รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Friday February 24, 2012 11:56 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555

Summary:

1. ธปท. ห่วงค่าเงินแกว่งชี้แก้หนี้กรีซไม่น่าไว้ใจ เผยปัญหาเชิงลึกยังมีอยู่

2. กระทรวงพาณิชย์เร่งกำชับให้ผู้ประกอบการทั้งประเทศลดราคาอาหารจานเดียว

3. ไต้หวันปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 55 ขยายตัวร้อยละ 3.85 ต่อปี

Highlight:
1. ธปท. ห่วงค่าเงินแกว่งชี้แก้หนี้กรีซไม่น่าไว้ใจ เผยปัญหาเชิงลึกยังมีอยู่
  • ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงสถานการณ์ปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปในขณะนี้ว่า ยังวางใจไม่ได้ แม้ว่ากรีซและบางประเทศในยุโรปจะได้รับความช่วยเหลือทางการเงินระยะสั้นแล้ว แต่ก็จะเป็นผลดีในระยะหนึ่งเท่านั้น โดยตลาดยังติดตามและจับตาการแก้ไขปัญหาระยะยาวมากกว่า เนื่องจากการแก้ไขปัญหาจะต้องอาศัยแนวทางระยะยาวและลงลึก ไม่ใช่แค่การแก้ไขปัญหาสภาพคล่องเท่านั้น หากแต่ต้องป้องกันการผิดนัดชำระหนี้ อีกทั้งต้องแก้ไขที่พื้นฐานเศรษฐกิจ โดยหากตลาดผิดหวังก็อาจจะทำให้ค่าเงินเกิดความผันผวนรุนแรงได้ตลอดเวลา
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ที่ผ่านมา วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรปส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทหลายทาง อันได้แก่ 1) กระทบต่อความเชื่อมั่นนักลงทุน โดยเมื่อวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรปมีแนวโน้มคลี่คลาย นักลงทุนจะลงทุนในตลาดภูมิภาคซึ่งจัดเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง (Risky asset) มากขึ้น ในทางกลับกัน หากวิกฤติมีแนวโน้มแย่ลง นักลงทุนจะถอนเงินทุนออกจากภูมิภาคแล้วเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe haven) โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 2) กระทบต่อสภาพคล่อง โดยมาตรการช่วยเหลือสภาพคล่องแก่ธนาคารพาณิชย์ของธนาคารกลางยุโรปในรูปแบบเงินกู้ระยะเวลา 3 ปี ทาให้สภาพคล่องในภาคการเงินโลกอยู่ในระดับสูง และทำให้นักลงทุนบางส่วนหันมาลงทุนในตลาดภูมิภาคเพื่อทำกำไรมากขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เงินทุนเคลื่อนย้ายในตลาดภูมิภาครวมถึงไทยมีความผันผวนสูงและทำให้แนวโน้มค่าเงินบาทในปีนี้ไม่ชัดเจน ทั้งนี้ สศค. คาดการณ์ ณ เดือน ธ.ค. 54 ว่าในปี 55 ค่าเงินบาทเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ระดับ 30.8 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยอาจมีการปรับสมมติฐานค่าเงินบาทในการประมาณการครั้งต่อไปในเดือน มี.ค. 55 ได้
2. กระทรวงพาณิชย์เร่งกำชับให้ผู้ประกอบการทั้งประเทศลดราคาอาหารจานเดียว
  • อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เร่งขยายจุดจำหน่ายอาหารธงฟ้า พร้อมทั้งขอความร่วมมือผู้ประกอบการในการลดราคาอาหารปรุงสาเร็จลงตามราคาแนะนาของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งอยู่ที่เมนูละ 25 -30 บาท และในห้างสรรพสินค้าต้องตั้งราคาไม่เกินเมนูละ 35 บาท เพื่อเป็นการลดค่าครองชีพในกับประชาชนและชะลอการปรับราคาอาหารปรุงสาเร็จ
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การควบคุมราคาอาหารปรุงสำเร็จของกระทรวงพาณิชย์จะช่วยควบคุมอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐานในระยะต่อไปได้ เนื่องจากที่ผ่านมา ราคาอาหารปรุงสาเร็จ มีสัดส่วนร้อยละ 6.52 ของตะกร้าเงินเฟ้อทั่วไป และร้อยละ 8.6 ของตะกร้าเงินเฟ้อพื้นฐาน อีกทั้งราคาอาหารปรุงสาเร็จปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือน ม.ค. 55 ราคาอาหารปรุงสาเร็จขยายตัวร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน ม.ค. 55 อยู่ที่ร้อยละ 3.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 2.75 การชะลอการปรับเพิ่มขึ้นของราคาอาหารปรุงสำเร็จ ขณะที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นนั้น จะช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของอัตราเงินเฟ้อได้ และสามารถช่วยพยุงค่าครองชีพของประชาชนได้
3. ไต้หวันปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 55 ขยายตัวร้อยละ 3.85 ต่อปี
  • สำนักงานสถิติไต้หวันปรับลดการคาดการณ์ GDP ปี 55 ขยายตัวชะลอลงเหลือร้อยละ 3.85 จากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้ร้อยละ 3.91 เนื่องจากคาดการณ์ว่าในปี 55 นี้ การส่งออกจะชะลอตัวลง จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะปัญหาหนี้สาธารณะในยูโรโซนที่ยังไม่มีทางออกที่ชัดเจน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกทั้งทางตรงและทางอ้อม ทาให้อุปสงค์จากยูโรโซนและจากประเทศคู่ค้าของไต้หวันที่มีสัดส่วนการค้ากับยูโรโซนชะลอตัวลง
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การปรับลดการคาดการณ์ GDP ไต้หวันปี 55 นี้เป็นผลมาจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงทาให้ภาคการผลิตภายในประเทศมีแรงกดดันเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากไต้หวันพึ่งพาการส่งออกเป็นปัจจัยสาคัญ ยอดคาสั่งซื้อสินค้าจากต่างชาติที่ลดลงส่งผลให้ทางการไต้หวันคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะชะลอลง อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าไฮเทคและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของไต้หวัน เช่น โทรศัพท์สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต เป็นต้น ยังได้อุปสงค์จากจีนมาเป็นปัจจัยหนุนที่ช่วยพยุงภาคการส่งออกและเศรษฐกิจโดยรวม ทาให้ทางการไต้หวันปรับลดคาดการณ์ลงเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.15 เท่านั้น ทั้งนี้ การปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจไต้หวันนี้ ไม่น่าส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากนัก เนื่องจากไทยส่งออกไปยังไต้หวันน้อย ด้วยสัดส่วนการส่งออกเพียงร้อยละ 1.7 ของการส่งออกทั้งหมด (สัดส่วนปี 54) ทั้งนี้ สศค. คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไต้หวันปี 55 จะขยายตัวร้อยละ 4.0 ชะลงจากปี 54 ที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.0 (คาดการณ์ ณ เดือน ธ.ค. 54)

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ