รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 2 มีนาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 2, 2012 12:07 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 2 มีนาคม 2555

Summary:

1. อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.พ.55 ขยายตัวร้อยละ 3.35 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

2. มอร์แกน สแตนลีย์คาดเศรษฐกิจจีนปี 55 ชะลอตัวแต่ไม่ถึงกับถดถอย

3. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมของจีนปรับตัวสูงขึ้นในเดือน ก.พ.55

Highlight:
1. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.พ. 55 ขยายตัวร้อยละ 3.35 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ปลัดกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป เดือน ก.พ. 55 อยูที่ระดับ 113.63 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปขยายตัวเร่งขึ้น มาอยู่ที่ร้อยละ 3.35 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือเร่งขึ้นร้อยละ 0.37 จากเดือนก่อนหน้าส่งผลให้เงินเฟ้อเฉลี่ย 2 เดือนแรกของปี 55 ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 3.36 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยสาเหตุที่เงินเฟ้อสูงขึ้นเกิดจากดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 7.18 เป็นสำคัญ ขณะที่หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.01 ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังยืนยันเป้าหมายเงินเฟ้อปี 55 ว่าจะขยายตัวไม่เกินร้อยละ 3.8
  • สศค.วิเคราะห์ว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.พ. 55 ถือว่ายังคงอยูในระดับที่ไม่เป็นห่วง ส่วนหนึ่งจากการที่ภาครัฐยังคงดาเนินมาตรการควบคุมระดับราคาในประเทศอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของการควบคุมระดับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น รวมถึงมาตรการลดค่าครองชีพ (ค่ารถโดยสารรถประจำทาง และค่ารถไฟ) นอกจากนี้รัฐบาลยังได้ขยายเวลาการลดภาษีน้ามันดีเซลที่ร้อยละ0.005 จนถึงสิ้นเดือน มี.ค. 55 อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองในอิหร่ น อาจส่ งผลกระทบต่อเงินเฟ้ อในระยะสั้น ซึ่งจำเป็นต้องมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และส่งผลให้ในเดือน มี.ค.55 สศค. อาจปรับสมมติฐานราคาน้ำมัน และอัตราเงินเฟ้ อเพื่อในปี 55 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าว จากประมาณการเดิมในเดือน ธ.ค.54 ที่คาดว่าในปี 55 ราคาน้ามันดิบดูไบจะอยูที่ 116.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (ช่วงคาดการณ์ 111.0-121.0 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล)และอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 3.5 (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.0-4.0)
2. มอร์แกน สแตนลีย์คาด เศรษฐกิจจีนปี 55 ชะลอตัว แต่ไม่ถึงกับถดถอย
  • นักวิเคราะห์จากมอร์แกน สแตนลีย์คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนปี 55 จะขยายตัวร้อยละ 8.4 ชะลอลงจากร้อยละ 9.2 ในปี 54 โดยหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของมอร์แกน สแตนลีย์ สาขาจีนแผ่นดินใหญ่กล่าวว่าเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัว แต่อาจไม่ถึงกับถดถอย ขณะเดียวกันคาดว่าอัตราเงินเฟ้อของจีนมีแนวโน้มขาลงในช่วงครึ่งปีแรก แต่ไม่ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มในครึ่งปีหลัง
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจจีนในปี 55 เผชิญความเสี่ยงหลายด้าน ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอก อันได้แก่ 1) การชะลอตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักของจีน โดยเฉพาะสหภาพยุโรปซึ่งเป็นคู่ค้าหลักของจีนด้วยสัดส่วนการส่งออกกว่าร้อยละ 17.5 ของมูลค่าส่งออกรวม (สัดส่วนปี 53) ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของจีนทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังจะเห็นได้จากตัวเลขการส่งออกจีน เดือน ม.ค. 55 หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี ที่ร้อยละ -0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปหดตัวกว่าร้อยละ -7.0 และ 2) สภาวะเงินเฟ้อจากปัจจัยราคาน้ำมันและการเก็งกาไรในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึน้ โดยจะเห็นได้จากอัตราเงินเฟ้ อทั่วไป เดือน ม.ค. 55 เร่ งขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนมาอยู่ที่ร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปี ก่อนทั้งนี้สศค. คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนในปี 55 จะขยายตัวร้อยละ 8.4 (ประมาณการณ เดือน ธ.ค. 54)
3. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมของจีน ปรับตัวสูงขึ้นในเดือน ก.พ. 55
  • สหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน (CFLP) เปิ ดเผยเมื่อวานนี้ว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนก.พ. 55 ขยายตัวขึ้นสู่ระดับ 51.0 จุด จากเดือนม.ค.ที่ระดับ 50.5 จุด ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวที่เหนือระดับ 50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตของจีนมีการขยายตัว สะท้อนให้เห็นว่า เศรษฐกิจจีนเริ่มกลับมามีเสถียรภาพขณะที่ดัชนียอดสั่งซื้อใหม่ในภาคการผลิตเพิ่มขึ้นแตะระดับ 51.0 จุด และดัชนีการส่งออกสินค้าใหม่ในภาคการผลิตเพิ่มขึ้นแตะระดับ 51.1 จุด
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ดัชนี PMI ของจีนที่ปรับสูงขึ้นในเดือน ก.พ. 55 ถือเป็นการปรับเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 สะท้อนให้เห็นว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนมีทิศทางการปรับตัวดีขึ้น แต่ตัวเลขดังกล่าวอยู่เหนือระดับ 50 เพียงเล็กน้อยชี้ว่าการขยายตัวในภาคอุตสาหกรมมยังไม่อยู่ในระดับที่สูงมากนัก ส่งผลให้ภาพรวมของเศรษฐกิจของจีนดีขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม การปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีดังกล่าวเป็นผลมาจากยอดคาสั่งซือ้ สินค้าส่งออก ซึ่งจีนมีสัดส่วนการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปในระดับสูงอันดับ 2 คิดเป็นร้อยละ 17.5 ของมูลค่าการส่งออกรวม (สัดส่วนปี 53) ทำให้จีนยังคงมีความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อันมีสาเหตุสาคัญมาจากปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะของสหภาพยุโรป ทำให้อุปสงค์จากต่างประเทศต่อสินค้าส่งออกลดลง อย่างไรก็ดีการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมจีนช่วยชะลอการหดตัวทางเศรษฐกิจจีนลงได้บางส่วน นับเป็นการส่งสัญญาณที่ดีต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียมีสัดส่วนการค้ากับจีนในอันดับต้นๆ และจีนเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย จากสัดส่วนการส่งออกของไทยไปยังจีนอยู่ระดับสูงร้อยละ 12.0 ของมูลค่าการส่งออกรวม (สัดส่วนปี 54)

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ