รายงานภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่น ประจำสัปดาห์วันที่ 6 - 10 กุมภาพันธ์ 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 13, 2012 12:18 —กระทรวงการคลัง

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้

1. คำสั่งซื้อเครื่องจักรในช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2554 ลดลงร้อยละ 2.6

2. วุฒิสภาญี่ปุ่นได้ลงความเห็นชอบผ่านงบประมาณเพิ่มเติมครั้งที่ 4 ประจำปีงบประมาณ 2554

3. ดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศญี่ปุ่นในปี 2554 ลดลงเป็นประวัติการณ์

-----------------------------------

1. คำสั่งซื้อเครื่องจักรในช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2554 ลดลงร้อยละ 2.6

Cabinet Office เปิดเผยว่าคำสั่งซื้อเครื่องจักรช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2554 ลดลงร้อยละ 2.6 อยู่ที่ 2.2095 ล้านล้านเยนเยน ซึ่งลดลงเป็นครั้งแรกในรอบปี ซึ่งมีผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงและอัตราแลกเปลี่ยนเงินเยนที่แข็งค่ามากขึ้นส่งผลให้ผู้ประกอบการหยุดชะงักลงทุนในสินทรัพย์ประเภททุนในช่วงนี้ โดยคำสั่งซื้อเครื่องจักรในภาคการผลิตลดลงร้อยละ 2.8 เนื่องจากยอดสั่งซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์สื่อสารลดลงร้อยละ 17.2 ขณะที่คำสั่งซื้อเครื่องยนต์ขอรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 ส่วนคาสั่งซื้อเครื่องจักรในภาคอื่นๆ ลดลงร้อยละ 2.3

2. วุฒิสภาญี่ปุ่นได้ลงความเห็นชอบผ่านงบประมาณเพิ่มเติมครั้งที่ 4 ประจำปีงบประมาณ 2554

เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2555 วุฒิสภาญี่ปุ่นได้ลงความเห็นชอบผ่านงบประมาณเพิ่มเติมครั้งที่ 4 ประจำปีงบประมาณ 2554 ซึ่งมีจานวนเท่ากับ 2.5345 ล้านล้านเยน โดยมีรายละเอียด คือ งบประมาณเพื่อการสนับสนุนผู้ซื้อรถยนต์ประหยัดพลังงาน (ECO Car) เป็นจานวนเท่ากับ 300 พันล้านเยน งบประมาณเพื่อช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้าท่วมในประเทศไทยเป็นจานวนเท่ากับ 741.3 พันล้านเยน สำหรับงบประมาณเพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์ภัยพิบัติเมื่อเดือนมีนาคม 2554 นั้นมีรายละเอียด คือ งบประมาณเพื่อการก่อตั้งหน่วยงานฟื้นฟูภาคเอกชนที่ได้รับความเสียหายโดยการเข้าซื้อพันธบัตรของบริษัทที่ได้รับความเสียหายเป็นจานวน 500 พันล้านเยน นอกจากนี้ยังมีงบประมาณเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของภาคการเกษตรเพื่อเตรียมตัวพิจารณาเข้าร่วมในกรอบความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement : TPP) เป็นจานวนเท่ากับ 157.4 ล้านล้านเยน และงบประมาณเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ของผู้มีอายุระหว่าง 70 -74 ปีเป็นจำนวนเท่ากับ 871.9 พันล้านเยน ซึ่งเป็นการจัดทางบประมาณเพิ่มเติม 4 ครั้งภายในรอบปีงบประมาณเดียวกันเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2490 เป็นต้นมา ซึ่งงบประมาณเพิ่มเติมประจาปีงบประมาณ 2554 ทั้งหมดนั้น มีจุดประสงค์หลักเพื่อการฟื้นฟูความเสียหายจากเหตุการณ์ภัยพิบัติเมื่อเดือนมีนาคม 2554 ทาให้ยอดรวมงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2554 นั้นมีจานวนเท่ากับ 107.5105 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นยอดที่สูงที่สุดในประวัติการณ์

3. ดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศญี่ปุ่นในปี 2554 ลดลงเป็นประวัติการณ์

กระทรวงการคลังญี่ปุ่นได้เปิดเผยตัวเลขยอดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศญี่ปุ่นในปี 2554 ว่ามีมูลค่าเท่ากับ 9.63 ล้านล้านเยน โดยเป็นการปรับตัวลดลงจากปี 2553 ถึงร้อยละ 43.9 มากกว่าการปรับลดลงในปี 2551 ที่ลดลงจากปีก่อนหน้า คิดเป็นร้อยละ 33.9 โดยในครั้งนั้นเป็นผลกระทบจากการล้มละลายของบริษัท Lehman Brothers นอกจากนี้ยังเป็นครั้งแรกนับจากปี 2539 ที่ยอดการเกิดดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศญี่ปุ่นมียอดต่ากว่า 10 ล้านล้านเยน

ในครั้งนี้ สาเหตุที่ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมีการปรับตัวลดลงอย่างมากนั้น สาเหตุหลักมาจากดุลการค้าที่มีการขาดดุลถึง 1.61 ล้านล้านเยน จากการที่มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 1.9 เหลือ 62.72 ล้านล้านเยน สืบเนื่องจากการส่งออกรถยนต์และผลิตภัณฑ์ Semi Conductor ลดลงจากผลกระทบของเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นและน้าท่วมที่ประเทศไทย ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ดิดเป็นมูลค่า 64.33 ล้านล้านเยน จากการที่ต้องนาเข้าน้ำมันและแก๊ซธรรมชาติเพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้การขาดดุลการบริการก็ยังได้เพิ่มขึ้นจาก 1.41 ล้านล้านเยนเป็น1.64 ล้านล้านเยน โดยมีผลมาจากปริมาณนักท่องเที่ยวที่ลดลงเกือบร้อยละ 30 หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว

สาเหตุหลักที่ทาให้ดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นยังคงมีการเกินดุลอยู่ได้นั้น มาจากบัญชีรายได้ยังคงมีการเกินดุลเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าคิดเป็นร้อยละ 19.9 หรือ 14.03 ล้านล้านเยน

อย่างไรก็ตามรายได้จากบัญชีรายได้มีแนวโน้มที่จะลดลง เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกที่อยู่ในระดับต่ำ ในขณะที่การส่งออกมีแนวโน้มที่จะลดลงต่อไปจากภาวะเศรษฐกิจโลกและอัตราแลกเปลี่ยนเงินเยนที่มีการแข็งค่าขึ้นและมูลค่าการนาเข้าที่จะเพิ่มขึ้นจากราคาน้ามัน ทำให้ในอนาคตญี่ปุ่นมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดขึ้น

สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ณ กรุงโตเกียว

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ