รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 13 มีนาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 13, 2012 11:47 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 13 มีนาคม 2555

Summary:

1. กระทรวงคมนาคมไฟเขียวแท็กซี่ขึ้นค่าโดยสาร คาดได้ข้อสรุปก่อน 16 เม.ย. นี้

2. ธุรกิจรับสร้างบ้านส่งสัญญาณฟื้นตัว คาดปีนี้มูลค่าตลาดเติบโตเพิ่มร้อยละ 15

3. OECD เผยผลสารวจเศรษฐกิจล่าสุดมีสัญญาณบวกภายในประเทศเศรษฐกิจหลัก

Highlight:
1. กระทรวงคมนาคมไฟเขียวแท็กซี่ขึ้นค่าโดยสารคาดได้ข้อสรุปก่อน 16 เม.ย. นี้
  • สหกรณ์แท็กซี่ภูมิพลัง กล่าวว่า ขณะนี้กรมขนส่งทางบก (ขบ.) และกระทรวงคมนาคม ได้มีมติให้แท็กซี่ปรับขึ้นค่าโดยสารได้แล้วแต่จะเป็นไปในรูปแบบไหนต้องมีการหารือร่วมกันก่อนระหว่าง ขบ. กระทรวงคมนาคม ผู้ประกอบการแท็กซี่ บริษัท ปตท. จากัด (มหาชน) และกระทรวงพลังงาน อีกครั้งโดยจะต้องได้ข้อสรุปก่อนวันที่ 16 เมษายนนี้ ซึ่งเป็นกาหนดการที่แท็กซี่จะใช้ค่าบริการใหม่ ทั้งนี้ รูปแบบการปรับค่าโดยสารจะมีการพิจารณา 4 รูปแบบหลัก คือ 1. คิดค่าบริการเริ่มต้นเท่าเดิมที่ 35 บาทแต่ไปคิดเพิ่มค่าโดยสารตามระยะทาง 2. ปรับค่าบริการเริ่มต้นเป็น 40 บาท 3.ปรับค่าบริการเริ่มต้นเป็น 45 บาท และ 4. ปรับค่าบริการเริ่มต้นเป็น 50 บาท
  • สศค.วิเคราะห์ว่า คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานมีมติให้ปรับขึ้นราคาก๊าซธรรมชาติสาหรับยานยนต์ (ก๊าซเอ็นจีวี) ตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค.55 ทาให้ราคาก๊าซเอ็นจีวีทะยอยปรับขึ้นราคาจาก 8.5 บาท/กก. เป็น 10 บาท/กก. ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนของผู้ประกอบการแท็กซี่ อย่างไรก็ดีบริษัท ปตท.ได้ช่วยแบกรับภาระให้กับผู้ประกอบการแท็กซี่ในอัตราลิตรละ 2 บาท ทาให้บรรเทาผลกระทบของผู้ประกอบการลงได้ โดยมาตรการช่วยเหลือนี้จะครบกาหนดในวันที่ 16 เม.ย.55 จึงต้องมีมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม ซึ่งการปรับเพิ่มค่าโดยสารเป็นทางเลือกหนึ่ง ทั้งนี้ สศค.คาดว่าหากมีการปรับเพิ่มค่าโดยสารในอัตราดังกล่าวจะทาให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 55 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากกรณีฐานเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.02 — 0.1 (กรณีฐาน : อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 55 อยู่ที่ร้อยละ 3.5)
2. ธุรกิจรับสร้างบ้านส่งสัญญาณฟื้นตัว คาดปีนี้มูลค่าตลาดเติบโตเพิ่มร้อยละ 15
  • นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน เปิดเผย คาดการณ์ตลาดรับสร้างบ้านไตรมาส 1/55 มีสัญญาณฟื้นตัวอย่างชัดเจน หลังจากที่ในช่วงไตรมาส 4/54 ภาพรรวมตลาดรับสร้างบ้านได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนจากปัญหาเรื่องน้ำท่วม โดยในปี 55 สมาคมฯ ยังประเมินว่าตลาดรวมในกรุงเทพฯและปริมณฑล จะมีมูลค่าอยู่ประมาณ 11,500 ล้านบาท หรือเติบโตขึ้นร้อยละ 15 จากมูลค่ารวม 10,000 ล้านบาทในปี 54 อย่างไรก็ดีสมาคมฯ มั่นใจว่าตลาดรับสร้างบ้านปีนี้จะเติบโตอย่างแน่นอน
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การฟื้นตัวของธุรกิจรับสร้างบ้านที่เริ่มกลับมาดีขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่มีสัญญาณการฟื้นตัวหลังจากเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปี 54 ประกอบกับการที่ภาครัฐได้มีมาตรการจัดการปัญหาน้ำท่วม ทั้งการป้องกันตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ รวมถึงการรวมศูนย์บริหารจัดการน้ำ ซึ่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคที่ต้องการสร้างที่อยู่อาศัย และผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์เพิ่มมากขึ้น สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยในเดือนก.พ.55 โดยรวมอยู่ที่ 65.5 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนม.ค.55 ที่ 64.0 ในขณะที่ภาคการลงทุน ซึ่งสะท้อนจากปริมาณจาหน่ายปูนซีเมนต์ในเดือน ม.ค. 54 ที่ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 7.1 ทั้งนี้ สศค.คาดว่าการลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริงจะขยายตัวร้อยละ 10.3 โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 9.3-11.3 (คาดการณ์ ณ ธ.ค.54)
3. OECD เผยผลสารวจเศรษฐกิจล่าสุดมีสัญญาณบวกภายในประเทศเศรษฐกิจหลัก
  • องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ(OECD)เปิดเผยผลสารวจเศรษฐกิจประจำเดือน ก.พ.55 ผ่านComposite leading indicators (CLIs) แสดงให้เห็นว่า สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นยังคงขับเคลื่อนดัชนีรวมให้ปรับตัวสูงขึ้น ขณะเดียวกันก็เริ่มปรากฏสัญญาณที่แข็งแกร่งขึ้นภายในประเทศเศรษฐกิจหลักอื่นๆ เช่นกัน ซึ่งรวมถึงเศรษฐกิจยูโรโซนโดยรวม แม้ว่าจะยังเป็นแค่ช่วงเริ่มต้นก็ตาม ซึ่งบ่งชี้ว่ายังคงมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกอย่างต่อเนื่องสาหรับเศรษฐกิจของกลุ่มOECD โดยรวม ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 30 ประเทศ
  • สศค.วิเคราะห์ว่าหลังจากมีสัญญาณบวกทางเศรษฐกิจในหลายๆ ประเทศ ในกลุ่ม OECD อาทิ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการของสหรัฐ ก.พ. 55 แตะระดับสูงสุดในรอบ 12 เดือน สะท้อนการขยายตัวอย่างต่อเนื่องกว่า 26เดือนของภาคบริการ หรือการที่ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรพื้นฐานในภาคเอกชนของญี่ปุ่น ณ ม.ค. 55 เข้าสู่ระดับ 7.578 แสนล้านเยน ซึ่งเป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 2 เดือน สะท้อนการฟื้นตัวของภาคการผลิตญี่ปุ่น ตลอดจนการที่กรีซสามารถกู้สวอปพันธบัตรมูลค่า 1.772 แสนล้านยูโร เมื่อวานนี้ ซึ่งจะช่วยให้กรีซรอดพ้นจากการผิดนัดชาระหนี้ ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลดีต่อภาคการส่งออกของไทย เนื่องจากสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และยุโรป ล้วนเป็นประเทศคู่ค้า Top Four ของไทย ทั้งนี้ สศค.คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 55 ไว้ที่ร้อยละ4-5 แต่ยังคงต้องพิจารณาทบทวนตัวเลขคาดการณ์ดังกล่าวต่อไป จากปัจจัยต่างๆ ทั้งปัจจัยบวกจากสัญญาณทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นของประเทศคู่ค้าหลักดังกล่าว และปัจจัยลบจากความเสี่ยงด้านสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ผันผวน และปัญหาภัยธรรมชาติ เป็นต้น

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel. 02-273-9020 Ext.3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ