Macro Morning Focus ประจำวันที่ 1 มีนาคม 2555
Summary:
1. ตลาดรถจักรยานยนต์ไทยเดือน ม.ค.55 ส่งสัญญาณบวกแต่ต้นปี
2. โตโยต้าทุ่ม 6 พันล้านบาท เพิ่มผลิตในไทย รับเอเชียโต
3. อัตราการว่างงานสหรัฐจะปรับลดลงสู่ระดับร้อยละ 6 ในอีก 5 ปีข้างหน้า
Highlight:
1. ตลาดรถจักรยานยนต์ไทยเดือน ม.ค.55 ส่งสัญญาณบวกแต่ต้นปี
- กรรมการบริหารและผู้จัดการทั่วไปส่วนงานขาย บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จากัด เปิดเผยว่า เดือน ม.ค.55 ที่ผ่านมา ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่น่าสนใจสาหรับวงการรถจักรยานยนต์เมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายของปี 54 หลังปิดตลาดด้วยยอดจดทะเบียนรวมถึง 129,080 คัน สาหรับตัวเลขตลาดรวมรถจักรยานยนต์ทุกประเภทประจาเดือน ม.ค.55 มียอดจดทะเบียนป้ายวงกลมทั้งสิ้น 129,080 คัน ทั้งนี้ เมื่อแบ่งแยกตามกลุ่มผู้ผลิตพบว่าในเดือนมกราคมที่ผ่านมานั้น รถจักรยานยนต์ฮอนด้ามียอดจดทะเบียนทั้งสิ้น 86,998 คัน เทียบเท่าสัดส่วนครองตลาดที่ร้อยละ 67 ตามด้วย ยามาฮ่า 33,729 คัน สัดส่วนครองตลาดร้อยละ 26, ซูซูกิ 4,784 คัน สัดส่วนครองตลาดร้อยละ 4 และคาวาซากิ 1,106 คัน สัดส่วนครองตลาดร้อยละ 1, และยี่ห้ออื่นๆ รวม 2,463 คัน สัดส่วนครองตลาดร้อยละ 2
- สศค.วิเคราะห์ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 55 มีแนวโน้มฟื้นตัวจากปีก่อนหน้า โดยเฉพาะการบริโภคในเดือน ม.ค.55 ที่สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 6.0 ขณะที่ยอดจาหน่ายรถจักรยานยนต์ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -21.7 นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ม.ค.55 อยู่ที่ระดับ 64.0 ซึ่งปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยได้รับปัจจัยบวกจากความเชื่อมั่นที่ฟื้นตัวภายหลังสถานการณ์น้าท่วมคลี่คลายลง ประกอบกับความคาดหวังของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ เช่น การปรับขึ้นเงินเดือนราชการ รวมถึงมาตรการในการเยียวยาและฟื้นฟูผู้ประสบภัยหลังภาวะน้าท่วม ทั้งนี้ สศค.คาดว่า การบริโภคภาคเอกชนในปี 55 จะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ3.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.3 - 4.3) ส่วนเศรษฐกิจไทยในปี 55 นั้นจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.0 (คาดการณ์ ณ เดือน ธ.ค. 54) และจะมีการปรับประมาณการใหม่อีกครั้งในเดือน มี.ค. 55
2. โตโยต้าทุ่ม 6 พันล้านบาท เพิ่มผลิตในไทย รับเอเชียโต
- บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประกาศแผนเพิ่มกาลังการผลิตเครื่องยนต์เบนซิน แซดอาร์ สาหรับรถยนต์โตโยต้าโคโรลลา อีกจานวน 100,000 เครื่องต่อปี ด้วยเงินลงทุนกว่า 6,000 ล้านบาทในบริษัท สยามโตโยต้า อุตสาหกรรม จากัดทั้งนี้ คาดว่า โครงการนี้จะแล้วเสร็จในปี 2557 ซึ่งผลจากการลงทุนในครั้งนี้ จะทาให้กาลังการผลิตของสยามโตโยต้าเพิ่มขึ้นเป็น 840,000 เครื่องต่อปี หรือประมาณร้อยละ 10 ของการผลิตรวมของโตโยต้าทั่วโลก และยังทาให้เกิดการจ้างงานใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 200 อัตรา
- สศค. วิเคราะห์ว่า จากสถานการณ์อุทกภัยที่คลี่คลายลง สะท้อนได้จากยอดการจาหน่ายปริมาณรถยนต์นั่ง (พันคัน) ในเดือน ม.ค. 55 ที่หดตัวลดลงร้อยละ -9.8 จากเดือนก่อนหน้า โดยก่อนหน้านี้เน้นการผลิตเครื่องยนต์ดีเซลเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งปัจจุบันความต้องการของลูกค้าในตลาดรถยนต์นั่งของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีแนวโน้มที่สูงขึ้น อาทิเช่น เวียดนาม ไต้หวัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าการส่งออกให้กับประเทศไทยไม่ต่ากว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ ในปี 55 ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.9 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 7.9-9.9) โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นและผลการดาเนินนโยบายรัฐบาลในการกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงิน และความเปราะบางของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
3. อัตราการว่างงานสหรัฐจะปรับลดลงสู่ระดับร้อยละ 6 ในอีก 5 ปีข้างหน้า
- ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐสาขาคลีฟแลนด์ กล่าวว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐเป็นไปอย่างเชื่องช้า และอาจต้องใช้ระยะเวลา 4-5 ปี อัตราการว่างงานในสหรัฐจึงจะปรับลดลงสู่ระดับ 6% จากปัจจุบันอยุ่ที่ระดับ 8.3% เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากภาคอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐที่ยังคงซบเซา ปัญหาวิกฤติหนี้ในยุโรป ตลอดจนความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลก
- สศค. วิเคราะห์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังคงอยู่ในภาวะชะลอตัว โดยในปี 54 มีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ชะลอลงจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.0 ส่งผลให้ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลสหรัฐจาเป็นต้องใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี 54 - ม.ค. 55 ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐนับตั้งแต่ตัวเลขการจ้างงาน ดัชนีภาคการผลิต และยอดค้าปลีก ล้วนปรับตัวดีขึ้น ซึ่งบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังคงมีปัจจัยหนุน โดยในเดือน ม.ค. ดัชนีชี้นาเศรษฐกิจสหรัฐปรับเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 0.4 แตะระดับ 94.9 จุด ขณะที่จานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่ปรับลดลงต่อเนื่องสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.พ.ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ระดับ 70.8 จากเดือนก่อนอยู่ที่ระดับ 61.5 ซึ่งสะท้อนว่าผู้บริโภคสหรัฐมีมุมมองที่เป็นบวกมากขึ้นต่อสภาวะธุรกิจและตลาดแรงงาน แม้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงมีความไม่แน่นอนโดยล่าสุดราคาบ้านเดือนธ.ค.ของสหรัฐปรับลดลง 0.5% โดยดัชนีราคาบ้านในเขตเมือง 20 แห่ง ปรับลงมาแตะระดับต่าสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. 2546 สะท้อนให้เห็นว่าแม้เศรษฐกิจสหรัฐจะส่งสัญญาณฟื้นตัวแต่ยังไม่แข็งแกร่งพอที่จะทาให้ราคาบ้านมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ สศค. คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐในปี 55 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 1.9
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:
Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th