 54 เศรษฐกิจมาเลเซียขยายตัวร้อยละ 5.1 จากผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ภาคการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศยังคงมีความแข็งแกร่ง ทำให้เศรษฐกิจยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี
Singapore: mixed signal
  • GDP ไตรมาส 4 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือหดตัวร้อยละ -2.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (หลังขจัด ผลทางฤดูกาล) ทำให้ทั้งปี 54 เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 4.9 จากอุปสงค์ภายนอกประเทศที่ชะลอตัว จากปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป มูลค่าการส่งออกหักน้ามัน เดือน ม.ค. 55 หดตัวที่ร้อยละ -2.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากการหดตัวของการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ ยอดค้าปลีก เดือน ธ.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนจากยอดขายรถยนต์นั่งที่หดตัวเป็นสำคัญ ขณะที่ หมวดการสื่อสาร น้ำมัน เครื่องประดับ อาหารและเครื่องดื่มยังขยายตัวได้ดี
Australia: mixed signal
  • อัตราการว่างงาน เดือน ม.ค. 55 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยูที่ ร้อยละ 5.1 ของกำลังแรงงาน จากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น สะท้อนอุปสงค์ในประเทศที่ยังคงแข็งแกร่ง ท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก
South Korea: worsening economic trend
  • มูลค่าการส่งออก เดือน ม.ค. 55 (ตัวเลขปรับปรุง) หดตัวร้อยละ -7.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการหดตัวของการส่งออกไปยังยูโรโซน จีน และสหรัฐฯ สะท้อนการชะลอลงที่ชัดเจนของเศรษฐกิจโลก ขณะที่มูลค่าการนาเข้า เดือน ม.ค. 55 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งจากการชะลอการนำเข้าตามราคาสินค้านาเข้าที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง และอาจทาให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางเศรษฐกิจโดยรวมที่ส่งสัญญาณชะลอลง นอกจากนี้อัตราการว่างงาน เดือน ม.ค. 55 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ของกำลังแรงงานรวม จากการจ้างงานที่ลดลงกว่าร้อยละ -0.1 จากเดือนก่อนหน้า ขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET เคลื่อนไหวในช่วงระดับสูงกว่า 1,100 จุด โดยมีความผันผวนระหว่างวันสูง ถึงแม้ว่า Moody's จะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของหลายประเทศในกลุ่มยูโรโซนก็ตาม แต่การประกาศผลประกอบการของหลายบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทาให้นักลงทุนเข้าซื้อหลักทรัพย์ที่ผลประกอบการดี และเทขายเพื่อทากาไรเนื่องจากราคาปรับตัวสูงขึ้นมามากแล้ว ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 13 - 16 ก.พ. 55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 4,791 ล้านบาท ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยค่อนข้างคงที่ โดยมีแรงซื้อ-ขายจากนักลงทุนโดยเฉพาะในพันธบัตรระยะปานกลางถึงระยะยาว ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 13 - 16 ก.พ. 55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 5,871 ล้านบาท
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อย โดยปิดที่ระดับ 30.86 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 16 ก.พ. 55 อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐร้อยละ -0.42 ผลจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น จากการที่ Fed ออกมาให้สัญญาณว่าโอกาสทา QE3 มีน้อยลง อย่างไรก็ตามค่าเงินบาทอ่อนค่าลงในอัตราที่น้อยกว่าค่าเงินของคู่ค้าอื่นๆ ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นกว่าสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.08
  • ราคาทองคำค่อนข้างทรงตัว โดยราคาทองคา ณ วันที่ 16 ก.พ. 55 ปิดที่ 1,728 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ สูงขึ้นเล็กน้อยจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,722 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ