รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 5 - 9 มีนาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 13, 2012 12:15 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ก.พ.55 ขยายตัวร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ก.พ. 55 อยู่ที่ระดับ 65.5
  • GDP ญี่ปุ่น ไตรมาส 4 ปี 54 (ตัวเลขปรับปรุง) หดตัวลงร้อยละ -0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนห
  • GDP สหภาพยุโรป ในไตรมาส 4 ปี 54 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • GDP ออสเตรเลีย ในไตรมาส 4 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ทางการจีนปรับลดเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากร้อยละ 8.0 มาเป็นร้อยละ 7.5 ในปี 55
  • วันที่ 6 มี.ค. 55 ธนาคารกลางออสเตรเลียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 4.25
  • วันที่ 8 ก.พ. 55 ธนาคารกลางเกาหลีประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.25
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมฮ่องกง เดือน ก.พ.55 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 11 เดือน ที่ระดับ 52.8
Indicators next week
 Indicators                          Forecast           Previous
Feb: TISI(Index)                       100.0              99.6
  • โดยมีปัจจัยบวกจากการดาเนินการสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมบริเวณโดยรอบนิคมฯ ที่มีความคืบหน้าและเป็นรูปธรรมมากขึ้น ประกอบกับผู้ประกอบการส่วนใหญ่กลับมาทาการผลิตได้ในระดับที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกในการคาดการว่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนก.พ.55 จะอยู่ในระดับ 100.0 อย่างไรก็ตาม ยังมีบางอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง หรือมีเครื่องจักรที่เสียหายและรอการนำเข้าจากต่างประเทศบางส่วน ที่ยังคงไม่สามารถกลับมาดำเนินการผลิตได้เต็มที่ ประกอบกับความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น
 Indicators                          Forecast           Previous
Feb: Real VAT(%YoY)                    7.0                6.0
  • ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการผลิตอุตสาหกรรมที่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้าท่วมในช่วงปลายปี 54 ส่งผลให้ประชาชนมีความมั่นใจในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และมีการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นซึ่งสอดคล้องกับดัชนีความมั่นผู้บริโภคในเดือนก.พ. 55 ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว
Economic Indicators: This Week
  • ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ก.พ.55 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -7.1 หรือขยายตัวร้อยละ 21.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่า ยอดขายรถจักรยานยนต์ในส่วนของภูมิภาค (สัดส่วนร้อยละ 80.0 ของยอดขายรถจักรยานยนต์รวม) ขยายตัวร้อยละ 4.0 จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -9.1 ในขณะที่ยอดขายรถจักรยานยนต์ใน กทม. (สัดส่วนร้อยละ 20.0 ของยอดขายรถจักรยานยนต์รวม) ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 16.1 จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 1.4 ตามสถานการณ์น้าท่วมคลี่คลายลงและกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ก.พ. 55 อยู่ที่ระดับ 65.5 จากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 64.0 ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยเป็นผลมาจากการที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นชอบ พ.ร.ก. การเงิน 2 ฉบับ ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ทาให้เสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาลดีขึ้น สามารถดาเนินมาตรการป้องกันน้าท่วม และฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังน้าท่วมตามที่วางแผน และช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้ขยายตัวตามที่มีการประเมินไว้ได้
Economic Indicators: Next Week
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.พ. 55 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 100.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 99.6 โดยมีปัจจัยบวกจากการดาเนินการสร้างเขื่อนป้องกันน้าท่วมบริเวณโดยรอบนิคมฯ ที่มีความคืบหน้าและเป็นรูปธรรมมากขึ้น ประกอบกับผู้ประกอบการส่วนใหญ่กลับมาทาการผลิตได้ในระดับที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกในการคาดการว่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนก.พ.55 จะอยู่ในระดับ 100.0 อย่างไรก็ตาม ยังมีบางอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง หรือมีเครื่องจักรที่เสียหายและรอการนาเข้าจากต่างประเทศบางส่วน ที่ยังคงไม่สามารถกลับมาดาเนินการผลิตได้เต็มที่ ประกอบกับความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน ก.พ. คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 6.0 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการผลิตอุตสาหกรรมที่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้าท่วมในช่วงปลายปี 54 ส่งผลให้ประชาชนมีความมั่นใจในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และมีการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีความมั่นผู้บริโภคในเดือนก.พ. 55 ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว

Global Economic Indicators: This Week

USA: improving economic trend
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ เดือน ก.พ. 55 อยู่ที่ระดับ 57.3 จุด สูงขึ้นจากระดับ 56.8 จุดในเดือนม.ค. 55 และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 12 เดือน บ่งชี้ถึงการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของภาคบริการสหรัฐฯ ยาวนานกว่า 26 เดือน
China: mixed signal
  • ทางการจีนปรับลดเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากร้อยละ 8.0 มาเป็นร้อยละ 7.5 ในปี 55 เพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจโดยลดการพึ่งพาภาคการส่งออกและทดแทนด้วยอุปสงค์ภายในประเทศเพื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.พ. 55 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่าที่สุดในรอบ 20 เดือน จากราคาอาหารที่ลดลงจากเทศกาลตรุษจีนในเดือนก่อน
Japan: worsening economic trend
  • GDP ไตรมาส 4 ปี 54 (ตัวเลขปรับปรุง) หดตัวลงร้อยละ -0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการส่งออกของญี่ปุ่นที่หดตัวลงจากปัญหาห่วงโซ่อุปทานผลจากอุทกภัยในไทยเมื่อปลายปีที่ผ่านมาก
Euro Zone: worsening economic trend
  • GDP ไตรมาส 4 ปี 54 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัวร้อยละ -0.3 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) จากการหดตัวของการบริโภคภาคเอกชนเป็นสาคัญ ยอดค้าปลีก เดือน ม.ค. 55 ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) สะท้อนอุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโดยรวมยังคงส่งสัญญาณชะลอลงต่อเนื่อง ทาให้คาดว่าเศรษฐกิจยูโรโซนมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยในระยะต่อไป
Australia: mixed signal
  • GDP ไตรมาส 4 ปี 54 ขยายตัวร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือเร่งขึ้นร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) จากการขยายตัวต่อเนื่องของการบริโภคในประเทศและการลงทุนภาครัฐ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชน และการส่งออกสุทธิหดตัว ตามการชะลอลงของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ทั้งปี 54 เศรษฐกิจออสเตรเลียขยายตัวร้อยละ 2.2 มูลค่าการส่งออก เดือน ม.ค. 55 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 6.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการชะลอลงของการส่งออกไปจีน ขณะที่มูลค่าการนาเข้า เดือน ม.ค. 55 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 19.0 ในขณะที่ธนาคารกลางออสเตรเลียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 4.25 เมื่อวันที่ 6 มี.ค. 55 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามราคาน้ามันที่คาดว่าจะสูงขึ้น จากปัญหาความไม่สงบทางการเมืองในอิหร่าน
Malaysia: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออกและนาเข้า เดือน ม.ค. 55 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 0.4 และ 3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หดตัวร้อยละ 5.5 และส่งออกไปยังจีนหดตัวร้อยละ -12.12 ขณะที่ดุลการค้าเกินดุล 8.75 ล้านล้านริงกิต
Philippines: improving economic trend
  • อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 55 ปรับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่าที่สุดในรอบ 2.5 ปี จากราคาอาหาร-เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ราคาสาธารณูปโภค และค่าขนส่งที่ชะลอตัวลงเป็นสาคัญ
Hong Kong: mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 55 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 11 เดือน ที่ระดับ 52.8 จากคาสั่งซื้อสินค้าส่งออกจากจีนที่เพิ่มขึ้น หลังจากที่หดตัวติดต่อกัน 3 เดือน สะท้อนอุปสงค์จากจีนที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น ท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะจากปัญหาหนี้สาธารณะในยูโรโซน
South Korea: mixed signal
  • วันที่ 8 ก.พ. 55 ธนาคารกลางเกาหลีประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.25 เพื่อรอดูสถานการณ์จากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอลง ขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ตามราคาน้ามันที่คาดว่าจะสูงขึ้น จากความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองในอิหร่าน
Taiwan: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 55 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 10.3 จากช่วง เดียวกันปีก่อน หลังจากที่หดตัวในเดือนก่อนหน้า จากวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลตรุษจีนเดือน ก.พ. 54 ทาให้เกิดปัจจัยฐานต่า โดยการส่งออกไปยังจีนและยุโรปขยายตัวเร่งขึ้น ขณะที่การส่งออกไปยังสหรัฐฯ หดตัว มูลค่าการนาเข้า เดือน ก.พ. 55 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.3 จากการนาเข้าสินค้าประเภทเครื่องจักรที่ลดลง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 55 ลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 0.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากปัจจัยฐานสูงตามระดับราคาที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีนในปีก่อนหน้า
Singapore: improving economic trend
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ เดือน ก.พ. 55 อยู่ระดับ 50.4 ขยายตัวครั้งแรกในรอบ 7 เดือน จากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และคาสั่งซื้อสินค้าส่งออกที่ขยายตัวจากอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น
Indonesia: mixed signal
  • อัตราดอกเบี้ยนโยบาย เดือน มี.ค. 55 คงที่ร้อยละ 5.75 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อชะลอตัวลง
Weekly Financial Indicators
  • ดัชนี SET เคลื่อนไหวในระดับ 1,160 จุด แต่ยังคงมีความผันผวนสูง โดยดัชนีฯ เคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ หลังจากปรับตัวสูงขึ้นมากในสัปดาห์ก่อน โดยได้ปัจจัยสนับสนุนจากผลการ swap พันธบัตรกรีซที่คืบหน้าไปด้วยดี อีกทั้งตัวเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าที่คาด อย่างไรก็ตาม นักลงทุนบางส่วนทยอยขายหลักทรัพย์เพื่อทากาไร เนื่องจากดัชนีฯ ปรับตัวสูงขึ้นมากแล้ว ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 5 - 8 มี.ค.55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 752 ล้านบาท ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรของไทยค่อนข้างคงที่ เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยใหม่ๆมากระทบตลาด อีกทั้งนักลงทุนรอดูทิศทางการปรับอัตราดอกเบี้ยของ กนง.ในอีกสองสัปดาห์ข้างหน้า ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 5 - 8 มี.ค.55 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 2,192 ล้านบาท
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อนหน้า โดยปิดที่ระดับ 30.55 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 8 มี.ค.55 อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนหน้าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐร้อยละ -0.16 จากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย โดยเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินเยน ยูโร และค่าเงินสกุลอื่นๆในภูมิภาค ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงในอัตราที่น้อยกว่าค่าเงินของคู่ค้าอื่นๆ ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นกว่าสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.20
  • ราคาทองคาค่อนข้างคงที่ โดยราคาทองคา ณ วันที่ 8 มี.ค.55 ปิดที่ 1,700 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ลดลงเล็กน้อยจากต้นสัปดาห์ที่ปิดที่ 1,706 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ