รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ — 2 มีนาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 5, 2012 11:44 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.พ.55 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง อยู่ที่ร้อยละ 4.8
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ม.ค.55 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ม.ค. 55 หดตัวที่ร้อยละ -15.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • สินเชื่อเดือน ม.ค.55 ขยายตัวร้อยละ 16.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่เงินฝากสถาบันการเงินขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 11.3
  • GDP อินเดียในไตรมาส 4 ปี 54 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ เดือน ก.พ.55 อยู่ที่ระดับ 70.8
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมที่จัดทาโดยทางการจีน เดือน ก.พ. 55 อยู่ที่ระดับ 51.0
  • รัฐบาลจีนออกนโยบายเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเมืองเซี่ยงไฮ้เป็น 230 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน มีผลเดือน เม.ย. 55 นี้
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมสหภาพยุโรป ในเดือน ก.พ. 55 อยู่ที่ระดับ 49.0
Indicators next week
 Indicators                          Forecast           Previous
Feb: Motorcycle sale (%YoY)            -2.0               -7.1
  • ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการผลิตและการบริโภคที่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากสถานการณ์นน้ำท่วมในช่วงปลายปี 54 คลี่คลายลง อย่างไรก็ตามจากปัจจัยฐานสูงจากปีก่อนที่ในช่วงต้นปี 54 ยอดขายรถจักรยานยนต์ขยายตัวในเกณฑ์ดี ตามการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจ และรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวในระดับสูง ทำให้คาดว่าปริมาณการจาหน่ายรถจักรยานยนต์อาจยังคงหดตัวลงเล็กน้อยในเดือนนี้
Economic Indicators: This Week
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.พ.55 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เท่ากับเดือน ม.ค.55 ทั้งนี้เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าขยายตัวที่ร้อยละ 0.4 โดยมีสาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ อาหารสำเร็จรูป ข้าว ไข่ และผักสด ในขณะที่สินค้าในหมวดเนื้อสัตว์มีการปรับราคาลดลง ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 2.7 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า
  • ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ก.พ.55 ขยายตัวร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.6 โดยดัชนีที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ดัชนีในหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีตสูงขึ้นร้อยละ 12.4 จากคอนกรีตบล็อคก่อผนัง-มวลเบา เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก-อัดแรง และพื้นคอนกรีตสาเร็จรูป หมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ สูงขึ้นร้อยละ 11.8 ได้แก่ อิฐมอญ ทราย หินย่อย ยางมะตอย เป็นต้น เนื่องจากต้นทุนราคาวัตถุดิบในการผลิตปรับตัวสูงขึ้น
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ม.ค.55 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือน ก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.9 ตามการลดลงของผลผลิตในหมวดพืชผล และปศุสัตว์เป็นสำคัญ โดยเฉพาะข้าว และผลผลิตสุกร เนื่องจากเหตุการณ์น้าท่วมในช่วงเดือน ต.ค.-พ.ย. 54 ส่งผลให้ผลผลิตข้าวยังคงหดตัวต่อจากเดือน ธ.ค. 54 ในขณะที่ผลผลิตสำคัญอื่น ๆ เช่น ยางพารา มันสาปะหลัง ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเอื้ออานวยต่อการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว ประกอบกับโรคระบาดคลี่คลายลง ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาอัตราการขยายตัวในลักษณะต่อเดือนแล้วขจัดผลทางฤดูกาลออก พบว่าดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ม.ค.55 ขยายตัวร้อยละ 1.6 จากเดือนก่อนหน้าสะท้อนถึงสถานการณ์ด้านการผลิตสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค. 54
  • ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน ม.ค. 55 หดตัวที่ร้อยละ -12.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -4.3 ตามการลดลงของราคาผลผลิตสาคัญ โดยเฉพาะยางพารา และมันสาปะหลัง โดยมีสาเหตุหลักมาจาก 1) ปัจจัยฐานสูงที่ในช่วงต้นปี 54 ที่ราคาสินค้าเกษตรขยายตัวในอัตราเร่ง ตามการขยายตัวของอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ 2) ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดมากขึ้น จากโรคระบาดคลี่คลายลง และ 3) อุปสงค์ในตลาดโลกที่ลดลง ตามการชะลอตัวอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ม.ค. 55 หดตัวที่ร้อยละ -15.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -25.2 ต่อปี ทั้งนี้เมื่อพิจารณาแบบ %mom (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) พบว่าขยายตัวที่ร้อยละ 19.1 โดยมีปัจจัยหลักจากปัญหาอุทกภัยที่คลี่คลายลง ทำให้อุตสาหกรรมหลัก เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ HDD และอิล็กทรอนิกส์กลับมาทาการผลิตได้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาในส่วนของอุตสาหกรรมสิ่งทอ และเครื่องแต่งกาย พบว่า มีระดับการผลิตที่ปรับลดลงค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ MPI ในเดือนนี้ยังคงติดลบในระดับค่อนข้างสูง
  • ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศในเดือน ม.ค. 55 หดตัวร้อยละ -20.0 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -1.0 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าหดตัวร้อยละ -8.2 จากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ การหดตัวดังกล่าวสอดคล้องกับดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือนม.ค. 55 ที่หดตัวร้อยละ -15.1 โดยเฉพาะในหมวดการผลิตโลหะขั้นมูลฐานที่ยังคงหดตัวร้อยละ -22.6 ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -13.1 โดยปริมาณจาหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่หดตัวลงมากมาจากปริมาณการจาหน่ายเหล็กในหมวดภาคการก่อสร้าง ได้แก่ เหล็กเส้นกลม เหล็กเส้นข้ออ้อย และท่อเหล็กกล้า ที่หดตัวร้อยละ -17.3 -23.2 และ -12.4 ตามลาดับ ขณะเหล็กที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมที่สะท้อนจากเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีหดตัวร้อยละ -17.0 จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 44.0
  • สินเชื่อเดือน ม.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 16.0 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการขยายตัวเร่งขึ้นของสินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากสินเชื่อตามมาตรการของภาครัฐเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังภาวะน้าท่วม ขณะที่สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน แต่หากเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้วยังคงขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวจากภาวะน้ำท่วมจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของสินเชื่อในระยะต่อไป อย่างไรก็ตามควรจับตามองปัจจัยเสี่ยงจากสถานการณ์วิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซนที่อาจกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคต
  • เงินฝากสถาบันการเงินเดือน ม.ค. 55 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 11.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 1.4 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากการขยายตัวเร่งขึ้นของเงินฝากจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจและธนาคารพาณิชย์ จากความต้องการเร่งระดมเงินฝากเพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อตามมาตรการของภาครัฐ รวมถึงการแข่งขันระหว่างธนาคารพาณิชย์เพื่อรักษาฐานลูกค้าที่ยังคงเข้มข้นต่อเนื่อง
Economic Indicators: Next Week
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ก.พ.55 คาดว่าจะหดตัวที่ร้อยละ -2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ที่หดตัวร้อยละ -7.1 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการผลิตและการบริโภคที่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากสถานการณ์น้าท่วมในช่วงปลายปี 54 คลี่คลายลง อย่างไรก็ตามจากปัจจัยฐานสูงจากปีก่อนในช่วงต้นปี 54 ที่ยอดขายรถจักรยานยนต์ขยายตัวในเกณฑ์ดี ตามการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจ และรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวในระดับสูง ทำให้คาดว่าปริมาณการจาหน่ายรถจักรยานยนต์อาจยังคงหดตัวลงเล็กน้อยในเดือนนี้

Global Economic Indicators: This Week

USA: mixed signal
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ เดือน ก.พ.55 อยู่ที่ระดับ 70.8 ปรับตัวสูงขึ้นมากจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 61.5 และเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 12 เดือน ยอดคาสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือน ม.ค.55 หดตัวร้อยละ -4.0 จากเดือนก่อนหน้า (ปรับผลทางฤดูกาลแล้ว) ผลจากปัจจัยฐานสูงในเดือนก่อนหน้าจากมาตรการเร่งหักค่าเสื่อมเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีที่สิ้นสุดในเดือน ธ.ค.54 ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (ISM Mfg PMI) เดือน ก.พ.55 อยู่ที่ระดับ 52.4 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 54.1 แต่ยังสูงกว่าระดับ 50 บ่งชี้การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ
China: mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมที่จัดทาโดยทางการจีน เดือน ก.พ.55 อยู่ที่ระดับ 51.0 จากระดับ 50.5 ของเดือนก่อน จากคาสั่งซื้อสินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 4 เดือน อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ ที่จัดทาโดยบริษัท HSBC เดือนก.พ. 55 อยู่ที่ระดับ 49.6 บ่งชี้ความอ่อนแอของภาคอุตสาหกรรมจีน รัฐบาลจีนออกนโยบายเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเมืองเซี่ยงไฮ้เป็น 230 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน มีผลเดือน เม.ย. 55 นี้ ตามการขึ้นค่าแรงเมืองปักกิ่งและเซินเจิ้นเมื่อ ม.ค. 55 เพื่อกระตุ้นการบริโภคในประเทศ
Japan: improving economic trend
  • ยอดค้าปลีกเดือน ม.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากอุปสงค์ภายในประเทศที่เริ่มฟื้นตัว ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 55 และคาสั่งซื้อภาคก่อสร้าง เดือน ม.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 2.0 (ตัวเลขเบื้องต้น) และ 24.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลาดับ โดยผลกระทบด้านห่วงโซ่อุปทานจากอุทกภัยในไทยคลี่คลายและรัฐบาลญี่ปุ่นเร่งสร้างสาธารณูปโภคเพื่อฟื้นฟูประเทศ ทำให้อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 55 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ร้อยละ 0.1 ขณะที่อัตราการว่างงาน เดือน ม.ค. 55 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 ของกาลังแรงงานรวมเนื่องจากผู้ประกอบการบางส่วนยังมีความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง
Euro Zone: worsening economic trend
  • อัตราเงินเฟ้อเบื้องต้นเดือน ก.พ. 55 (Flash CPI) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้น ขณะที่อัตราการว่างงาน เดือน ม.ค. 55 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 10.7 ของกำลังแรงงงานรวม จากการเลิกจ้างกว่า 1.8 แสนคน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 55 อยู่ที่ระดับ 49.0 สะท้อนการหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 ของภาคการผลิต
Indonesia: worsening economic trend
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ.55 ทรงตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 3.65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาอาหารสดที่สูงขึ้นร้อยละ 1.85 จากเดือนก่อน ในภาคต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกเดือน ม.ค. 55 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 2.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปที่ทาให้อุปสงค์ต่างประเทศชะลอตัวลง ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 24.28 และดุลการค้ายังคงเกินดุลที่ 0.86 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Philippines: worsening economic trend
  • มูลค่าการนำเข้า เดือน ธ.ค. 54 หดตัวร้อยละ -6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนจากการหดตัวภาคอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ -25.9 สาเหตุการชะลอตัวของอุปสงค์ต่างประเทศต่อสินค้าส่งออก การนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการส่งออกลดลง ทำให้ดุลการค้าขาดดุลลดลงอยู่ที่ -1.22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
India: mixed signal
  • GDP ไตรมาส 4 ปี 54 ขยายตัวชะลอลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 7 และต่ำกว่าคาดการณ์ที่ร้อยละ 6.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งจากนโยบายการเงินแบบตึงตัวเพื่อคุมระดับราคาอย่างต่อเนื่อง มูลค่าการส่งออก เดือน ม.ค. 55 ขยายตัวร้อยละ 10.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.7 ส่วนหนึ่งจากเศรษกิจสหรัฐฯ ที่เริ่มฟื้นตัว อย่างไรก็ตามการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นคู่ค้าสาคัญอันดับ 1 ชะลอลง ขณะที่มูลค่าการนาเข้า เดือน ม.ค. 55 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยูที่ร้อยละ 20.3 จากการมูลค่าการนำเข้าน้ำมันที่เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
South Korea: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 55 ขยายตัวร้อยละ 22.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า(ตัวเลขเบื้องต้น) เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -7.0 จากปัจจัยฐานต่ำ เนื่องจากวันหยุดยาวในช่วงตรุษจีนปี 54 ซึ่งอยู่ในเดือน ก.พ. ขณะที่มูลค่าการนาเข้า เดือน ก.พ. 55 ขยายตัวร้อยละ 23.6 เร่งขึ้นชัดเจนจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.3 อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 55 ลดลงต่าสุดในรอบ 14 เดือน มาอยู่ที่ร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามราคาอาหารสดที่ปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตามยังคงมีความเสี่ยงจากราคาน้ามันในตลาดโลกที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 55 ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 7 เดือนมาอยู่ที่ระดับ 50.7 จากดัชนีคาสั่งซื้อสินค้าส่งออกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสะท้อนภาคการผลิตที่ส่งสัญญาณการขยายตัว ท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้นมาแตะระดับ 1,160 จุด แต่ยังคงมีความผันผวนสูง โดยดัชนีฯ ปรับตัวสูงขึ้นมากในช่วงกลางสัปดาห์ ถึงแม้ว่าดัชนีดาวโจนส์และดัชนีในตลาดอื่นๆจะปรับตัวลดลง จากคาแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ส่งสัญญาณว่าอาจไม่มีมาตรการ QE3 ก็ตาม ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 27 ก.พ. - 1 มี.ค.55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 6,838 ล้านบาท ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับตัวสุงขึ้น โดยเฉพาะในพันธบัตรระยะยาว เนื่องจากอุปสงค์พันธบัตรระยะยาวช่วงอายุ 15 ปีมีน้อยกว่าที่คาด ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 27 ก.พ. - 1 มี.ค. 55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 8,797 ล้านบาท
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้อยู่ในระดับใกล้เคียง กับสัปดาห์ก่อนหน้าโดยปิดที่ระดับ 30.49 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 1 มี.ค. 55 อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนหน้าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐร้อยละ -0.46 จากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย โดยเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินเยนและยูโร ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงในอัตราที่น้อยกว่าค่าเงินของคู่ค้าอื่นๆ โดยเฉพาะค่าเงินเยน ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นกว่าสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.40
  • ราคาทองคำปรับตัวลดลง โดยราคาทองคำ ณ วันที่ 1 มี.ค. 55 ปิดที่ 1,717 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ลดลงจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,766 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ