ภาวะเศรษฐกิจสหภาพยุโรป กุมภาพันธ์ 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 5, 2012 12:11 —กระทรวงการคลัง

บทสรุปผู้บริหาร

ภาพรวมเศรษฐกิจและเสถียรภาพเศรษฐกิจ
  • เศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาส 4 (ข้อมูลเบื้องต้น) ของปี 2555 หดตัวจากไตรมาสก่อนที่ -0.3% (QoQ) โดยวิกฤติหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศรอยขอบ Periphery ได้เริ่มลุกลามทาให้เศรษฐกิจหลัก (Core Economies) หดตัวในหลายประเทศ โดยเฉพาะเนเธอร์แลนด์และเบลเยียมที่ประสบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย Recession (เศรษฐกิจติดลบ 2 ไตรมาสติดกัน)
  • ดัชนีชี้เศรษฐกิจ Composite Purchasing Managers’ Index ใน 2 เดือนแรกของไตรมาส 1 ปี 2555 อยู่ที่ 50 จุด ชี้ เศรษฐกิจยูโรโซนไม่มีการขยายตัว (0% QoQ) ในไตรมาสแรก
  • อัตราการว่างงานของเขตยูโรโซนล่าสุดทรงตัวเท่ากับเดือนก่อนในระดับสูงที่ 10.4% สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเขตยูโรโซนล่าสุดในเดือน ม.ค. ปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 2.6% จากเดือนก่อนที่อยู่ที่ 2.7%
แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2555
  • เศรษฐกิจยูโรโซนมีแนวโน้มหดตัวเหลือ -0.3% ในปี 255 จาก 1.5% ในปี 2554 เนื่องจากการบริโภคที่คาดว่าจะชะลอตัวตามปัญหาการว่างงานระดับสูงเรื้อรัง ขณะที่รายจ่ายรัฐบาลที่หดตัวตามนโยบายลดการขาดดุลรัฐบาล และการส่งออกที่มีแนวโน้มขยายตัวลดลง
  • แต่อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจของแต่ละประเทศในเขตยูโร จะมีความแตกต่างกันมากขึ้น โดยมีเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวเป็นบวกได้ 9 ประเทศ และติดลบ 8 ประเทศ
ภาคการเงินและการคลัง
  • ธนาคารกลาง ECB คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1% ในเดือนก.พ. แต่เพิ่มสภาพคล่องให้สถาบันการเงินมากขึ้นผ่านการปล่อยกู้ระยะยาว 3 ปี (Longer-term Refinancing Operation:LTRO) ครั้งที่ 2 อีกถึง 529.5 พันล้านยูโร ซึ่งสานักงานที่ปรึกษาฯ ประเมินว่าจะยิ่งทาให้สถาบันการเงินนำเงินไปลงทุนในตลาดเกิดใหม่รวมทั้งไทยมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดทุน/เงินผันผวน
  • ที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยูโรโซน ตกลงมาตรการแก้ไขวิกฤติหนี้กรีซ โดย(1)อนุมัติเงินกู้รอบ 2 แก่กรีซในวงเงิน 130 พันล้านยูโร (2)เห็นชอบให้เจ้าหนี้ภาคเอกชนลดหนี้(Hair Cut)ให้กรีซ 53.5% (3)ปรับลดดอกเบี้ยให้กรีซเหลือ Euribor+1.5% ทั้งนี้ สานักงานที่ปรึกษาฯ ประเมินว่า มาตรการช่วยคลายความกังวลวิกฤติหนี้กรีซได้ในระยะสั้น แต่อาจไม่สามารถทาให้ฐานะการคลังกรีซยั่งยืน(Sustainable)ในระยะยาว
ภาพรวมเศรษฐกิจในไตรมาส 4/2554
  • เศรษฐกิจยูโรโซน(ข้อมูลเบื้องต้น) ในไตรมาส 4 หดตัวจากไตรมาสก่อน -0.3%QoQ โดยวิกฤติหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศรอยขอบ เริ่มลุกลามทาให้เศรษฐกิจหลักหดตัว

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555 สานักงานสถิติยุโรป Euro Stat ได้ประกาศตัวเลขข้อมูลเบื้องต้นของอัตราการขยายตัวของเขตเศรษฐกิจยูโรโซน 17 ประเทศ (Euro Area: EA 17) ในไตรมาส 4 ปี 2554 (ค.ศ.2011) ว่าเศรษฐกิจหดตัวจากไตรมาสก่อนที่ -0.3% (QoQ) ซึ่งนับเป็นการหดตัวครั้งแรกตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 (ค.ศ.2009) อย่างไรก็ดี อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาส 4 ของปี 2554 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า ยังคงขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 0.7% (YoY) แต่เป็นอัตราการขยายตัวที่ลดลงต่อเนื่องจากที่ขยายตัวที่ 2.4%(YoY) ในไตรมาสแรก 1.6%(YoY) ใน ไตรมาส 2 และ 1.3%(YoY) ในไตรมาส 3 ตามลำดับ ส่งผลให้อ้ตราการขยายตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนเฉลี่ยในปี 2554 ขยายตัวได้ที่ 1.5% (YoY) ลดลงจากปี 2553 ที่ขยายตัวเฉลี่ย 1.9% (YoY)

เมื่อพิจารณาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาส 4 ของปี 2554 แยกเป็นรายประเทศ(ดูตารางด้านล่าง) พบว่า ประเทศส่วนใหญ่ในเขตยูโรโซนมีอัตราการขยายตัวติดลบในไตรมาส 4 โดยเฉพาะอย่างยงิ่ เศรษฐกิจหลักใจกลางเขตยูโร (Core Economies) เช่น เยอรมนี ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเขตยูโรโซนที่ประมาณรอ้ ยละ 27 ของการผลิตของยูโรโซนทัง้ หมด และเคยเป็นเศรษฐกิจหลักที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจยูโรโซนมาโดยตลอด กลับมามีเศรษฐกิจหดตัวในไตรมาส 4 ที่ร้อยละ -0.2 %(QoQ) นอกจากน้นั เศรษฐกิจหลักใจกลางเขตยูโรโซนอื่นๆ เช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์และเบลเยี่ยม ได้ประสบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย Recession (เศรษฐกิจติดลบ 2 ไตรมาสติดต่อกัน)เช่นเดียวกันกับประเทศรอยขอบเขตยูโรโซน (Peripheral Economies) เช่น อิตาลี สเปน และโปรตุเกส

สำนักงานที่ปรึกษาฯ วิเคราะห์ว่า ตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาส 4 ของปี 2554 เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า วิกฤติหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศ PIIGS (โปรตุเกส ไอร์แลนด์ อิตาลี กรีซ และสเปน) ได้เรมิ่ ส่งผลกระทบถึงประเทศเศรษฐกิจหลักอื่นๆ ในเขตยูโรโซน เนื่องจากประเทศในกลุ่มยูโรโซนมีการค้าขายระหว่างกันในภูมิภาคถึงกว่าร้อยละ 70 ของการค้ารวมทัง้ หมด ดังนั้น หากปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะยังคงยืดเยื้อ อาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจยูโรโซนหดตัวได้ในปี 2555

เครื่องชี้เศรษฐกิจไตรมาส 1 ของปี 2555
  • ดัชนีผู้จัดการจัดซื้อ PMI ชี้เศรษฐกิจยูโรโซนไม่มีการขยายตัวในไตรมาส1/2555

เครื่องชี้เศรษฐกิจของเขตยูโรโซน ที่วัดจากดัชนีผู้จัดการแผนกจัดซื้อรวมของภาคบริการและภาคอุตสาหกรรม (Markit Composite Purchasing Managers’ Index: Composite PMI) บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาสแรกของปี 2555 มีแนวโน้มทรงตัว หลังจากที่เศรษฐกิจหดตัวในไตรมาสก่อนหน้า ดังจะเห็นได้จากรูปภาพด้านซ้ายบน ที่ดัชนี Markit Composite Eurozone PMI ใน 2 เดือนแรกของไตรมาส 1 ปี 2555 ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่เฉลี่ย 50 จุด (ซึ่งเป็นระดับการผลิตที่สะท้อนการผลิตที่ทรงตัว คือ ไม่ขยายตัวแต่ก็ไม่หดตัว) เทียบกับดัชนี PMI เฉลี่ยในไตรมาส 4 ปี 2554 ที่อยู่ต่ากว่า 50 จุด ที่ระดับ 47.1 จุด ซึ่งสะท้อนถึงการผลิตที่หดตัวในข่วงไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน

เมื่อพิจารณาดัชนี PMI เป็นรายประเทศในภาพด้านบนขวา พบว่ามีเพียงดัชนี PMI ของประเทศเยอรมนีและฝรั่งเศสที่มีระดับสูงกว่า 50 จุดเล็กน้อย แต่ ดัชนี Composite PMI ของประเทศอื่นๆ ในกลุ่มยูโรโซนนั้นยังอยู่ในระดับต่ากว่าระดับ 50 จุด สะท้อนว่า ปัจจัยหลักที่ช่วยให้เศรษฐกิจในเขตยูโรโซนในไตรมาส 1 ของปี 2555 ทรงตัวอยู่ได้มาจากการขยายตัวของการผลิตอุตสาหกรรมและบริการของเยอรมนีและฝรั่งเศส โดยรายละเอียดของการสารวจดัชนีผู้จัดการแผนกจัดซื้อ บ่งชี้ว่า เยอรมนีและฝรั่งเศสได้รับอานิสงค์จากยอดคาสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากตลาดประเทศเกิดใหม่(Emerging Markets) ที่เศรษฐกิจที่ยังเติบโตได้ดี ขณะที่ประเทศยูโรโซนอื่นซึ่งค้าขายกับตลาดเกิดใหม่ในสัดส่วนที่น้อย ไม่ค่อยได้รับอานิสงค์ในเชิงบวกมากนัก

สำนักงานที่ปรึกษาฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจยูโรในไตรมาสแรกน่าจะไม่มีการขยายตัว (0% QoQ) ซึ่งถือเป็นการปรับตัวที่ดีขึ้นเล็กน้อยจากที่หดตัว -0.3%QoQ

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
  • อัตราการว่างงานยูโรโซนล่าสุดทรงตัวในระดับสูงเท่ากับเดือนก่อนที่ 10.4%

อัตราการว่างงานของประเทศในเขตยูโรโซนล่าสุดในเดือนธันวาคม2554 ทรงตัวในระดับสูงเท่ากับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 10.4 ของกาลังแรงงาน โดยมีจานวนผูว่างงานทั้งสิ้น 16.469 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าจานวน 20,000 คน ซึ่งเป็นจานวนผู้ว่างงานที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน เมื่อพิจารณาอัตราการว่างงานเป็นรายประเทศ จะเห็นได้ว่า มีเยอรมนีเพียงประเทศเดียวที่มีอัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 5.6 ของกาลังแรงงาน ในเดือนพฤศจิกายน 2554 เหลือร้อยละ 5.5 ของกาลังแรงงานในเดือนธันวาคม นอกจากนั้น ประเทศอื่นๆ มีอัตราการว่างงานสูงขึ้นหรือทรงตัวเท่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศที่อยู่ตามรอยขอบยูโร (Periphery) ได้แก่ สเปน ที่มีอัตราการว่างงานทรงตัวในระดับสูงสุดในภูมิภาคที่ร้อยละ 22.9 ขณะที่ไอร์แลนด์ โปรตุเกส และ อิตาลี มีอัตราการว่างงานสูงขึ้นต่อเนื่องที่ร้อยละ14.5 ร้อยละ13.6 และ ร้อยละ8.9 ตามลาดับ สำนักงานที่ปรึกษาฯ ประเมินว่าปัญหาการว่างงานระดับสูงเรื้อรังในเขตยูโร (ยกเว้นเยอรมนี) ดังกล่าว จะเป็นปัจจัยฉุดเศรษฐกิจยูโรผ่านการบริโภคภาคเอกชนในเขตยูโรโซนที่มีแนวโน้มชะลอตัวในปี 2555

  • อัตราเงินเฟ้อเขตยูโรโซนเดือนม.ค.55 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 2.6%

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่คานวณจากดัชนีราคาผู้บริโภค (Harmonized Index of Consumer Prices: HICP) ของเศรษฐกิจในเขตยูโร Euro Area ประจาเดือนมกราคม 2555 ปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ต่อปี ลดลงจากเดือนธันวาคม 2554 ที่อยู่ที่ร้อยละ 2.7 ต่อปี สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมราคาสินค้าในหมวดอาหาร สุรา ยาสูบและพลังงาน (HICP excluding food, alcohol, tobacco and energy) ในเดือนมกราคม 2555 ที่ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี เทียบกับเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 1.6 ต่อปี โดยราคาสินค้าที่ช่วยให้อัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือนมกราคมปรับตัวลดลงมาจากราคาในหมวดโทรคมนาคมและหมวดเสื้อผ้าเป็นหลัก ขณะทีราคาในหมวดพลังงานยังคงปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ามันดิบในตลาดโลกที่ปรับเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ความตึงเครียดในอิหร่าน ที่ประกาศหยุดส่งออกน้ามันมายังประเทศยุโรป

แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะปรับตัวลดลง แต่ยังคงเป็นอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่ากรอบเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อของธนาคารกลางแห่งชาติยุโรปที่กาหนดอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายอยู่ที่ร้อยละ 2 ต่อปี เป็นเดือนที่ 14 ติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม สานักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง คาดว่า อัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 น่าจะมีแนวโน้มลดลง อันเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในภูมิภาคยุโรปที่จะส่งผลให้อุปสงค์รวมลดลง และคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวลดลงอยู่ในกรอบเงินเฟ้อเป้าหมายที่ร้อยละ 2 ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2555

นโยบายการเงิน
  • ECB คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1% แต่เพิ่มสภาพคล่องให้สถาบันการเงินมากขึ้น

เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 คณะกรรมการธนาคารกลางสหภาพยุโรป (European Central Bank: ECB) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Market Refinancing Operations (MRO) ที่ร้อยละ 1.0 ต่อปี เนื่องจากประเมินว่า ความกังวลของสถานการณ์วิกฤติการเงินในยุโรปเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น ภายหลังจากที่ธนาคารกลางยุโรปได้ออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือสภาพคล่อง (liquidity) ให้แก่สถาบันการเงินผ่านการให้ประมูงกู้เงินผ่านตลาดซื้อคืนที่มีระยะเวลาชาระคืนยาวถึง 36 เดือน โดยไม่จากัดจานวน (Longer- term refinancing operations: LTROs) ทั้งนี้ ในการประมูลกู้เงินครั้งแรกจากธนาคารกลางตามมาตรการดังกล่าว ได้มีสถาบันการเงินในยุโรปกู้เงินไปเพื่อเสริมสภาพคล่องแล้วถึง 489 พันล้านยูโร และในการประมูลกู้เงินครั้งที่ 2 ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 ได้มีสถาบันการเงินในยุโรปประมูลกู้เงินตามมาตรการ LTROs เพิ่มเติมอีกจานวน 529.5 พันล้านยูโร ส่งผลให้ความกังวลเรื่องการตึงตัวของสภาพคล่อง (Credit Crunch) ในยุโรปลดลง

นอกจากนี้ ธนาคารกลางของประเทศในเขตยูโรโซนจานวน 7 ประเทศจากทั้งหมด 17 ประเทศ ได้แก่ ธนาคารกลางของฝรั่งเศส อิตาลี สเปน ไอร์แลนด์ โปรตุเกส ออสเตรีย และไซปรัส ได้ออกมาตรการเพิ่มเติมในการปรับลดมาตรฐานของหลักทรัพย์ที่สถาบันการเงินต้องนามาใช้ค้าประกันการกู้เงินกับธนาคารกลางของแต่ละประเทศ เช่น อนุญาตให้นาหลักทรัพย์ที่เป็นสินเชื่อในการปล่อยกู้ให้อสังหาริมทรัพย์ (Mortgage loans) มาเป็นหลักประกันกู้เงินกับธนาคารกลาง เพื่อเป็นการจูงใจช่วยให้สถาบันการเงินในแต่ละประเทศปล่อยสินเชื่อให้ระบบเศรษฐกิจมากขึ้น สานักงานที่ปรึกษาฯ ประเมินว่ามาตรการเพิ่มสภาพคล่อง LTROsในยุโรป จะทาให้สภาพคล่องในโลกเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งอาจเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนาไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เช่น ตลาดทุนตลาดเงินในประเทศเกิดใหม่ Emerging Markets ที่มีแนวโน้มเติบโตดี รวมทั้งไทยมากขึ้น ซึ่งจะสามารถส่งผลให้ตลาดทุนตลาดเงินในไทยผันผวนได้มากในอนาคต

แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2555
  • เศรษฐกิจในเขตยูโรโซนมีแนวโน้มหดตวั -0.3% ในปี2555 จาก 1.5% ในปี 2554

European Commission คาดว่า เศรษฐกิจในเขตยูโรโซนมีแนวโน้มหดตัวเหลือเพียงร้อยละ -0.3% ในปี 2555 ลดลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 1.5% ในปี 2555 เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งมีสัดส่วนสูงที่สุดในระบบเศรษฐกิจยูโรโซน (ประมาณร้อยละ 57ของ Euro Zone’s GDP) คาดว่าจะหดตัวเนื่องจากอัตราการว่างงานในเขตยูโรโซนที่อยู่ในระดับสูง ประกอบกับนโยบายการตัดลดงบประมาณรายจ่ายภาครัฐตามนโยบายลดการขาดดุลการคลังของรัฐบาลที่ประสบกับปัญหาหนี้สาธารณะ จะส่งผล

ให้แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาครัฐหดตัวลง นอกจากนั้น ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการของเศรษฐกิจยูโรโซน คาดว่าจะชะลอการขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจคู่ค้าสา คัญในยุโรปที่กา ลังประสบกับภาวะวิกฤติหนี้สาธารณะ อย่างไรกีดี เสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศเขตยูโรคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวลดลงมาอยู่ใกล้เคียงกับเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารกลางยุโรปที่กาหนดไว้ที่ 2% ในปี 2555 ลดลงจาก 2.7% ในปี 2554

อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณารายละเอียดของการขยายตัวเศรษฐกิจของแต่ละประเทศในเขตยูโร(ตามตารางด้านล่าง) พบว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก โดยประเทศที่คาดว่ายังมีเศรษฐกิจขยายตัวเป็นบวก จานวน 9 ประเทศ ได้แก่ เยอรมนี (0.6%) ฝรัง่ เศส(0.4%) ออสเตรีย(0.7%) ฟินแลนด์ (0.8%) ลักเซมเบอร์ก(0.7%) ไอร์แลนด์(0.5%)สโลวาเกีย (1.2%) มอลต้า(1%) และเอสตัวเนีย(1.2%) ขณะที่มีเศรษฐกิจที่ขยายตัวติดลบ จานวน 8 ประเทศ ได้แก่ อิตาลี(-1.3%) สเปน(-1%) เนเธอร์แลนด์(-0.9%) เบลเยี่ยม(-0.1%) กรีซ(-4.4%) โปรตุเกส(-3.3%) สโลวาเนีย(-0.1%) และไซปรัส (-0.5%)

ประเด็นเศรษฐกิจสำคัญ ๆ ในรอบเดือนที่ผ่านมา
  • ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยูโรโซน (Eurozone Finance Ministers) ได้ตกลงมาตรการแก้ไขวิกฤติหนี้ของประเทศกรีซ สรุปได้ดังนี้

(1) อนุมัติเงินกู้รอบ 2 ให้แก่กรีซ ในวงเงิน 130 พันล้านยูโร โดยจะเบิกจ่ายเป็นงวดๆ ในระยะเวลา 3 ปี ตามเงื่อนไขความเข้มงวดการคลังที่กรีซต้องปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด (เป็นวงเงินกู้เพิ่มเติมจากวงเงินเดิมจานวน 110 พันล้านยูโร ที่เหลือเพียง 34 พันล้านยูโรในปัจจุบัน) โดยมีเป้าหมายที่จะลดหนี้สาธารณะต่อ GDP ของกรีซจากประมาณ 165% ในปี 2011 ให้เหลือ 120.5%

(2) ที่ประชุมเห็นชอบในโครงการปรับลดหนี้ผ่านเจ้าหนี้ภาคเอกชน (Private Sector Involvement:PSI) โดยเจ้าหนี้ภาคเอกชนตกลงยินยอมที่จะยอมตัดหนี้ที่ให้กู้แก่กรีซ (Hair Cut) คิดเป็นประมาณร้อยละ 53.5% ของต้นเงินกู้ ทั้งนี้ รัฐบาลกรีซได้ออกกฎหมาย Collective Action Clauses ที่บังคับให้เสียงส่วนใหญ่ของเจ้าหนี้ที่ยินยอมปรับลดหนี้ สามารถนามาบังคับใช้กับการปรับลดหนี้ของเจ้าหนี้ทุกราย ส่งผลให้บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ S&P ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซในระดับที่นับว่าเกิดการประกาศหยุดพักชาระหนี้ในบางกลุ่ม (Selective Default)

(3) เจ้าหนี้ของกรีซที่เป็นหน่วยงานของรัฐ ตกลงที่จะปรับลดดอกเบี้ยให้แก่กรีซ เหลือเพียงแค่อัตราดอกเบี้ยยูโรในตลาดเงิน 3 เดือน (3-month Euribor) บวก 1.5% ขณะที่ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ในเขตยูโรโซนที่ลงทุนในพันธบัตรกรีซ ตกลงที่จะโอนรายได้จากดอกเบี้ยของพันธบัตรกรีซ กลับไปให้รัฐบาลกรีซ จนถึงปี ค.ศ.2020

สำนักงานที่ปรึกษาฯ ประเมินผลกระทบของมาตรการฯ ข้างต้นว่า เป็นมาตรการที่ช่วยคลาย ความกังวลของนักลงทุนต่อสถานการณ์วิกฤติหนี้สาธารณะของกรีซได้ระดับหนึ่ง โดยสามารถทาให้นักลงทุนมั่นใจได้ว่ากรีซจะสามารถชาระหนี้ที่จะครบกาหนดในวันที่ 20 มีนาคม 2554 ถึง 14.5 พันล้านยูโรได้ อย่างไรก็ดี มาตรการดังกล่าวอาจไม่สามารถทาให้ฐานะการคลังของกรีซมีความยั่งยืน (Fiscal Sustainability) ในระยะยาวได้ เนื่องจากเงื่อนไขของมาตรการเข้มงวดทางการคลังอาจทาให้เศรษฐกิจกรีซหดตัวรุนแรงมากกว่าที่คาดการณ์ นอกจากนั้น มาตรการดังกล่าวยังมีความเสี่ยงที่จำเป็นต้องผ่านการอนุมัติของรัฐสภาในประเทศยูโรโซน 17 ประเทศ ก่อนที่กรีซจะเบิกวงเงินกู้รอบใหม่มาใช้ได้

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ